29 กุมภาพันธ์ 2567 “วันอธิกวาร” Google เปลี่ยน Doodle เป็นภาพ Leap Day 2024

28 ก.พ. 2567 | 05:29 น.
อัปเดตล่าสุด :28 ก.พ. 2567 | 05:43 น.

29 กุมภาพันธ์ 2567 “วันอธิกวาร” Google ร่วมกระแสเปลี่ยน Doodle เป็นภาพ Leap Day 2024 สำหรับเดือนกุมภาพันธ์ 4 ปีมีเพียง 1 ครั้งเท่านั้น

4 ปีมี 1 ครั้งสำหรับวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ล่าสุด วันนี้ 29 กุมภาพันธ์ 2567 "กูเกิล" Google ได้เปลี่ยน "กูเกิล ดูเดิล"  Google Doodle หรือเป็นการปรับเปลี่ยนชั่วคราวบนหน้าโฮมเพจของกูเกิล เพื่อร่วมเฉลิมฉลองหรือรำลึกเหตุการณ์สำคัญ เทศกาล วันสำคัญ ในหน้าแรก Search engine เป็นภาพวันอธิกวาร (Leap Day 2024)  โดย กูเกิล ใช้ “กบ” เป็นสัญลักษณ์ของการกระโดดข้ามผ่านเดือนกุมภาพันธ์ไปยังเดือนมีนาคม เพราะ Leap แปลว่า กระโดด 

“วันอธิกวาร” หรือ วัน Leap Day จะมีก็ต่อเมื่อตรงกับปี ค.ศ. ที่หารด้วย 4 ลงตัว ซึ่งปีที่มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์จะเรียกว่าปีอธิกสุรทิน เกิดจากการที่ปฏิทินสมัยใหม่มีจำนวนวัน 365 วัน แต่จริงๆ แล้วการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์จะต้องใช้เวลาประมาณ 365 วัน 6 ชั่วโมง 

"วันอธิกวาร"  ใน "ปฏิทินเกรกอเรียน" ปี ค.ศ. ที่หารด้วย 4 ลงตัวจะมีอธิกวาร แต่ปี ค.ศ. ที่หารด้วย 100 ลงตัวไม่มีอธิกวาร ยกเว้นปี ค.ศ. ที่หารด้วย 400 ลงตัวจะมีอธิกวาร ปีที่มีอธิกวารเรียก "ปีอธิกสุรทิน" วันนี้เป็นวันที่ 60 ของปี เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลืออีก 306 วันในปีนั้น 

ซึ่ง "ปฏิทินเกรกอเรียน" Gregorian Calendar เป็นปฏิทินที่ดัดแปลงมาจากปฏิทินจูเลียน ใช้กันแพร่หลายในประเทศตะวันตก ประกาศใช้ครั้งแรกโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2125 หรือปีค.ศ. 1582

29 กุมภาพันธ์ 2567  “วันอธิกวาร”

เหตุที่มีการคิดค้นปฏิทินกริกอเรียนขึ้นใช้แทน เนื่องจากปีในปฏิทินจูเลียน ซึ่งยาวนาน 365.25 วันนั้น มีนานกว่าปีฤดูกาลจริง (365.2425 วัน) อยู่เล็กน้อย

ทำให้วันวสันตวิษุวัตของแต่ละปี ขยับเร็วขึ้นทีละน้อย เพื่อที่จะให้วันอีสเตอร์ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม "วันวสันตวิษุวัต" จึงจำเป็นต้องปฏิรูปปฏิทิน

ดังนั้นทุก 4 ปีจึงมีการสะสมเวลาส่วนเกินนี้มา และกลายเป็นวันอธิกวาร เพื่อให้การนับวันสอดคล้องกับตำแหน่งปรากฏของดวงอาทิตย์.