สภาพอากาศวันนี้(20 มี.ค.)ไทยตอนบนอากาศร้อน มีพายุฤดูร้อน

19 มี.ค. 2566 | 23:13 น.
อัปเดตล่าสุด :19 มี.ค. 2566 | 23:25 น.

สภาพอากาศวันนี้(20 มี.ค. 66)ไทยตอนบนมีอากาศร้อน ฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศประจำวัน(20 มี.ค. 66) หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก 

สภาพอากาศวันนี้(20 มี.ค.)ไทยตอนบนอากาศร้อน มีพายุฤดูร้อน

ประกอบกับในช่วงวันที่ 20 – 22 มี.ค. 2566 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยมีลูกเห็บตกบางแห่งในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อน รวมถึงระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย 

สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง 

ฝุ่นละอองในระยะนี้: ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีแนวโน้มการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงค่อนข้างมาก เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อน ส่วนภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกมีแนวโน้มการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์น้อย เนื่องจากมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทำให้มีการระบายอากาศที่ดีในบริเวณดังกล่าว

สภาพอากาศวันนี้(20 มี.ค.)ไทยตอนบนอากาศร้อน มีพายุฤดูร้อน

พยากรณ์อากาศเวลา 06.00 น. วันนี้ ถึง 06.00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ

  • อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ 
  • กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน 
  • เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน ตาก และเพชรบูรณ์
  • อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส 
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ 
  • กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย หนองคาย 
  • ชัยภูมิ และนครราชสีมา
  • อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง

  • อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ 
  • กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี และราชบุรี
  • อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส 
  • ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

  • อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่
  • ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
  • ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

  • เมฆบางส่วน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ 
  • ส่วนมากบริเวณจังหวัดสงขลา ยะลา และนราธิวาส
  • อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส
  • ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
  • ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
  • ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
  • ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

  • อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่
  • ส่วนมากบริเวณจังหวัดตรัง และสตูล
  • อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส 
  • ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. 
  • ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล

  • อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่
  • อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส 
  • ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. 

ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา