"รมว.ดีอี"เสียใจเหตุกราดยิงพารากอน ประสานกสทช.ทำเตือนภัยเจาะจง

04 ต.ค. 2566 | 07:57 น.
อัปเดตล่าสุด :04 ต.ค. 2566 | 07:57 น.

"รมว.ดีอี"เสียใจเหตุกราดยิงพารากอน ประสานกสทช.ทำเตือนภัยเจาะจง หลังพบข้อมูลมีการแจ้งเตือนด้วย SMS ถึงผู้อยู่ในพื้นที่ให้อพยพออก แต่ไม่พบว่ามีการแจ้งเตือนจากภาครัฐแบบเจาะจง

จากกรณีเกิดเหตุการณ์เด็กชายอายุ 14 คนกราดยิงที่  ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 2 รายและบาดเจ็บ 5 คน  

ล่าสุดนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (รมว.ดีอี) ระบุว่า เสียใจอย่างสุดซึ้งกับครอบครัวผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตในเหตุการณ์ในห้างพารากอนในวันที่ 3 ตุลาคม 2566 

โดยได้รับข้อมูลว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้มีการแจ้งเตือน ซึ่งใช้วิธีส่ง SMS ถึงผู้เข้าอยู่ในพื้นที่สยามพารากอน บางคน ว่า ขณะนี้เหตุการณ์ฉุกเฉินให้อพยพออกจากพื้นที่พารากอน ซึ่งการแจ้งเตือนนี้เป็นเรื่องที่ดีแต่ไม่พบว่ามีการ แจ้งเตือนจากภาครัฐแบบเจาะจง 

ทั้งนี้ ในเบื้องต้นทีมงานได้ประสานกับทาง กสทช. พบว่า อยู่ระหว่างการทำเรื่อง cell broadcast ที่ใช้เตือนภัยแบบเจาะจงจะมีการดำเนินการดังนี้ 

  • ทำ command center เพื่อให้operators รู้ว่าต้องรับคำสั่งจากใคร ส่งอย่างไร ซึ่ง กสทช. จะออกกฏ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง 
  • Update software ที่กระจายส่งสัญญาณ ให้ใช้cell broadcast ได้โดยเร็ว 
     

นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้เร่งปิดกั้นเวบการซื้อขายอาวุธผิด กฎหมาย รวมทั้งเร่งประสาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อปราบปรามจับกุมขยายผลต่อ และขอเตือนผู้ที่เกี่ยวข้องกับ การซื้อขายอาวุธออนไลน์อย่าง ผิดกฎหมาย ผิดกฎหมายหลายฉบับ และมีโทษหนัก ดังนี้ 

"รมว.ดีอี"เสียใจเหตุกราดยิงพารากอน ประสานกสทช.ทำเตือนภัยเจาะจง

สำหรับผู้ซื้อและผู้ขายอาวุธ ออนไลน์เข้าข่ายผิด กม. และมีความผิด ดังนี้ 

  • ตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 และที่แก้ไขเพิ่มเติม - ผู้ซื้ออาวุธปืนออนไลน์ มีความผิดฐาน “ซื้ออาวุธปืน หรือเครื่องกระสุนปืน โดยไม่ได้รับอนุญาต” ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ 1 - 10 ปีและปรับตั้งแต่ 2,000 - 20,000 บาท - ผู้ขายอาวุธปืนออนไลน์ มีความผิดฐาน “จำหน่ายอาวุธปืน หรือเครื่องกระสุนปืนสำหรับการค้าโดยไม่ได้รับ อนุญาต” ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 - 20 ปีและปรับตั้งแต่ 4,000 - 40,000 บาท 
  • การขายของออนไลน์โดยนำเข้าข้อมูลเท็จ หลอกลวง มีความผิด ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์พ.ศ. 2550 ตาม มาตรา 14 (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ประชาชน อันมิใช่ การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา ไม่เกิน 5 ปีไม่เกิน 100,000 บาท 

“ได้สั่งการให้ทีมติดตามเรื่องระบบการแจ้งเตือนภัยแบบเจาะจง โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สามารถติดต่อสื่อสาร ได้แบบเจาะจงรายบุคคลให้ข้อมูลที่ทันเวลา เพื่อลดผลกระทบ ความสูญเสีญต่อประชาชน และที่สำคัญต้องทำให้ทันเวลา”