- ทางหลวงหมายเลข 2183 ตอน น้ำพอง – โคกท่า ในพื้นที่ อ.น้ำพอง ช่วง กม.ที่ 14+200 – 15+100 ระดับน้ำ 35 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงแยกโคกท่า กม.25+600 คาดว่าการจราจรผ่านได้ 26 ตุลาคม 2565
2. จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 8 แห่ง ได้แก่
- ทางหลวงหมายเลข 226 ตอน ศรีสะเกษ – ห้วยขะยุง ในพื้นที่ อ.กันทรารมย์ ช่วง กม.ที่ 311+000 – 313+384 ระดับน้ำ 35 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยง ทล.2178
- ทางหลวงหมายเลข 2083 ตอน หัวช้าง – สะเดา ในพื้นที่ อ.ราษีไศล ช่วงกม.ที่ 16+000 – 19+500 ระดับน้ำ 35 – 45 ซม. การจราจรไม่สามารถผ่านได้ ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
- ทางหลวงหมายเลข 2086 ตอน บ้านด่าน – เมืองน้อย ในพื้นที่ อ.ราษีไศล ช่วงกม.ที่ 27+500 – 29+000 ระดับน้ำ 45 - 50 ซม. การจราจรไม่สามารถผ่านได้ ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
- ทางหลวงหมายเลข 2086 ตอน บ้านด่าน - เมืองน้อย ในพื้นที่ อ.ราษีไศล ช่วง กม.ที่ 30+000 – 31+500 ระดับน้ำ 35 ซม. การจราจรไม่สามารถผ่านได้ ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
- ทางหลวงหมายเลข 2086 ตอน บ้านด่าน - เมืองน้อย ในพื้นที่ อ.ราษีไศล ช่วง กม.ที่ 37+000 - 39+500 ระดับน้ำ 40 - 50 ซม. การจราจรไม่สามารถผ่านได้
- ทางหลวงหมายเลข 2086 ตอน เมืองน้อย – กันทรารมย์ ในพื้นที่ อ.กันทรารมย์ ช่วง กม.ที่103+500 – 107+125 ระดับน้ำ 40 - 75 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
- ทางหลวงหมายเลข 2373 ตอน โนนสำนัก – ดอนไม้งาม ในพื้นที่ อ.เมือง ช่วง กม.ที่ 12+000 – 16+050 ระดับน้ำ 40 ซม. การจราจรไม่สามารถผ่านได้ ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
- ทางหลวงหมายเลข 2412 ตอน ท่าศาลา – ละทาย ในพื้นที่ อ.กันทรารมย์ ช่วง กม.ที่ 12+000 – 16+500 เป็นช่วงๆ ระดับน้ำ 60 - 70 ซม. การจราจรไม่สามารถผ่านได้ ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
3. จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 1 แห่ง
- ทางหลวงหมายเลข 2146 ตอน หนองบัวลำภู - เขื่อนอุบลรัตน์ ในพื้นที่ อ.เมือง ช่วง กม.ที่ 39+500 – 42+000 ระดับน้ำ 40 ซม. การจราจรไม่สามารถผ่านได้ ให้ใช้ทางเลี่ยง ทช.4013 คาดว่าการจราจรผ่านได้ 14 พฤศจิกายน 2565
4. จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 5 แห่ง
- ทางหลวงหมายเลข 23 ตอน เขื่องใน - อุบลราชธานี ในพื้นที่ อ.เมืองอุบลราชธานี ช่วง กม.ที่ 260+700 – 261+800 ระดับน้ำ 35 ซม. ใช้ทางเลี่ยง ทล.2383 คาดว่าการจราจรจะผ่านได้ 22 ตุลาคม 2565
- ทางหลวงหมายเลข 24 ตอน วารินชำราบ - อุบลราชธานี ในพื้นที่ อ.วารินชำราบ ช่วง กม.ที่ 418+400 – 419+600 ระดับน้ำ 80 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยง ทล.217 ทางแยกต่างระดับบัวเทิง เลี้ยวซ้ายไปสะพานข้ามแม่น้ำมูล เข้าสู่ตัวเมืองอุบลราชธานี
- ทางหลวงหมายเลข 226 ตอน ห้วยขะยุง – วารินชำราบ ในพื้นที่ อ.วารินชำราบ ช่วง กม.ที่ 319+600 – 319+800 ระดับน้ำ 55 ซม. ใช้ทางเลี่ยง ทล.2178 คาดว่าการจราจรจะผ่านได้ 5 พฤศจิกายน 2565
- ทางหลวงหมายเลข 231 ถนนวงแหวนรอบเมืองอุบลราชธานี ในพื้นที่ อ.เมือง ช่วง กม.ที่ 3+600 – 8+200 ระดับน้ำ 45 - 105 ซม. ใช้ทางเลี่ยงถนนวงแหวนด้านทิศตะวันออก ทล.231 คาดว่าการจราจรจะผ่านได้ 5 พฤศจิกายน 2565
- ทางหลวงหมายเลข 2404 ตอน เขื่องใน – นาคำใหญ่ ในพื้นที่ อ.เขื่องใน ช่วง กม.ที่ 9+920 – 14+480 เป็นช่วงๆ ระดับน้ำ 50 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยง ทล.2382 คาดว่าการจราจรจะผ่านได้ 26 ตุลาคม 2565
