รางวัลแรก “อำเภอสุขใจ” ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ ที่ได้จัดงานมหกรรมและมอบรางวัล “พลังคน พชอ.ครั้งที่ 2” ปี 2565
โดยคัดเลือกพื้นที่ระดับอำเภอ สำหรับบุคคล โครงการ หรือนวัตกรรม ที่มีผลการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ดีเด่นเป็นรูปธรรม เพื่อยกย่องเชิดชูให้เป็นต้นแบบของการเรียนรู้ ด้านการดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชน ไปสู่พื้นที่อื่น ๆ
อีกรางวัลเมื่อกลางเดือนม.ค.2566 คณะทำงานคัดเลือก อำเภอนำร่องระดับจังหวัด ที่สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น “อำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ยอดเยี่ยม ครั้งที่ 2/2566 ของกระทรวงมหาดไทย
คัดเลือก 878 อำเภอ ตั้งแต่รอบตัวแทนจังหวัดได้ 76 อำเภอ คัดตัวแทนกลุ่มจังหวัดเหลือ 18 อำเภอ จนถึงรอบ 10 อำเภอสุดท้ายที่มีผลงานโดดเด่น
คัดมา 2 อำเภอคว้ารางวัล คือ เทพา จังหวัดสงขลา กับอำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก
นายอำเภอเทพา บูรณาการ 7 เครือข่าย ทำโครงการ “ดาหลาบารูสู่ความเพียร”ด้วยความสามัคคี สร้างเศรษฐกิจฐานรากเข้มแข็ง ประชาชนมีอาชีพมั่นคง มีรายได้เพิ่มขึ้น ผสานความต่างให้เกิดความร่วมมือของพหุวัฒนธรรม
ก่อนมารับตำแหน่งนายอำเภอเทพา นายสิทธิชัย เทพภูษา เป็นนายอำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
เมื่อเดือนเม.ย.2563 ผู้คนแตกตื่นเชื้อโควิด-19 โรคระบาดอุบัติใหม่ แรงงานไทยทะลักกลับจากมาเลเซีย ซึ่งต้องกักตัวกันโรค 14 วัน นายอำเภอสิทธิชัยยกบ้านพักข้าราชการที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ ให้เป็น “ศูนย์พักผ่อนก่อนเข้าบ้าน”
ย้ายเป็นนายอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เดือนส.ค.2564 ออกหนังสือเวียนแจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ช่วยสำรวจทำบัญชีกลุ่มเปราะบางไม่มีจะกิน ด้วยภาษาถิ่น “กลุ่มคนจนแจ๊กๆ” เพื่อให้ตรงเป้าหมาย
เพื่อจัดความช่วยเหลือให้ถึงตัวจริง ๆ จนฮือฮาทั้งประเทศ
นายสิทธิชัย เทพภูษา
นายอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
คอลัมน์สปอตไลต์ หน้า 4 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,858 วันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566