CPF-ศูนย์ FLEC พัฒนาทักษะชีวิตลูกหลานแรงงานประมงข้ามชาติ

31 ต.ค. 2565 | 11:11 น.
อัปเดตล่าสุด :31 ต.ค. 2565 | 18:30 น.

CPF - ศูนย์ FLEC พัฒนาทักษะชีวิตลูกหลานแรงงานประมงข้ามชาติ สู่ความมั่นคงด้านอาหารและการพึ่งพาตนเอง ยกระดับความเป็นอยู่ เสริมสร้างความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ร่วมป้องกันการค้ามนุษย์

ศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา (Fishermen’s Life Enhancement Center หรือ ศูนย์ FLEC) มุ่งมั่นเดินหน้าขับเคลื่อนกิจกรรมเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ของแรงงานประมงข้ามชาติ รวมถึงครอบครัว ในจังหวัดสงขลา เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ เสริมสร้างความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ร่วมป้องกันการค้ามนุษย์ โดยล่าสุด ศูนย์ฯ จัดกิจกรรมทัศนศึกษา เปิดโอกาสให้บุตรหลานแรงงานประมงข้ามชาติ ได้เรียนรู้นอกห้องเรียนต่อเนื่องเป็นปีที่ 4  

                      CPF-ศูนย์ FLEC พัฒนาทักษะชีวิตลูกหลานแรงงานประมงข้ามชาติ
นางสาวนาตยา เพชรรัตน์ ผู้จัดการศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา ในฐานะกรรมการศูนย์ FLEC กล่าวว่า เร็วๆ นี้ ศูนย์ FLEC พาลูกหลานของแรงงานประมงข้ามชาติ จำนวน 16 คน ซึ่งเป็นนักเรียนของ “ห้องเรียนรู้เพื่อเด็กและครอบครัวแรงงานเพื่อนบ้าน” ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์ FLEC  เปิดประสบการณ์เรียนรู้นอกห้องเรียน อบรมวิชาชีพการประกอบอาหารและขนมไทย ที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 12 จังหวัดสงขลา สนับสนุนให้เด็กๆ ได้เรียนรู้การเตรียมและปรุงอาหารอย่างปลอดภัย ต่อยอดโครงการปลูกผักสวนครัวของห้องเรียนรู้ฯ ที่เด็ก ๆ ดูแลและเก็บไปทานกับครอบครัว ซึ่งเป็นโครงการที่ริเริ่มตั้งแต่ปี 2560   

ลูกหลานของแรงงานประมงข้ามชาติได้เรียนรู้การทำห่อหมกทะเล ขนมกะหรี่ปั๊บ ขนมเค้กไข่นึ่ง และขนมปุยฝ้าย กับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำแนะนำทุกขั้นตอนอย่างใกล้ชิด และเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือฝึกทำอาหารตั้งแต่ต้นจนจบ เช่น ชั่ง ตวงวัตถุดิบ หั่นเนื้อ ล้าง นวดแป้ง ปั้นขนม ปรุง จนถึงล้างและจัดเก็บอุปกรณ์และภาชนะที่ใช้ในการปรุงอาหาร เด็กๆ ได้ชิมอาหารที่ตนเองและเพื่อนทำทั้งยังนำกลับไปแบ่งกับครอบครัวที่บ้านอีกด้วย 

                              CPF-ศูนย์ FLEC พัฒนาทักษะชีวิตลูกหลานแรงงานประมงข้ามชาติ
ด.ญ.รอเซีย วิน อายุ 13 ปี  กล่าวว่า ได้มาทัศนศึกษาเป็นครั้งแรก ชอบกิจกรรมเรียนทำอาหารครั้งนี้มาก ดีใจที่ได้มา สนุก ชอบช่วงที่นวดแป้งและทำกะหรี่ปั๊บมากที่สุด ตั้งใจว่า โตขึ้นจะเป็นแม่ครัว เรียนเป็นเชฟทำขนม  

 ด.ญ.คีวา นู อายุ 14 ปี กล่าวว่า สนุกมาก ปกติชอบทำอาหารอยู่แล้ว ดีใจที่ได้ร่วมกิจกรรม สนุกที่ได้ลองทำอะไรใหม่ๆ ชอบมากตอนทำขนมเค้กไข่นึ่ง และภูมิใจได้ชิมขนมฝีมือตัวเอง ตั้งใจนำกลับไปฝากที่บ้านด้วย และฝึกฝนต่อที่บ้าน ก่อนหน้านี้คุณครูพาไปเที่ยวสวนสัตว์  เมืองเก่าของจังหวัดสงขลา  


“การจัดทัศนศึกษาช่วยเปิดโลกทัศน์ให้เด็กและเยาวชน เปลี่ยนบรรยากาศการเรียนรู้ กระตุ้นให้เด็กตั้งใจพัฒนาตนเองมากขึ้น ปีนี้ ศูนย์ FLEC จัดกิจกรรมทัศนศึกษาให้กับเด็กแล้ว 4 ครั้ง เด็กชอบและสนุกกับกิจกรรม โดยเฉพาะ การเรียนการทำอาหารครั้งนี้สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก และช่วยให้เด็กตระหนักการปรุงอาหารที่สด สะอาด ปลอดภัย เป็นพื้นฐานช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้งสามารถพัฒนาเป็นทักษะอาชีพได้อีกด้วย” นางสาวนาตยา กล่าว 


สำหรับกิจกรรมเรียนการทำอาหาร เป็นกิจกรรมต่อยอดจากกิจกรรมส่งเสริมปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเอง เข้าถึงอาหารปลอดภัยที่ดีต่อสุขภาพ ลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพในการพึ่งพาตนเอง และร่วมสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับครอบครัวแรงงานประมงข้ามชาติ สอดคล้องกับเป้าหมายของศูนย์ FLEC ในการส่งเสริมทักษะจำเป็นเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน ให้แก่กลุ่มเปราะบาง 

 

ศูนย์ FLEC ได้ก่อตั้งและดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน เป็นการผนึกความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม 7 องค์กร ประกอบด้วย 1.องค์การสะพานปลา 2.กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 3.สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ 4.ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา (บ้านสุขสันต์) 


5. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ 6. บริษัท จีอีพีพี สะอาด จำกัด หรือ GEPP สตาร์ทอัพไทยที่มีความเชี่ยวชาญด้านข้อมูลการบริหารจัดการขยะ และ 7. บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) บูรณาการความเชี่ยวชาญมาช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานประมงข้ามชาติ และครอบครัว กว่า 200 ครัวเรือน บริเวณท่าเรือประมงสงขลาให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ในทุกมิติ ทั้งมิติสุขภาพ การศึกษา เศรษฐกิจ และสังคม 

CPF-ศูนย์ FLEC พัฒนาทักษะชีวิตลูกหลานแรงงานประมงข้ามชาติ

                         CPF-ศูนย์ FLEC พัฒนาทักษะชีวิตลูกหลานแรงงานประมงข้ามชาติ
โดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ และถ่ายทอดความรู้ และพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์และตรงกับความต้องการของครอบครัวแรงงานข้ามชาติ และต่อยอดสู่การส่งเสริมแรงงานประมงข้ามชาติเป็นอีกพลังร่วมในการจัดการปัญหาขยะในชุมชนและขยะในทะเลอย่างยั่งยืน ซึ่งจะกลายเป็นต้นแบบความร่วมมือในการยุติปัญหาการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็ก และแรงงานผิดกฎหมาย และดูแลสิ่งแวดล้อมทางทะเล