วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2567 เวลา 17.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฯฉบับที่ 7 เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน มีผลกระทบจนถึงวันที่ 3 มีนาคม 2567 โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมีดังต่อไปนี้
วันที่ 3 มีนาคม 2567
- ภาคเหนือ: จังหวัดตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
- ภาคตะวันออก:จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และจันทบุรี
- ภาคกลาง: จังหวัดลพบุรี สระบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่
ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย
จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับนี้เป็นฉบับสุดท้ายของเหตุการณ์นี้
ภาคกลาง
- อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
- ส่วนมากบริเวณจังหวัดลพบุรี สระบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี
- อุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออก
- อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
- ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และจันทบุรี
- อุณหภูมิต่ำสุด 26-29 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
- มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่
- ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ยะลา และนราธิวาส
- อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
- ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15–30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
- ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
- อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
- ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง และพังงา
- อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
- ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
กรุงเทพและปริมณฑล
- อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
- อุณหภูมิต่ำสุด 28-29 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส
- ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศประเทศไทยวันนี้ -วันพรุ่งนี้