NBCT แถลงคัดค้านร่าง พ.ร.บ.จริยธรรมสื่อ ชี้ไม่จำเป็นต้องมีให้เปลืองงบ

04 ก.พ. 2566 | 04:00 น.
อัปเดตล่าสุด :04 ก.พ. 2566 | 04:35 น.

สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย (NBCT) ออกแถลงการณ์คัดค้านร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. ... ชี้ไม่เห็นความจำเป็นต้องมีให้เปลืองงบประมาณ-ทำหน้าที่ทับซ้อนกับองค์กรวิชาชีพสื่อ

 

เพจเฟซบุ๊กสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย (NBCT)เผยแพร่แถลงการณ์ “คัดค้านร่าง พรบ.ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อฯ” เมื่อวันศุกร์ (3 ก.พ.2566) โดยเนื้อหาระบุว่า

สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ออก แถลงการณ์คัดค้านร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. .…ตามที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติผ่านร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. .… และเสนอเข้าสู่วาระการประชุมของรัฐสภาแบบเร่งด่วนในวันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ตามข้อเสนอของ พลเอกประวิตร วงศ์สุวรรณ ทำหนังสือถึงประธานรัฐสภาขณะที่อยู่ในตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ.2565 ขอให้นำร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. .…เข้าสู่การพิจารณาแบบเร่งด่วน โดยอ้างถึงร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. .… เป็นกฎหมายปฏิรูปประเทศตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ในหมวดที่ 16

สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จึงไม่เห็นความจำเป็นในการที่จะมีร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. .…ฉบับนี้ ให้สิ้นเปลื้องงบประมาณ และทำหน้าที่ทับซ้อนกับองค์กรวิชาชีพสื่อและองค์กรที่ทำหน้าที่กำกับดูแลสื่อของภาครัฐ ถ้ารัฐเห็นความสำคัญในการส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชนตามที่ระบุไว้ในหลักการและเหตุผล รัฐควรส่งเสริมกลไกใช้สิทธิของประชาชนในการตรวจสอบสื่อทั้งในภาคจริยธรรมและกฎหมาย รวมไปจนถึงให้เสรีภาพในนำเสนอข้อมูลตรวจสอบการทำงานของรัฐอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อคนในวิชาชีพสื่อทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ รวมไปจนถึงการปกป้องผู้บริโภคสื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนที่ไม่ได้คำนึงถึงจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ในการนำเสนอข่าว

 

มีรายละเอียดแถลงการณ์คัดค้านดังนี้

 

แถลงการณ์คัดค้านร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. ....

 

ตามที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติผ่านร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน และเสนอเข้าสู่วาระการประชุมของรัฐสภาแบบเร่งด่วนในวันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ตาม ข้อเสนอของ พลเอกประวิตร วงศ์สุวรรณ ทําหนังสือถึงประธานรัฐสภาขณะที่อยู่ในตําแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2565 ขอให้นําร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. ....เข้าสู่ การพิจารณาแบบเร่งด่วน โดยอ้างถึงร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. เป็นกฎหมายปฏิรูปประเทศตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ในหมวดที่ 16

1. ว่าด้วยหลักการและเหตุผลในการร่างพ.ร.บ. ตามที่ได้มีอ้างถึงเหตุผลการร่าง พ.ร.บ. ว่าผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนมีสิทธิและเสรีภาพในการนําเสนอข้อมูลข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพให้ครอบคลุมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน แต่ให้คํานึงถึงวัตถุประสงค์และภารกิจของหน่วยงานที่ตนสังกัดด้วย แค่เหตุผลในการร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ก็แย้งย้อนยากต่อการปฏิบัติของสื่อมวลชนภายใต้สังกัดของรัฐบาลทั้ง ทางตรงและทางอ้อม ซึ่งได้มีการระบุขยายความไว้อย่างชัดเจนในหมวด มาตรา 5 ย่อหน้า 2 ที่ระบุว่า 'ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมีสิทธิปฏิเสธการปฏิบัติตามคําสั่งใด ที่จะมีผลให้เป็นการฝ่าฝืนจริยธรรมสื่อมวลชนโดยมิให้ถือว่าเป็นการขัดคําสั่งผู้บังคับบัญชา แต่การใช้สิทธิดังกล่าวต้องคํานึงถึงวัตถุประสงค์และภารกิจของหน่วยงานที่ตนสังกัดอยู่ด้วย' ซึ่งทําให้วัตถุประสงค์และภารกิจของหน่วยงานอยู่เหนือเสรีภาพในการน่าเสนอข้อมูลข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ

