พยากรณ์อากาศวันที่ 8-11 เม.ย. อีสานรับมือพายุฤดูร้อน

06 เม.ย. 2567 | 17:31 น.

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศวันที่ 8-11 เม.ย.67 ไทยรับมือพายุฤดูร้อน ภาคอีสานกระทบก่อน เตือนประชาชนพื้นที่เสี่ยงระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก ฟ้าผ่า

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศวันนี้ -12 เมษายน พ.ศ. 2567 (พยากรณ์อากาศล่วงหน้า) ประเทศไทยเตรียมรับมือพายุฤดูร้อน ทั้งนี้สามารถตรวจสอบสภาพอากาศแต่ละภาคล่วงหน้าได้ดังต่อไปนี้ 

ภาคเหนือ
วันที่ 6 – 8 และ 12 เม.ย. 67 

  • อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 39 – 43 องศาเซลเซียส

วันที่ 9 – 11 เม.ย. 67 

  • มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง  อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36 – 40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 – 15 กม./ชม.

กรมอุตุฯพยากรณ์อากาศภาคเหนือ มีพายุฝนฟ้าคะนอ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วันที่ 6 – 7 และ 11 - 12 เม.ย. 67 

  • อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38 – 42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 – 15 กม./ชม.

วันที่ 8 – 10 เม.ย. 67

  • มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36 – 39 องศาเซลเซียส  ลมตะวันออก ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม.

ภาคอีสาน มีพายุฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง ลูกเห็บตกบางแห่ง มีฝนตกหนักบางพื้นที่

 

ภาคกลาง
วันที่ 6 – 8 และ 11 – 12 เม.ย. 67 

  • อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง  อุณหภูมิต่ำสุด 25 – 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 39 – 42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

วันที่ 9 – 10 เม.ย. 67 

  • มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36 – 40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.

ภาคตะวันออก
วันที่ 6 – 8 และ 11 – 12 เม.ย. 67 

  • อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25 – 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 – 40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร 

วันที่ 9 - 10 เม.ย. 67 

  • มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 38 องศาเซลเซียส  ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

  • อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง  อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 40 องศาเซลเซียส

วันที่ 6 – 9 เม.ย. 67 

  • ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1  เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

วันที่ 10 - 12 เม.ย. 67 

  • ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1  เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
  • ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2  เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

  • อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 – 38 องศาเซลเซียส

วันที่ 6 – 9 เม.ย. 67 

  • ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

วันที่ 10 - 12 เม.ย. 67 

  • ลมตะวันออก ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร หบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล
วันที่ 6 – 8 และ 11 – 12 เม.ย. 67 

  • อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 28 – 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 – 41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.

วันที่ 9 - 10 เม.ย. 67 

  • มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

กทม.ปริมณฑล มีพายุฝนฟ้าคะนอง มีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง

กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดไทม์ไลน์สภาพอากาศวันนี้ -12 เมษายน 2567 ดังนี้

สภาพอากาศไทยตอนบน
วันที่ 6 – 7 และ 12 เม.ย. 67 

  • ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง  

วันที่ 8 – 11 เม.ย. 67 

  • บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในระยะแรก โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก ฝนตกหนักบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป

สภาพอากาศภาคใต้
วันที่ 6 – 9 เม.ย. 67 

  • ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ส่วนลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง 

วันที่ 10 – 12 เม.ย. 67 

  • ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้เริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามัน ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

 

ข้อควรระวัง
วันที่ 6 – 8 เม.ย. 67 

  • ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานาน 

วันที่ 8 – 11 เม.ย. 67 

  • ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง 
  • สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง 
  • ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย