ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ได้อนุมัติวงเงินเยียวยาน้ำท่วม 7,000 ล้านบาท ตามมาตรการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม โดยใช้งบประมาณกลางฉุกเฉิน
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การเยียวยาน้ำท่วม นั้น กระทรวงมหาดไทยจะเป็นผู้ดูแล และทางกระทรวงการคลังจะเร่งรัดติดตามในด้านงบประมาณ เพื่อให้เม็ดเงินไปถึงประชาชนที่ได้รับผลกระทบรวดเร็วที่สุด
เยียวยาน้ำท่วม เงื่อนไข-วงเงิน
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยจะต้องรายงานมายังกระทรวงการคลังว่า มีจำนวนครัวเรือนที่ได้รับความเดือดร้อนเท่าใด ซึ่งคาดว่าจะได้รับข้อมูลในเร็วๆ นี้
สำหรับการจ่ายเงินเยียวยาในครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการเพิ่มกำลังใจให้กับประชาชนจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น ซึ่งการจ่ายเงินดูแลดังกล่าวเป็นคนละส่วนกันกับการดูแลค่าเสียหายของครัวเรือน
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการ เงินเยียวยาน้ำท่วม สูงสุดไร่ละ 11,780 บาท กรณีพื้นที่ทำการเพาะปลูก มีพืชตาย หรือเสียหายจนไม่สามารถฟื้นฟู หรือเยียวยาให้กลับสู่สภาพเดิมได้อีก ให้ช่วยเหลือตามจำนวนพื้นที่เพาะปลูกที่เสียหายจริง ไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่ ในอัตรา ดังนี้
การประมง ให้ดำเนินการช่วยเหลือผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ประสบภัยพิบัติที่สัตว์ตายหรือสูญหาย ให้ดำเนินการช่วยเหลือเป็นเงิน ดังนี้
หากคิดคำนวณพื้นที่เลี้ยงแล้ว ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ประสบภัยพิบัติรายใดจะได้รับการช่วยเหลือเป็นเงินไม่ต่ำกว่าตารางเมตรละ 368 บาท ให้ช่วยเหลือในอัตรารายละ 368 บาท
ด้านกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานว่ามีน้ำท่วมในพื้นที่รวม 12 จังหวัด ได้แก่ จ.มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ชัยนาท อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี สุพรรณบุรี นครปฐมและนครศรีธรรมราช รวม 44 อำเภอ 394 ตำบล 2,727 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 168,362 ครัวเรือน
ทั้งนี้ ปภ.ได้ประสานจังหวัดดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัยและเร่งระบายน้ำเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ภัย สำหรับพื้นที่ซึ่งสถานการณ์คลี่คลายแล้ว ได้เร่งฟื้นฟูพื้นที่เพื่อให้ประชาชนกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด