วันที่ 24 กรกฎาคม 2567 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีส่งมอบบ้าน “โครงการซ่อมแซมบ้านให้ผู้ยากไร้ตามผังภูมิสังคม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567” จำนวน 86 หลัง พร้อมกันทั่วประเทศ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานส่งมอบ
นายอนุทิน กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้มอบนโยบายให้ทุกส่วนราชการในสังกัด จัดโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 เพื่อดำเนินตามรอยพระยุคลบาท ในการยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ขับเคลื่อนโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้แก่
โดยในส่วนของโครงการซ่อมแซมบ้านให้ผู้ยากไร้ตามผังภูมิสังคมฯ นั้น นับเป็นโครงการสำคัญ เพื่อช่วยยกระดับด้านที่อยู่อาศัยให้ผู้ด้อยโอกาส พัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความเป็นอยู่ที่ดีมีความปลอดภัย เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศล และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
ด้านนายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า โครงการซ่อมแซมบ้านให้ผู้ยากไร้ตามผังภูมิสังคมฯ นั้น กรมฯ ได้น้อมนำหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในด้าน “จิตอาสา” มาบูรณาการความร่วมมือของภาคีเครือข่าย และจิตอาสาในพื้นที่ โดยไม่ใช้งบประมาณจากภาครัฐ แต่ใช้งบประมาณที่ได้จากการบริจาคของภาคีเครือข่าย และจิตอาสาในพื้นที่ร่วมมือร่วมแรงปรับปรุงซ่อมแซมบ้านให้ผู้ยากไร้ให้มีความมั่นคง แข็งแรง ปลอดภัย ซึ่งมีเป้าหมายจำนวน 86 หลังคาเรือน จากข้อมูลของผู้ยากไร้ในระบบ Thai QM ตามผังภูมิสังคม คลอบคลุม 76 จังหวัดทั่วประเทศ
โดยเป็นการซ่อมแซมบ้านให้ผู้ยากไร้ตามผังภูมิสังคม 1 จังหวัด 1 หลังคาเรือน และบ้านผู้ยากไร้ที่ต้องซ่อมแซมเร่งด่วน จำนวน 10 จังหวัด 10 หลังคาเรือน ได้แก่ จังหวัดลำพูน เชียงราย สุราษฎร์ธานี ตรัง นนทบุรี นครนายก นครราชสีมา สุรินทร์ สระแก้ว และประจวบคีรีขันธ์
ทั้งนี้ กรมฯ ได้ดำเนินการ KICK OFF เพื่อขับเคลื่อนโครงการแล้ว เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 ปัจจุบันดำเนินการ แล้วเสร็จ 86 หลังคาเรือน และส่งมอบพร้อมกันทั่วประเทศ ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2567
ส่วนโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อื่น ๆ มีความก้าวหน้าการดำเนินโครงการดังนี้
โดยกรมฯ ได้น้อมนำศาสตร์พระราชา มาเป็นกรอบแนวคิดในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และใช้ข้อมูลสภาพความเป็นจริงทางภูมิประเทศ มาจัดทำข้อมูลในรูปแบบ “ผังภูมิสังคม”
โดยดำเนินโครงการ/กิจกรรมพัฒนาตามผังภูมิสังคมฯ อย่างน้อย 7,300 โครงการ ครอบคลุมพื้นที่ 76 จังหวัด 878 อำเภอ 7,255 ตำบล ปัจจุบันดำเนินการพัฒนาแล้ว 9,028 โครงการ สามารถกักเก็บน้ำได้เพิ่มขึ้น 25,349,097 ลบ.ม. พื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้น 13,980 ไร่ พื้นที่น้ำท่วมลดลง 260,866 ไร่ พื้นที่เกษตรได้รับประโยชน์ 312,801 ไร่ และประชาชนได้รับประโยชน์ 1,555,982 ครัวเรือน
โดยกรมฯ ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีประยุกต์ใหม่ และอารยเกษตร ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการนำที่ดินสาธารณประโยชน์หรือที่ดินของหน่วยงานภาครัฐ มาดำเนินการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีพื้นที่นำร่อง 6 พื้นที่ (1 พื้นที่เป้าหมาย ต่อ 1 ภาค) และจะขยายผลให้ครบทุกจังหวัด
โดยกรมฯ ได้ดำเนินการจัดทำผังแม่บทแนวคิดเพื่อการพัฒนาพื้นที่เกาะสีชัง โดยในระยะเร่งด่วน กรมฯ ได้พัฒนาสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ พัฒนาระบบน้ำประปา เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำให้กับประชาชนบนเกาะ รวมทั้งการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบริเวณอ่าวจ๊อกค่อก เพื่อให้เกาะสีชังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่ยั่งยืน
ปัจจุบันการปรับปรุงระบบจ่ายน้ำประปาได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ และให้เทศบาล ตำบลเกาะสีชัง ติดตั้งมิเตอร์ประปาให้กับทุกครัวเรือน คาดว่า จะแล้วเสร็จ พร้อมปล่อยน้ำประปาให้บริการประชาชนได้ทั่วพื้นที่เกาะสีชัง ภายในเดือน ตุลาคม 2567 ทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์ 2,261 ครัวเรือน
โดยออกแบบซุ้มเฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อเป็นต้นแบบให้ทุกจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำไปก่อสร้างอย่างถูกต้องตามแบบแผน สวยงามสมพระเกียรติ โดยการออกแบบซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติฯ มีองค์ประกอบสำคัญ 3 อย่าง ประกอบด้วย
โดยกรมฯ ได้น้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ในด้านการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะพระราชดำริการบริหารจัดการน้ำในระบบลุ่มน้ำ “จากนภา ผ่านภูผา สุ่มหานที" และพระราชดำรัส “อารยเกษตร” ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มาพัฒนาแม่น้ำ คู คลอง และแหล่งน้ำทั่วประเทศ
โดยนำร่องพื้นที่ กรุงเทพมหานคร และ 9 จังหวัด ได้แก่
นอกจากนี้ยังเตรียมขยายผลไปยังจังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศต่อไป