นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ตามที่ อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมหารือเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566 ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการควบคุมการใช้แบลงค์กัน (สิ่งเทียมอาวุธปืน) ซึ่งที่ประชุมได้สรุปผลเป็นมาตรการในการกำกับดูแลควบคุมการใช้อาวุธปืนเพื่อความปลอดภัยของประชาชนรวม 4 มาตรการ
พร้อมกำหนดแบบจดแจ้งสิ่งเทียมอาวุธ (แบบ สท.1) และแบบตอบรับการรายงานผู้ครอบครองสิ่งเทียมอาวุธ (แบบ สท.2) โดยกระทรวงมหาดไทยได้ออกเป็นประกาศไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศเพื่อดำเนินการอย่างเร่งด่วน โดย 4 มาตรการ ประกอบด้วย
อีกทั้งเครื่องกระสุนปืนที่จะอนุญาตให้สมาคมกีฬายิงปืนซื้อ สั่ง หรือนำเข้าได้นั้น เครื่องกระสุนปืนจะต้องเป็นชนิดและขนาดที่สอดคล้องกับอาวุธปืนที่ปรากฏตามใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ ป.4) ของสมาคมกีฬายิงปืน มีความสอดคล้องเหมาะสมกับจำนวนเครื่องกระสุนปืนที่จะอนุญาตให้สมาคมกีฬายิงปืนซื้อ สั่ง หรือนำเข้าได้นั้น ให้พิจารณาข้อเท็จจริงตามสภาพความต้องการของแต่ละพื้นที่
ตลอดจนศักยภาพพื้นที่ในการจัดเก็บอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน และในกรณีที่นายทะเบียนท้องที่จะพิจารณาออกใบอนุญาตให้สั่งหรือนำเข้าเครื่องกระสุนปืน (แบบ ป.2) ชนิดเครื่องกระสุนปืนสั้นจะต้องถือปฏิบัติตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 108/2535 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 เรื่อง จำกัดการออกใบอนุญาตให้บุคคลสั่งหรือนำเข้าซึ่งอาวุธปืนบางชนิด คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 674/2490 วันที่ 10 ตุลาคม 2490 เรื่องระเบียบการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 ประกอบคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 759/2498 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2494 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่ง 674/2490 เรื่อง ระเบียบการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 ด้วย