2. หมวด 2 สภาวิชาชีพสื่อมวลชน ว่าด้วยมาตรา 6 การจัดตั้งสภาวิชาชีพสื่อมวลชนตามพ.ร.บ.ฉบับนี้ เป็นการจัดตั้งองค์กรที่ทํางานทับซ้อนกับการทํางานขององค์กรวิชาชีพสื่อแขนงต่างๆ และการกํากับดูแลสื่อของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กสทช. ซึ่งมีบทบาทในการกํากับ ดูแลทั้งด้าน กฎหมายตามมาตรา 37 - 39 และระเบียบข้อบังคับทางจริยธรรมอยู่แล้ว

3. ว่าด้วยมาตรา 4 ให้สภามีรายได้ ดังต่อไปนี้

(1) ให้รัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิม และ (2) ให้ได้รับจัดสรรตามมาตรา 9 ซึ่งระบุว่าให้คณะกรรมการบริหาร กองทุนวิจัยและพัฒนาคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กสทช. จัดสรรเงินจากกองทุนดังกล่าวเป็นรายปี ซึ่งก็มีกําหนดอยู่ในการทํางานของ กสทช.อยู่แล้วในรูปแบบของการให้ทุน สนับสนุนต่อผู้ที่ยื่นขอและมีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ แม้ไม่มีการจัดตั้งสภาวิชาชีพสื่อมวลชน ทาง กสทช.ก็ต้องทําหน้าที่นี้อยู่แล้ว

อนึ่งในมาตรา 8 ( 1-2 ) คนในวิชาชีพสื่อมวลชจะมีหลักประกันอะไรได้ว่า หากคนในวิชาชีพสื่อมวลชน ตรวจสอบการทํางานของรัฐบาลในอนาคต ซึ่งอาจจะไม่ใช่รัฐบาลชุดนี้ สภาวิชาชีพสื่อที่ถูกตั้งขึ้นในรัฐบาลนี้จะไม่ถูก ตัดงบสนับสนับสนุนทั้งในทางตรงและทางอ้อม โดยรวมแล้ว ถ้าพิจารณาตามมาตราที่ 8 และ 9 ของร่างพ.ร.บ. ดังกล่าวที่กําหนดแหล่งรายได้ของสภาวิชาชีพสื่อมวลชนมาจากหลายช่องทาง ซึ่งมีเงินจากรัฐบาลจะจ่ายให้เป็นทุน ประเดิม, เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่ายประจําปี และเงินที่ได้รับการจัดสรรโดยคณะ กรรมการบริหารกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์ สาธารณะ (กทปส.) ไม่ต่ํากว่าปีละ 25 ล้านบาท แต่หลักการทําหน้าที่ของสื่อมวลชนจะต้องเป็นผู้ตรวจสอบการ ดําเนินการของภาครัฐ ถ้าเป็นดังที่ร่าง พ.ร.บ. บัญญัติไว้ สภาวิชาชีพสื่อมวลชนที่ถูกตั้งขึ้นจะเป็นอิสระจากภาครัฐได้อย่างไร

4. หมวด 3 คณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชน ว่าด้วยมาตรา 15 กําหนดให้มีการจัดตั้ง “สภาวิชาชีพ สื่อมวลชน” ขึ้นมาทําหน้าที่กําหนดมาตรฐานจริยธรรมของสื่อมวลชน พร้อมกํากับดูแลการทํางานของสื่อมวลชนให้ เป็นไปตามมาตรฐานจริยธรรมนั้น โดยประกอบด้วยตัวแทนองค์กรวิชาชีพสื่อในปัจจุบัน 5 คน ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความ เชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านต่างๆ อีก 5 คน ซึ่งผ่านการคัดเลือกโดยคณะกรรมการสรรหา พร้อมกับผู้จัดการ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่เป็นกรรมการโดยตําแหน่ง อีก 1 คน รวม 11 คน

