นางนิยดา เสนีย์มโนมัย โฆษกสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงกรณีที่สื่อเสนอข่าวพาดพิงสิทธิทันตกรรมของสำนักงานประกันสังคมว่าด้อยกว่าสิทธิประโยชน์อื่น โฆษก สปส. แจง ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมรับบริการสิทธิทันตกรรม ไม่ด้อยกว่าสิทธิกองทุนอื่น
โดยการจัดบริการทันตกรรม จากเดิม สปส. ได้ปรับรูปแบบเหมาจ่ายให้กับสถานพยาบาลตามสิทธิ และกำหนดให้ผู้ประกันตนเข้ารับบริการทันตกรรม (อุดฟัน ถอนฟัน และขูดหินปูน) รวมทั้งสามารถทำฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิกในสถานพยาบาลตามสิทธิหรือเครือข่าย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและได้ดำเนินการเป็นระยะเวลา 1 ปี นั้น ซึ่งจากการดำเนินการพบว่าผู้ประกันตนเข้าไม่ถึงบริการสิทธิทันตกรรม เนื่องจากมีการเข้ารับบริการเป็นจำนวนมาก ทำให้สถานพยาบาลตามสิทธิไม่สามารถจัดหาสถานพยาบาลเครือข่ายรองรับการใช้บริการของผู้ประกันตน และได้มีการเรียกร้องให้กลับมาใช้วิธีการเบิกจ่ายค่าบริการทันตกรรมแบบเดิมตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา
อย่างไรก็ดี ปัจจุบันสำนักงานประกันสังคมได้พัฒนารูปแบบการให้บริการสิทธิทันตกรรมแก่ผู้ประกันตนให้สามารถเข้ารับบริการ
ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับบริการทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ ตลอดจนสามารถเลือกรับบริการคลินิกทันตกรรมใกล้บ้านได้
ในขณะที่กองทุนสุขภาพอื่นยังจำกัดการให้บริการในสถานพยาบาลของรัฐเท่านั้น กรณีที่เข้ารับบริการในสถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคม ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับบริการโดยไม่ต้องสำรองจ่าย ทำให้การเข้าถึงบริการทันตกรรมของผู้ประกันตน ในปี 2565 มีจำนวน (2,934,878 ครั้ง) สำหรับกรณีการใส่ฟันปลอมในระบบประกันสังคมสามารถเบิกค่าฟันเทียมโดยไม่จำกัดวัสดุ ในขณะที่กองทุนสุขภาพอื่นยังคงจำกัดวัสดุฟันเทียมเป็นวัสดุประเภทอคริลิกเท่านั้น
นอกจากนี้ ผู้ประกันตนยังสามารถเข้ารับบริการอุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน ผ่าฟันคุด ในสถานพยาบาลตามสิทธิ โดยสามารถเบิกได้ในอัตรา 900 บาท/คน/ปี หากสถานพยาบาลตามสิทธิทำบันทึกข้อตกลง (MOU) กับสำนักงานประกันสังคม ผู้ประกันตนไม่ต้องสำรองจ่ายกรณีสถานพยาบาลตามสิทธิไม่ได้ทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ผู้ประกันตนสามารถนำใบเสร็จมาเบิกกับสำนักงานประกันสังคมได้
นอกจากนี้กรณีผู้ประกันตนประสบอุบัติเหตุ เกิดบาดแผลในช่องปากและกระทบต่อฟัน เช่น ฟันหัก ถือเป็นกรณีเจ็บป่วย ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามสิทธิโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สำนักงานประกันสังคมจัดบริการทางการแพทย์ให้กับผู้ประกันตนโดยคำนึงถึงปัจจัยความจำเป็นของผู้ประกันตนที่ไม่สามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ในเวลาราชการ ดังนั้น จึงได้ออกแบบระบบการให้บริการที่ให้ผู้ประกันตนสามารถเข้าถึงการบริการทันตกรรมได้อย่างสะดวก โดยไม่กระทบเวลาการทำงาน
ทั้งนี้ การกำหนดอัตราค่าบริการทางการแพทย์ คณะกรรมการการแพทย์ได้พิจารณาถึงอัตราการใช้บริการและอัตราค่าบริการทางการแพทย์ที่เหมาะสม และอ้างอิงกับราคาของกระทรวงสาธารณสุข อย่างไรก็ดีการให้สิทธิประโยชน์กรณีทันตกรรม แบบเหมาจ่าย สำนักงานประกันสังคมได้คำนึงถึงการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ และการให้บริการสิทธิทันตกรรมของผู้ประกันตนอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โฆษก สปส. กล่าวในตอนท้าย