17 พฤศจิกายน 2565 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ. รายงานว่า ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 8 จังหวัด ประกอบด้วย สงขลา ปัตตานี มหาสารคาม อุบลราชธานี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี และนครปฐม รวม 23 อำเภอ 141 ตำบล 878 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 60,097 ครัวเรือน โดยทางปภ.ได้ประสานจังหวัดดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัยและเร่งระบายน้ำ เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ภัย สำหรับพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว ให้เร่งฟื้นฟูพื้นที่เพื่อให้ประชาชนกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติ
ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานร่องมรสุมพาดผ่านตอนล่างของภาคใต้เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมชายฝั่งประเทศมาเลเซีย
ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน รวมถึงลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
โดยช่วงวันที่ 11 - 17 พ.ย. 2565 เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 5 จังหวัด รวม 21 อำเภอ 94 ตำบล 333 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกะทบ 7,970 ครัวเรือน ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 2 จังหวัด รวม 4 อำเภอ 6 ตำบล 10 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 728 ครัวเรือน ดังนี้
1. สงขลา น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย รวม 3 ตำบล ประชาชนได้รับผลกระทบ 271 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
2. ปัตตานี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปัตตานี และอำเภอหนองจิก รวม 3 ตำบล 32 ประชาชนได้รับผลกระทบ 457 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
ขณะที่สถานการณ์ฝนตกหนักในช่วงที่ผ่านมาและการระบายน้ำจากเขื่อนลงแม่น้ำสายหลัก และลำน้ำสาขา ส่งผลให้ตั้งแต่วันที่ 28 ก.ย. - 17 พ.ย.65 เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขังในพื้นที่ 59 จังหวัด รวม 353 อำเภอ 1,879 ตำบล 11,770 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 528,063 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 12 ราย ปัจจุบัน (17 พ.ย.65 เวลา 06.00 น.) ยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 6 จังหวัด 19 อำเภอ 135 ตำบล 868 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 59,369 ครัวเรือน ภาพรวมระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่องทุกจังหวัด ดังนี้
1. มหาสารคาม น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอกันทรวิชัย และอำเภอโกสุมพิสัย รวม 12 ตำบล 59 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 648 ครัวเรือน
2. อุบลราชธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ และอำเภอสว่างวีระวงศ์ รวม 5 ตำบล 30 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,398 ครัวเรือน
3. อ่างทอง น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวิเศษชัยชาญ อำเภอป่าโมก อำเภอไชโย อำเภอเมืองอ่างทอง และอำเภอโพธิ์ทอง รวม 40 ตำบล 191 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,300 ครัวเรือน
4. พระนครศรีอยุธยา น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเสนา อำเภอผักไห่ อำเภอบางซ้าย และอำเภอลาดบัวหลวง รวม 16 ตำบล 125 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 15,661 ครัวเรือน
5. สุพรรณบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพี่น้อง รวม 25 ตำบล 185 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 23,811 ครัวเรือน
6. นครปฐม น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางเลน และอำเภอนครชัยศรี รวม 37 ตำบล 278 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 9,551 ครัวเรือน
สำหรับการให้ความช่วยเหลือกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งระบายน้ำท่วมและช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง สำหรับพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว โดยทำความสะอาดบ้านเรือนประชาชน สิ่งสาธารณประโยชน์ สถานที่ราชการ และซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภค รวมถึงเส้นทางคมนาคมให้ใช้งานได้ตามปกติ เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งได้จัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป
ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ "ปภ.รับ แจ้งเหตุ 1784" โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน "THAI DISASTER ALERT"