ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ความเชื่อมั่นต่อองค์กรตำรวจในสายตาของประชาชน” ทำการสำรวจระหว่าง วันที่ 2-6 มกราคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง
พบว่า คำตอบสูงสุดอันดับ 1 เกี่ยวกับความเชื่อมั่นต่อองค์กรตำรวจในสายตาของประชาชน ในหัวข้อต่างๆ มีดังนี้
สำหรับคำตอบสูงสุดเป็นอันดับที่ 2 และ 3 ในคำถามเดียวกันมีดังนี้
ความรู้สึกหวาดกลัวต่อภัยอาชญากรรม ร้อยละ 33.05 ระบุว่า หวาดกลัวมาก และร้อยละ 20.92 ระบุว่า ไม่ค่อยหวาดกลัว
ประเภทคดีอาชญากรรมที่ประชาชนรู้สึกหวาดกลัวในสถานการณ์ปัจจุบัน ร้อยละ 25.73 ระบุว่า คดียาเสพติด เช่น ซื้อ ขาย หรือเสพยาเสพติด หลอนจากการเสพยา และร้อยละ 15.35 ระบุว่า คดีฆาตกรรมหรือทำร้ายร่างกาย
ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการนำเสนอข่าวหรือการแถลงข่าวเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ร้อยละ 34.81 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น และร้อยละ 18.40 ระบุว่า เชื่อมั่นน้อย
สายงานของตำรวจที่ประชาชนชื่นชอบ ร้อยละ 27.48 ระบุว่า ด้านการป้องกันและปราบปราม เช่น สายตรวจ ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ฝากบ้านไว้กับตำรวจ และร้อยละ 21.53 ระบุว่า ด้านการจัดการจราจร
การใช้บริการบนสถานีตำรวจของประชาชนในรอบ 1 ปี ร้อยละ 17.94 ระบุว่า เคยใช้บริการ ซึ่งตัวอย่างที่ระบุว่า เคยใช้บริการ (จำนวน 235 หน่วยตัวอย่าง) ร้อยละ 42.13 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ รองลงมา ร้อยละ 21.70 ระบุว่า พอใจมาก ร้อยละ 20.00 ระบุว่า พอใจน้อย และร้อยละ 16.17 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ
ลักษณะตำรวจที่ดีในมุมมองของประชาชน ร้อยละ 25.27 ระบุว่า ทำงานรวดเร็ว เสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ และร้อยละ 18.09 ระบุว่า การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส ในการให้บริการประชาชน