"พายุฤดูร้อนถล่ม"วันที่ 7-9 เม.ย.นี้ จังหวัดไหนได้รับผลกระทบ เช็คที่นี่

07 เม.ย. 2566 | 08:05 น.
อัปเดตล่าสุด :07 เม.ย. 2566 | 15:59 น.

กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดรายชื่อจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจาก"พายุฤดูร้อนถล่ม"เช็คเลยวันนี้ - พรุ่งนี้ ฝนตกที่ไหนบ้าง

กรมอุตุนิยมวิทยา เผยรายชื่อจังหวัดต่างๆในพื้นที่ไทยตอนบนที่ได้รับผลกระทบจาก "พายุฤดูร้อน" ระหว่างวันที่ 7 -9 เมษายน 2566 โดยพื้นที่เสี่ยงดังกล่าวเตรียมรับมือพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่

 

จังหวัดที่คาดว่าจะมีผลกระทบจากพายุฤดูร้อน วันที่ 7-9 เมษายน 2566 

วันที่ 7 เมษายน 2566 คาดว่าจะได้รับผลกระทบ 32 จังหวัด ประกอบด้วย

  • พิษณุโลก เพชรบูรณ์ หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ มหาสารคาม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานครและปริมณฑล นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
     
  • วันที่ 8 เมษายน 2566 คาดว่าจะได้รับผลกระทบ 50 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์  ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม กรุงเทพมหานครและปริมณฑล นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด 

 

  • วันที่ 9 เมษายน 2566 คาดว่าจะได้รับผลกระทบ 33 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม กรุงเทพมหานครและปริมณฑล นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และชลบุรี 
     

ทั้งนี้กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลการพยากรณ์อากาศ -พายุฤดูร้อนได้ ผ่านเว็บไซต์ หรือ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
 

วิธีการรับมือพายุฤดูร้อนเพื่อลดเสี่ยงอันตรายจากสภาพอากาศแปรปรวน ดังนี้ 

  • ติดตามพยากรณ์อากาศ
  • ตรวจสอบบ้าน/อาคารให้แข็งแรง
  • ตัด/โค่นต้นไม้ที่เสี่ยงต่อการหักหรือล้ม
  • หลบพายุฝนในอาคารที่แข็งแรง
  • จัดทำที่ค้ำยันต้นไม้หรือที่กำบังปกคลุมผลผลิตทางการเกษตร

ปภ.แนะนำวิธีการรับมือ"พายุฤดูร้อน"

ขณะเดียวกันปภ.ยังแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับ 5 สถานที่เสี่ยงอันตราย เมื่อฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า

  • บริเวณเขา สันเขา เนินเขา
  • บริเวณดาดฟ้าอาคาร ต้นไม้ใหญ่
  • บริเวณที่มีสื่อนำไฟฟ้าและโลหะ
  • พื้นที่โล่งแจ้ง
  • บริเวณโดยรอบที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง 16 กิโลเมตร

5 สถานที่เสี่ยงอันตราย เมื่อฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า