5.จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 1 แห่ง
- ทางหลวงหมายเลข 2391 ตอน กู่ทอง – บ้านเขื่อน ช่วง กม.ที่ 23+900 – 24+900 ระดับน้ำ 50 ซม. ให้ใช้ทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
6. จังหวัดอ่างทอง จำนวน 1 แห่ง
- ทางหลวงหมายเลข 3501 ตอน อ่างทอง – บางหลวงโดด ในพื้นที่ อ.ป่าโมก ช่วง กม.ที่ 9+900 – 11+000 ระดับน้ำนอกคันกั้นดิน 80 ซม. น้ำท่วมผิวจราจร 10 ซม. คาดว่าการจราจรจะผ่านได้ 20 พฤศจิกายน 2565
7.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 1 แห่ง
- ทางหลวงหมายเลข 3412 ตอน อยุธยา - บางบาล ในพื้นที่ อ.บางบาล ช่วง กม.ที่ 13+500 – 15+950 ระดับน้ำ 50 ซม. ให้ใช้ทางเลี่ยง เลี้ยวซ้ายเข้าวัดบ้านขวางออกทางหลวงชนบท 4038 คาดว่าการจราจรจะผ่านได้ 1 พฤศจิกายน 2565
8. จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 1 แห่ง
- ทางหลวงหมายเลข 311 ตอน แยกวัดสนามไชย - วัดกระดังงา ในพื้นที่ อ.เมือง ช่วง กม.ที่ 33+022 – 35+100 ระดับน้ำ 100 ซม. (ทางโค้งด้านใน) การจราจรไม่สามารถผ่านได้ ให้ใช้ทางเลี่ยงทางหลวงชนบท สห.3030 คาดว่าการจราจรผ่านได้ 30 ตุลาคม 2565
9.จังหวัดภูเก็ต จำนวน 1 แห่ง
- ทางหลวงหมายเลข 4029 ตอน กะทู้ – ป่าตอง ในพื้นที่ อ.กะทู้ ช่วง กม.ที่ 0+000 – 0+005 ถนนเกิดการสไลด์ ให้ใช้ทางเลี่ยง ทล.4025, 4028 และ 4030 การจราจรคาดว่าสัญจรผ่านได้ภายใน 7 วัน
10.จังหวัดสตูล จำนวน 1 แห่ง
- ทางหลวงหมายเลข 4020 ตอน ช่องพลี – หาดนพรัตน์ ในพื้นที่ อ.เมือง ช่วง กม.ที่ 1+159 – 2+918 ดินสไลด์ปิดทับผิวทาง ให้ใช้ทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยความคืบหน้าการเข้าให้ความช่วยเหลือจากสถานการณ์พนังกั้นลำน้ำชีขาด ยาวประมาณ 50 เมตร บริเวณ กม.ที่ 6+400 เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 65 เวลาประมาณ 20.00 น. บริเวณบ้านสะดำสี ตำบลลำชี อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ จากอิทธิพลพายุใต้ฝุ่น “โนรู” ทำให้มวลน้ำจากพนังกั้นน้ำขาดได้ไหลเอ่อท่วม ทางหลวงหมายเลข 214 สาย กาฬสินธุ์ - ร้อยเอ็ด ประมาณ กม.23 - กม.28 ความสูงประมาณ 10 - 15 ซม. โดยพนังกั้นน้ำฯ อยู่ในความรับผิดชอบของโครงการชลประทานเขื่อนลำปาว ส่วนผิวจราจรอยู่ในความรับผิดชอบของแขวงทางหลวงชนบทจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมทางหลวงได้ร่วมบูรณาการกับกรมทางหลวงชนบท เข้าให้ความช่วยเหลือในด้านของรถบรรทุกขนวัสดุหินใหญ่ ถมพนังกั้นน้ำโดยใช้กล่อง Gabion บรรจุหินใหญ่และเสาไฟฟ้าแรงสูงเก่า ทำการวางและถมไปเรื่อยๆ ได้ความยาวสะสมรวม 15 เมตร (รวมทั้ง 2 ฝั่ง) เนื่องจากกระแสน้ำที่เชี่ยวแรงและมีพื้นที่จำกัดในการทำงาน จึงทำให้การทำงานล่าช้า คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จอีก 5 วัน และ ได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ กั้นน้ำโดยการวางกระสอบทราย พร้อมทำการติดตั้งป้ายเตือนแนวทาง เพื่ออำนวยความสะดวกและปลอดภัยแก่ผู้ใช้เส้นทาง พร้อมสนับสนุนรถบริการเครื่องอุปโภค บริโภค เพื่อช่วยประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วม และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน หากพื้นที่ใดประสบปัญหาก็จะระดมบุคลากร นำเครื่องจักรและวัสดุอุปกรณ์เข้าให้การช่วยเหลือเพื่อเร่งระบายน้ำ ป้องกันเส้นทางไม่ให้เกิดทางขาดอย่างเต็มที่
สำหรับเส้นทางที่น้ำลดแล้วได้มีการสำรวจความเสียหายของ ถนน สะพาน และระบบระบายน้ำ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้รับความสะดวกปลอดภัยในการสัญจรโดยเร็วที่สุดอย่างต่อเนื่อง