วันนี้สังคมยังต้องส่งกำลังใจให้ทีมค้นหาผู้สูญหายจากเหตุเรือหลวงสุโขทัย จมลงที่นอกชายฝั่งบางสะพาน ซึ่งยังคงมีผู้สูญหายอยู่อีกหลายสิบคน แต่ประเด็นที่ยังต้องหาคำตอบก็คืออะไรคือสาเหตุของเหตุการณ์ครั้งนี้
“จะต้องสอบสวนตั้งแต่ ผู้การเรือ กำลังพลทุกนาย ถึงเหตุการณ์เกิดขึ้น ขั้นตอนปฏิบัติ และข้อเท็จจริงที่เป็นสาเหตุของเรือจมที่มีการกล่าวว่าเสื้อชูชีพไม่พอกับกำลังพล ต้องถูกสอบสวนและรายงานข้อเท็จจริงทั้งหมดมาที่กองทัพเรือ ขอให้ประชาชนได้รับทราบว่าเรามีกฎหมายแนวทางปฏิบัติที่จะต้องสอบสวนข้อเท็จจริงในทุกเรื่อง”
คือคำยืนยันส่วนหนึ่งของพลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ในการแถลงข่าวความคืบหน้าเหตุการณ์เรือหลวงสุโขทัยอับปางเมื่อวาน (20 ธันวาคม 2565 )
“เรือหลวงสุโขทัย” อับปางในทะเลอ่าวไทย
เช้าวันนี้ (21 ธ.ค.65) กู้ภัยเตรียมรถและอุปกรณ์พร้อมช่วยเหลือและลำเลียงร่างผู้เสียชีวิต จากเหตุเรือหลวงสุโขทัยอับปาง
ยังไม่ทราบชะตากรรมอีกกว่า 23 นาย
เบื้องต้นมีการประเมินมูลค่าความเสียหายจากเหตุอับปางครั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท
ประวัติเรือหลวงสุโขทัย
สเปกเรือหลวงสุโขทัย
ภารกิจหลักของเรือหลวงสุโขทัย
ขีดความสามารถของเรือหลวงสุโขทัย
ด้าน ThaiArmedForce.com ระบุว่า แม้เรือจะเก่าเกิน 35 ปี แต่ก็เป็นเรือที่กองทัพเรือให้ความสำคัญสูงมาก มีการปรับปรุงให้ทันสมัยมาเรื่อย ๆ ไม่รวมการซ่อมทำตามวงรอบปกติ
ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า กองทัพเรือเพิ่งได้งบประมาณปี 2566 มาปรับปรุงเพิ่มเติมอีก โดยจะทำการเปลี่ยนตอร์ปิโดให้เป็นรุ่นใหม่คือ Mk. 54 Mod 0 ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับที่กองทัพเรือสหรัฐใช้ แปลว่ากองทัพเรือมีความตั้งใจจะใช้งานเรือหลวงสุโขทัยต่ออีกอย่างน้อย 15 ปี
เรือหลวงสุโขทัย เป็นเรือรบหลัก 1 ใน 5 ลำของกองทัพเรือในตอนนี้ที่รบได้ครบ 3 มิติคือบนฟ้า ผิวน้ำ และใต้น้ำ และมีจรวดพื้นสู่พื้นกับพื้นสู่อากาศในการรับมือกับภัยคุกคามครบ โดยอีก 4 ลำ ได้แก่ เรือหลวงภูมิพล เรือหลวงนเรศวร เรือหลวงตากสิน และเรือหลวงรัตนโกสินทร์ โดยแผนความต้องการของกองทัพเรือ คือ ต้องมีเรือที่มีสมรรถณะสูงแบบนี้ 8 ลำด้วยกัน ซึ่งผู้บัญชาการทหารเรือคนปัจจุบันเคยกล่าวไว้เมื่อตอนรับตำแหน่งใหม่ว่ากำลังจะเสนองบจัดหา 1 ลำเพิ่มเติม ต่อจาก เรือหลวงภูมิพล ขณะที่อีก 2 ลำ ยังไม่มีแผน จึงต้องใช้ เรือหลวงกระบุรี และเรือหลวงสายบุรี ที่พอจะทดแทนได้ไปก่อน แต่เรือไม่มีจรวดพื้นสู่อากาศ และระบบปราบเรือดำน้ำไม่ทันสมัย
ในการรบเป็นกองเรือ เรือหลวงสุโขทัยสามารถทำหน้าที่ในการป้องกันทางอากาศ เป็นเรือป้องกันระยะใกล้ (Goalkeeper) ให้กับเรือหลักที่มีคุณค่าสูงได้ เปิดเรือยามเรดาร์ (Picket) ให้กับกองเรือหลักได้ และทำหน้าที่ในการปราบเรือดำน้ำ เป็นเรือฉากระยะใกล้ (Inner screen) ได้
ดังนั้นการเสียเรือหลวงสุโขทัยไปคือการเสียกำลังรบชั้นแนวหน้าถึง 20% ที่กองทัพเรือมี ซึ่งก็หมายถึงจะส่งผลให้ขีดความสามารถของกองทัพเรือลดลงไปค่อนข้างมากแน่นอน
เหตุการณ์นี้เรียกว่าถือเป็นเคสแรกๆในรอบหลายสิบปีที่เรือขนาดใหญ่จะโดนคลื่นถล่มจมกลางทะเลอ่าวไทย หลายคนอาจไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น จึงทำให้เกิดเสียงวิพากวิจารณ์กันไปต่างๆ
เป็นเพราะคลื่นลมในทะเล ระบบ การฝึกซ้อมกำลังพลให้รับมือกับสถานการณ์ หลักปฏิบัติจำนวนผู้โดยสารเรือที่มีจำนวนมากกว่าเสื้อชูชีพเรือ รวมไปถึงเรื่องการดูแลรักษาเรือว่ามีเพียงพอหรือไม่ ???
จึงเป็นหน้าที่ของกองทัพเรือจะต้องสอบข้อเท็จจริงถึงสาเหตุอย่างละเอียดในเชิงลึกยิ่งขึ้น เพื่อคลายข้อสงสัยต่อสังคมและเพื่อสร้างขวัญกำลังใจต่อกำลังพล อีกทั้งการจัดหายุทโธปกรณ์ ตลอดจนแผนในการส่งกำลังบำรุงและซ่อมบำรุงมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด