"กากแคดเมียม" จำนวนถึง 15,0000 ตัน ซุกซ่อนภายในโรงงานแห่งหนึ่งใน ต.บางน้ำจืด อ.เมืองสมุทรสาคร กลายเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงเป็นการทำผิดกฎหมาย
มีข้อเท็จที่น่าสนใจ จาก "มูลนิธิบูรณะนิเวศ" เรื่อง "กากแคดเมียม แค่ปิดโรงงาน/ปิดพื้นที่/ขนย้าย เรื่องไม่จบ ถึงเวลาแก้ปัญหาแบบใช้ปัญญา โดย เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) และ ดาวัลย์ จันทรหัสดี เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษอุตสาหกรรม
ทำไมต้องขุด-ขนกากที่กำจัดแล้วออกจากหลุมฝังกลบ จาก จ.ตากมาสมุทรสาคร
ในความเป็นจริงของเสียจากการทำเหมือง คือ กากอันตรายที่ได้ฝังกลบแบบปลอดภัยไปแล้วใน 7 บ่อ ตามมาตรการ EIA ของโครงการและบ่อที่ 7 ปิดบ่อเรียบร้อยแล้ว แต่ปัญหาที่มีการขนย้ายกากอันตรายมายังจังหวัดสมุทรสาครที่เป็นประเด็นสำคัญ มีการคาดการณ์ว่า น่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2566 ถึงเดือนเมษายน 2567 จาก ผลประโยนชน์ทางธุรกิจบนพื้นที่ฝังกลบของโครงการ หมายความว่าเจ้าของโครงการ หรือ "เบาด์ แอนด์ บียอนด์" อาจมีแผนพัฒนาพื้นที่ทางธรุกิจ แต่ติดปัญหาใต้พื้นที่มีของเสียอันตรายเนื่องจากเป็นกาาปนเปื้อนของแคดเมียม จึงขุดและขนย้ายออกมา
อีกส่วนหนึ่งคือ ผลประโยชน์ที่สอดคล้องกับนโยบายรีไซเคิล กากของเสียเพื่อนำมาใช้ให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เนื่องจากแคดเมียมเเม้จะมีพิษแต่มีมูลค่ามหาศาลในทางเศรษฐกิจ โดย 1 ตันของแคดเมียม เมื่อเสร็จจากการหลอมแล้ว จะมีราคากว่า 1 แสนบาท จึงถือเป็นแรงจูงใจ รวมทั้งเป็นการตอบสนองนโยบายการการทำเหมืองแร่จากวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว และ นโยบาย BCG ซึ่งรัฐบาลอยู่ระหว่างการผลักดัน
ด้วยมูลค่าและสอดคล้องนโยบาย BCG จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนนิยามหรือวิธีการจาก "กากอันตราย" หรือ "กากมีพิษจากอุตสาหกรรม" เหลือเพียง "วัสดุไม่ใช้แล้วที่สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานหล่อหลอมหรือในกิจการรีไซเคิลได้"
นอกจากนี้เมื่อพิจารณาการบังคับใช้กฎหมายของไทย ยังถือว่ามีช่องว่าง เช่น มาตรการ EIA ที่มักจะไม่มีการติดตามการดำเนินการตามจริง ไม่มีมาตรการลงโทษที่ร้ายแรง การอนุมัติการย้ายกากตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมทำได้ง่าย โดยเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา กระทรวงฯ ได้มีนโยบายเร่งรัดให้เจ้าหน้าที่กระทรวงฯ อนุมัติการย้ายกากได้รวดเร็วและสะดวกขึ้น ขณะที่โรงหลอมไม่ต้องมีการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ไม่มีมาตรฐานการตรวจวัดมลพิษที่ปล่อยจากโรงหล่อหลอม เเละข้าราชการไทยเกรงกลัวอิทธิของภาคเอกชน
เตรียมการณ์ก่อนขุด ขนย้าย หลอม ก่อนเป็นข่าว
จากข้อมูลพบว่า “เบาด์ แอนด์ บียอนด์” ได้รับอนุญาตขุด-ขนย้ายกาก เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 66 และเริ่มขนย้าย ช่วง ก.ค. 66 โดยขนย้ายเที่ยวสุดท้ายออกจากพื้นที่ เมื่อวันที่ 8 ม.ค.67 รวมปริมาณกากที่ได้รับอนุญาตขนย้าย 13,832.10 ตัน รวมเวลาขนย้ายกว่า 8 เดือน
เจ แอนด์ บีฯ ไม่สามารถรองรับกากทั้งหมด-กระจายต่อโรงงานอื่น
