ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 2566 Dtac Safe Internet ได้นำเสนอการสร้างภูมิคุ้มกันดิจิทัลให้แก่เด็กและเยาวชน รวมถึงผู้ปกครอง ให้ตระหนักรู้ถึงภัยของปัญหา ตลอดจนอุบายที่ผู้กระทำผิดใช้ล่อลวงเหยื่อผ่านชุดคำศัพท์ที่น่าสนใจ เนื่องจากการล่วงละเมิดในยุคออนไลน์ส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปแบบเนื้อหาสื่อ (Child Sexual Exploitation Material: CSEM) หมายถึง สื่อที่แสดงการละเมิดทางเพศเด็กในทุกรูปแบบ ที่แสดงให้เห็นการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็ก หรือกิจกรรมทางเพศที่กระทำต่อเด็ก รวมทั้งสื่อที่แสดงภาพเปลือย หรือกึ่งเปลือย เพื่อจุดประสงค์ในเรื่องเพศสัมพันธ์เป็นหลัก
รวมถึง "ภาพลามกอนาจารเด็กเสมือนจริง" (virtual child pornography) ด้วย แม้จะไม่ได้ทำอันตรายต่อเด็กจริง แต่ก่อให้เกิดผลทางลบต่อเด็กเพราะ 1. อาจถูกนำไปใช้ในกระบวนการตระเตรียมเด็กเพื่อแสวงหาประโยชน์ทางเพศ 2. ทำให้ตลาดค้าสื่อการทารุณกรรมทางเพศต่อเด็กดำรงอยู่ต่อไปได้ และ 3. ทำให้เกิดวัฒนธรรมความชินชาและไม่แยแส (culture of tolerance) ต่อการนำเด็กมาล่วงละเมิดผ่านสื่อออนไลน์และเป็นการบ่มเพาะอุปสงค์ในการละเมิดทางเพศต่อเด็ก
ภัยไซเบอร์ที่จ้องทำลายสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีของเด็ก คือ การแสวงหา ‘ประโยชน์ทางเพศ’ ที่มีชื่อเรียกว่า “Online Child Exploitation’ หรือ ภัยการแสวงหาประโยชน์และคุกคามทางเพศเด็กทางออนไลน์ เป็นอาชญากรรมทางร่างกายและจิตใจที่มีความผิดฐาน ‘ค้ามนุษย์’ ภัยไซเบอร์ 4 คำศัพท์ "ทรงอย่างแบด" ที่เด็กและผู้ปกครองควรศึกษา เพื่อป้องกันภัยการแสวงหาประโยชน์กับเด็กๆ ได้แก่
ทั้งนี้ ผู้ล่วงละเมิดมักค้นหาเด็กที่อยู่ในภาวะเปราะบางเช่น ปัญหาเรื่องความมั่นใจในตนเอง เด็กที่โดดเดี่ยว พฤติกรรมการเตรียมเด็ก ได้แก่ การสนองความต้องการของเด็ก เช่น ให้ความสนใจและของขวัญ การบังคับจิตใจ การควบคุม การสอนเรื่องเพศ และการทำให้เด็กรู้สึกชินชา สร้างความสัมพันธ์ทางเพศกับเด็ก
Sexting เป็นกระบวนการของคนร้ายที่ต้องการส่งต่อข้อความและ/หรือรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศของบุคคลนั้นๆ กับเด็กที่เป็นเหยื่อ โดยหวังให้เด็กโต้ตอบบทสนทนาด้วยเนื้อหาลักษณะเดียวกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งรูปภาพและ/หรือภาพเคลื่อนไหวที่เกี่ยวกับเรือนร่างหรืออวัยวะเพศเด็กคนนั้น โดยภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวเหล่านี้ มักถูกส่งต่อกันในกลุ่มที่มีรสนิยมหรือความชื่นชอบดังกล่าว ซึ่งจากงานวิจัยของ UNODC พบว่าราว 88% ของเนื้อหาทางเพศที่เกี่ยวกับเด็กเกิดขึ้นจากโลกออนไลน์และถูกอัพโหลดขึ้นบนเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งเด็กที่เป็นเหยื่อเหล่านั้นไม่ได้ระมัดระวัง
จากข้อมูลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติบ่งชี้ว่า เด็กไทยถึง 20% มีโอกาสตกเป็นเหยื่อจากการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ ซึ่งไม่เพียงแค่เด็กหญิงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเด็กชาย ทั้งยังขยายความรุนแรงไม่จำกัดเพียงกลุ่มเปราะบาง แต่รวมถึงผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตทุกชนชั้น ผู้มีฐานะดีก็สามารถตกเป็นเหยื่อของคนร้ายได้ ที่สำคัญ 10-31% ของเด็กอายุ 12-17 ปี ที่ถูกแสวงประโยชน์ทางเพศจากเด็กบนออนไลน์ “ไม่” เปิดเผยประสบการณ์ดังกล่าวกับผู้ใด เก็บเงียบไว้คนเดียว
จากงานวิจัยเรื่อง The Traumatic Impact of Child Sexual Abuse: A Conceptualization ระบุว่า เด็กที่ตกเป็นเหยื่อจากการล่วงละเมิดทางเพศ มักกลายเป็นบุคคลผู้มีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมกับวัย (Traumatic Sexualization) กล่าวคือ มักมีพฤติกรรมสำส่อนทางเพศเมื่อเติบใหญ่ รวมถึงใช้การมีเพศสัมพันธ์เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ
นอกจากนี้ เหยื่อยังมีความรู้สึกว่าถูก “หักหลัง” จากผู้ใหญ่และไม่เชื่อฟัง รวมถึงความรู้สึกในการไร้ซึ่งพลังและถูกตีตราจากคนร้าย