นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้ กรมศิลปากร ได้ประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมเข้าชม "อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท" จังหวัดอุดรธานี ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม – 12 สิงหาคม 2567 เพื่อให้ประชาชนคนไทยทุกคน และนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ร่วมเฉลิมฉลองการประกาศขึ้นทะเบียนภูพระบาทเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม จากองค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก
สำหรับการประกาศขึ้นทะเบียน อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นมรดกโลก ของยูเนสโกครั้งนี้ เป็นผลมาจากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 21- 31 กรกฎาคม 2567 ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย
ทั้งนี้ที่ประชุมมีการพิจารณาการนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของไทย 2 วาระ ได้แก่
โดยมติของคณะกรรมการมรดกโลกเห็นชอบให้ขึ้นทะเบียนภูพระบาทฯ เป็นมรดกโลกด้วยเกณฑ์คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล (Outstanding Universal Value) ในกลุ่มของภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural Landscape) ในชื่อ “ภูพระบาท ประจักษ์พยานแห่งวัฒนธรรมสีมา สมัยทวารวดี” (Phu Phrabat, a testimony to the Sīma stone tradition of the Dvaravati period)
ทั้งนี้ถือเป็นแหล่งมรดกโลกลำดับที่ 8 และแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 5 ของประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งที่ 2 ของจังหวัดอุดรธานี ต่อจากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก เมื่อปี 2535
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมแบบต่อเนื่องจำนวนสองแหล่ง ประกอบด้วย อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทและแหล่งวัฒนธรรมสีมา วัดพระพุทธบาทบัวบาน รวมพื้นที่นำเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลก 3,622 ไร่ 89 ตารางวา
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกห่างจากอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี 12 กิโลเมตร ส่วนแหล่งวัฒนธรรมสีมา วัดพระพุทธบาทบัวบาน ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท 8 กิโลเมตร
ขอบเขตของแหล่งวัฒนธรรมทั้งสองแหล่งอยู่ภายใต้เกณฑ์คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานตาม พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2535
ทั้งนี้อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท มีแหล่งโบราณสถานสำคัญกระจายทั่วพื้นที่ อาทิ หอนางอุสา เป็นเสาเฉลียงรูปเห็ด ประกอบด้วย แกนหินขนาดใหญ่ลักษณะคล้ายเสาหินและมีก้อนหินเป็นแผ่นหนาขนาดใหญ่ทับอยู่ด้านบน แกนหินสูง 10 เมตร ก้อนหินด้านบนกว้าง 5 เมตร ยาว 7 เมตร แกนของเสาหินมีการก่อหินกั้นเป็นห้องไว้
ส่วนบนของเสาที่อยู่ใต้แผ่นหิน มีการเจาะเป็นช่อง ๆ เป็นประตูและหน้าต่างคล้ายช่องสังเกตการณ์ของหอคอย ที่เพิงหินโบราณแห่งนี้ได้พบหลักฐานภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่บริเวณผนังด้านทิศเหนือของหินก้อน
การที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี ได้รับการประกาศจากองค์การยูเนสโก ให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ ถือเป็นมรดกโลกนับเป็นมรดกโลกแห่งที่ 8 ของประเทศไทย และส่งผลให้จังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดแรกของประเทศไทยที่มีมรดกโลก 2 แห่งต่อเนื่องจากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
ปัจจุบันประเทศไทยได้รับการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกแล้ว จำนวน 8 แหล่ง แบ่งเป็น
มรดกโลกทางวัฒนธรรม จำนวน 5 แหล่ง ได้แก่
แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่