ในกระบวนการดังกล่าวไม่ได้ยึดโยงกับทั้งสื่อมวลชนและประชาชนผู้บริโภคสื่ออย่างชัดเจน แต่กลับมีอํานาจ ในการคัดเลือกคณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชนซึ่งจะมีบทบาทหน้าที่สําคัญ กําหนดมาตรฐานทางจริยธรรม สื่อมวลชน รวมถึงพิจารณาการขอจดแจ้งและเพิกถอนการจดแจ้งขององค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน เป็นต้น ซึ่งเป็น บทบาทสําคัญในการกําหนดทิศทางและความเป็นไปของสภาวิชาชีพสื่อมวลชนว่าจะไปในทิศทางใด

หมวด 5 จริยธรรมสื่อมวลชน

ว่าด้วยมาตรา 13 การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมสื่อมวลชนมีโทษดังต่อไปนี้ (1) ตักเตือน (2) ภาคทัณฑ์ (3) ตําหนิโดยเปิดเผยต่อสาธารณะ ซึ่งบทลงโทษและระยะเวลาในการพิจารณาโทษ ก็มีเป็นระเบียบบังคับอยู่ในองค์กร วิชาชีพสื่ออยู่แล้ว ยิ่งไปพิจารณาต่อในมาตรา 41 ที่ได้ขยายความบทลงโทษไว้อย่างละเอียดจะเห็นได้ชัดว่าไม่ แตกต่างจากระเบียบข้อบังคับขององค์กรวิชาชีพสื่อแต่อย่างใด และที่สําคัญอื่นใดรัฐบาลได้ตั้งคณะทํางานปฏิรูปสื่อ ขึ้นมาและมีคณะอนุกรรมการปฏิรูปสื่อมาเป็นกลไกในการขับเคลื่อนสื่อ จากการติดตามการทํางานของคณะกรรมการ ดังกล่าวทําให้ทราบว่าในคณะอนุกรรมการปฏิรูปสื่อที่รัฐบาลตั้งขึ้น ได้มีการประชุมกัน 3 ครั้ง และมีมติไม่ต้องมีกฎหมายปฏิรูปสื่อแต่อย่างใด แต่ขอให้มีกลไกการส่งเสริมจัดการรในการดําเนินการตามกฎหมายและหลักจริยธรรม ขององค์กรวิชาชีพสื่อที่มีอยู่แล้วอย่างเข้มงวด แต่ปรากฏว่ากลับมีร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ส่งเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และได้ผ่านมติของการประชุมบรรจุเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา

ดังนั้น ทางสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จึงไม่เห็นความจําเป็นในการที่จะมีร่างพระราชบัญญัติ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. ....ฉบับนี้ ให้สิ้นเปลืองงบประมาณและทําหน้าที่ทับ ซ้อนกับองค์กรวิชาชีพสื่อและองค์กรที่ทําหน้าที่กํากับดูแลสื่อของภาครัฐ ถ้ารัฐเห็นความสําคัญในการส่งเสริม จริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชนตามที่ระบุไว้ในหลักการและเหตุผล รัฐควรส่งเสริมกลไกใช้สิทธิของ ประชาชนในการตรวจสอบสื่อทั้งในภาคจริยธรรมและกฎหมาย รวมไปจนถึงให้เสรีภาพในนําเสนอข้อมูล ตรวจสอบการทํางานของรัฐอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อคนในวิชาชีพสื่อทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ รวมไปจนถึงการปกป้องผู้บริโภคสื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการทําหน้าที่ของสื่อมวลชนที่ไม่ได้ คํานึงถึงจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ในการนําเสนอข่าว