อัพเดท"พายุเข้าไทย" ล่าสุดวันที่ 30 ก.ย. 65 เวลา 10.30 น. ปภ.รายงานผลกระทบพายุโนรูทำให้เกิดสถานการณ์ในพื้นที่ 11 จังหวัด รวม 35 อำเภอ 72 ตำบล 166 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,121 ครัวเรือน
ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วม และน้ำล้นตลิ่งยังคงมีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 8 จังหวัด รวม17 อำเภอ 132 ตำบล 685 หมู่บ้าน ประสานพื้นที่เร่งสำรวจความเสียหายและให้ช่วยเหลือประชาชน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานผลกระทบพายุโซนร้อนกำลังแรง “โนรู (NORU)” เคลื่อนเข้าประเทศไทยบริเวณ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ในวันที่ 28 กันยายน 2565 เวลา 18.00 น. ส่งผลทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรงบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง
สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ระหว่างวันที่ 28-30 กันยายน 2565 มีสถานการณ์อุทกภัย และวาตภัยในพื้นที่ 11 จังหวัด เพชรบูรณ์ อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ มุกดาหาร สระบุรี ชัยนาท และสระแก้ว รวม 35 อำเภอ 72 ตำบล 166 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,121 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 1 รายผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย เนื่องจากสาเหตุลมพัดต้นไม้ลมทับรถยนต์ ดังนี้
1. เพชรบูรณ์ เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวิเชียรบุรี และอำเภอศรีเทพ รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
2. อำนาจเจริญ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ และอำเภอลืออำนาจ รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
3. ศรีสะเกษ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอห้วยทับทัน อำเภอยางชุมน้อย อำเภอวังหิน อำเภอภูสิงห์ อำเภอน้ำเกลี้ยง และอำเภออุทุมพรพิสัย รวม 16 ตำบล 46 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,301 ครัวเรือน มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย และเสียชีวิต 1 ราย ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
4. ยโสธร เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเมืองยโสธร และอำเภอคำเขื่อนแก้ว รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง
5. อุบลราชธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ อำเภอสว่างวีระวงศ์ และอำเภอพิบูลย์มังสาหาร รวม 12 ตำบล 44 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,026 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
6. มุกดาหาร เกิดวาตภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอคำชะอี และอำเภอ
ดอนตาล รวม 8 ตำบล 8 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1 ครัวเรือน อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย
7. ขอนแก่น เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเมืองขอนแก่น รวม 5 ตำบล 5 หมูบ้าน ระดับน้ำลดลง
8. ชัยภูมิ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอเนินสง่า อำเภอจัตุรัส อำเภอเกษตรสมบูรณ์ และอำเภอบ้านเขว้า รวม 9 ตำบล 20 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 10 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
9. สระบุรี เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแก่งคอย และอำเภอวังม่วง รวม 2 ตำบล 5 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 21 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
10. ชัยนาท เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองชัยนาท อำเภอวัดสิงห์ อำเภอมโนรมย์ อำเภอหันคา และอำเภอสรรพยา รวม 9 ตำบล 25 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 750 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
11. สระแก้ว เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคลองหาด และอำเภอวังน้ำเย็น รวม 5 ตำบล 7 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
สำหรับสถานการณ์ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ยังคงทำให้มีสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และปราจีนบุรี รวม 5 อำเภอ 18 ตำบล 67 หมู่บ้าน ภาพรวมระดับน้ำลดลง และสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง ยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ ตาก พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ปทุมธานี และสิงห์บุรี รวม 17 อำเภอ 132 ตำบล 685 หมู่บ้าน ภาพรวมสถานการณ์ระดับน้ำทรงตัว