ประกาศศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันตกฉบับที่ 1 (52/2565)เรื่อง คลื่นลมแรงและฝนตกหนักในช่วงวันที่ 17 - 21 ตุลาคม 2565 ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีกำลังแรงขึ้น
ประกอบกับมีพายุโซนร้อนกำลังแรง "เนสาท" บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีฝนตกเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
ขอให้ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากสภาวะฝนที่ตกเพิ่มขึ้นและฝนตกหนักถึงหนักมากซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่ไหลหลากได้ในช่วงเวลาดังกล่าว
สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตรและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมภูเก็ตในวันนี้ ณ เวลา 17.32 น. ถนนดีบุกตัดถนนเยาวราช ย่านเมืองเก่าภูเก็ตน้ำเริ่มลดลงใกล้เคียงปกติแล้ว
ขณะที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ออกประกาศ ฉบับที่ 51/2565เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ภาคใต้
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา ในวันที่ 17-18 ตุลาคม 2565 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีลมแรงและมีฝนบางแห่ง
ในขณะที่ร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ต้องเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากบริเวณภาคใต้ ในช่วงวันที่ 18-22 ตุลาคม 2565 ได้แก่
ในการนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้
1. ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ
2.ติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำ และเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม โดยปรับแผนระบายน้ำจากเขื่อนและประตูระบายน้ำ เพื่อพร่องน้ำ และบริหารพื้นที่ลุ่มต่ำให้เป็นแก้มลิงหน่วงน้ำ เพื่อลดผลกระทบจากมวลน้ำที่จะไหลหลากมายังบริเวณพื้นที่เสี่ยง
3. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที
4. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์