กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ แจ้งว่า ร่องมรสุมกำลังปานกลางจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้ในช่วงวันที่ 20 - 25 สิงหาคม 2566 มีพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ดังนี้
ภาคเหนือ
- จังหวัดเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย ขุนตาล และแม่สรวย
- จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอฝาง และแม่อาย
- จังหวัดน่าน อำเภอนาหมื่น และเวียงสา
- จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอเขาค้อ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- จังหวัดหนองคาย อำเภอเมืองหนองคาย เฝ้าไร่ โพนพิสัย และรัตนวาปี
- จังหวัดบึงกาฬ อำเภอบุ่งคล้า
- จังหวัดนครพนม อำเภอ ท่าอุเทน และศรีสงคราม
- จังหวัดสกลนคร อำเภอพรรณานิคม สว่างแดนดิน และอากาศอำนวย
- จังหวัดอุดรธานี อำเภอบ้านดุง
- จังหวัดอำนาจเจริญ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ และหัวตะพาน
- จังหวัดสุรินทร์ อำเภอเมืองสุรินทร์
- จังหวัดศรีสะเกษ อำเภอเมืองศรีสะเกษ
- จังหวัดอุบลราชธานี อำเภอเขื่องใน
ภาคตะวันออก
- จังหวัดจันทบุรี อำเภอเมืองจันทบุรี แก่งหางแมว และขลุง
- จังหวัดตราด อำเภอเมืองตราด เขาสมิง บ่อไร่ คลองใหญ่ และเกาะช้าง
ภาคใต้
- จังหวัดระนอง อำเภอเมืองระนอง และกะเปอร์
- จังหวัดพังงา อำเภอเมืองพังงา คุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง ทับปุด และท้ายเหมือง
- จังหวัดภูเก็ต อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง
- จังหวัดสตูล อำเภอเมืองสตูล และละงู
- จังหวัดตรัง อำเภอเมืองตรัง ปะเหลียน และวังวิเศษ
- จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอพนม และบ้านตาขุน
ทั้งนี้ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ติดตามงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566 อันประกอบไปด้วย
- กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นำเครื่องจักรกลสาธารณภัย พร้อมเจ้าหน้าที่เข้าให้การสนับสนุนองค์การบริหารส่วนตำบลทัพรั้ง เพื่อดำเนินการสูบน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมากักเก็บไว้ในสระน้ำเพื่อผลิตน้ำประปา บ้านกุดไผ่ หมู่ที่ 8 ต.ทัพรั้ง อ.พระทองคำ จ.นครราชสีมา ระยะทาง 800 เมตร เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคของประชาชน มีประชาชนได้รับประโยชน์ 152 ครัวเรือน 565 คน
- กรุงเทพมหานคร ดำเนินการตรวจสอบบำรุงรักษา เครื่องสูบน้ำของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมมีประสิทธิภาพสูงสุดและพร้อมใช้งานกับฤดูฝน โดยดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วเครื่องใช้งานได้ตามปกติ