อาจเป็นเหตุผลที่ เจ แอนด์ บีฯ ส่งต่อกากแคดเมียมไปยังโรงงานอื่น หรือในข้อเท็จจริงที่ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าปลายทางได้ผ่าน เจ แอนด์ บีฯ จริงหรือไม่ แต่เมื่อพิจารณาข้อมูลของบริษัท พบว่าประกอบกิจการในจังหวัดสมุทรสาครมานานกว่า 30 ปี ถือใบอนุญาต 3 ใบในช่วงเวลาต่อไปนี้
แต่ ณ 4 มี.ค. 67 ไม่พบว่ามีการแจ้งประกอบกิจการต่ออุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งการไม่แจ้งประกอบกิจการ จึงไม่มีการตรวจสอบ ว่าบริษัทแห่งนี้มีความสามารถหล่อหลอมกากแคดเมียมได้หรือไม่ ดังนั้นในทางกฎหมาย บริษัทนี้จึงไม่สามารถดำเนินการได้
กากแคดเมียมทั้งหมด คือเท่าไหร่และกระจัดกระจายไปที่ไหน
กากแคดเมียมถูกขนย้ายเที่ยวสุดท้ายออกจากพื้นที่จังหวัดตาก เมื่อ 8 ม.ค. 67 รวม ปริมาณ 13,832.10 ตัน ข้อสังเกตคือ กากแคดเมียมเข้ามาที่ เจ แอนด์ บีฯ เดือน ม.ค. 67 หรือไม่ และเมื่อปรากฎเป็นข่าว เม.ย.67 ปริมาณที่ตรวจพบคือ 2,400 ตันเศษ พบที่ ต.คลองกิ่ว ชลบุรี3,000-7,000 ตัน พบที่แห่งอื่น ใน ต.บางน้ำจืด 1,034 ตัน
คำถามก็คือ ทำไมจึงปล่อยให้มีการส่งต่อกากอันตรายจาก บ.เจ แอนด์ บีฯ ได้อย่างสะดวก โดยบริษัทอื่นที่เป็นผู้รับกากเท่ากับว่าทำผิดกฎหมายเนื่องจากไม่มีใบอนุญาตครอบครองวัตถุอันตราย
"เบาด์ แอนด์ บียอนด์" ผู้ก่อมลพิษต้องรับผิดชอบผลกระทบทั้งหมด
เนื่องจากได้รับอนุญาตให้นำสิ่งปฎิกูลวัสดุไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงานผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์ ส่งไปยัง บริษัท เจ แอนด์ บี เมททอล จำกัด ในนามผู้รับบำบัดเมื่อ 29 มิ.ย. 66 อายุของการอนุญาตระหว่าง 10 ก.ค. 66 - 9 ก.ค. 67
ในกรณีนี้ บริษัท เบาด์ แอนด์ บียอนด์ฯ คือ เจ้าของกากอันตราย หรือ ผู้ก่อมลพิษ ทางบริษัทต้องรับผิดชอบต่อความเสียหาย ทั้งหมดที่เกิดจากการขุด และการขนย้ายกากแคดเมียมจากต้นทางถึงปลายทางทุกจุดที่ได้รับความเสียหายตลอดจนค่าใช้จ่าย ของทุกหน่วยงานที่เข้ามาดำเนินการแก้ปัญหา ติดตาม ตรวจสุขภาพคนงานในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร
ภาพสะท้อนความล้มเหลวของระบบการบริหาร-จัดการกากอุตสาหรกรรม
จากข้อมูลพบว่า ปี 2560 กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีคำสั่งว่าให้อุตสาหกรรมจังหวัดเป็นหน่วยงานที่อนุมัติผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการขนย้ายกากได้ ในกรณีนี้มีการยกเว้นจังหวัดตาก ต่อมาได้มีการออกคำสั่งกรมโรงงานอุตสาหกรรมฉบับใหม่ในปี 2563 ให้อุตสาหกรรมทุกจังหวัดสามารถออกใบอนุญาตขนย้ายกากอันตรายออกจากพื้นที่ได้
คำถามก็คือ อุตสาหกรรมจังหวัดมีศักยภาพเเละความรู้ในการบริหารหรืออนุญาตให้จัดการกากอุตสาหกรรมอันตรายโดยเฉพาะกากที่ถูกฝังกลบเเล้วนำกลับขึ้นมาหรือไม่ เช่นเดียวกับกรณีเกิดขึ้น หากอุตสาหกรรมจังหวัดตากเป็นผู้อนุญาตให้ขนย้ายกาก เมื่อพิจารณาจากเส้นทางการขนย้ายกากต้องผ่านหลายจังหวัด เเละเมื่อมาถึงจังหวัดสมุทร อุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาครทราบเรื่องดังกล่าวเมื่อไหร่ นอกจากนี้กากยังถูกขนย้ายไปยังจังหวัดชลบุรีเเละจังหวัดอื่น สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของการกำกับดูเเลซึ่งในกระบวนการต้องใช้ความเชี่ยวชาญ เเละเทคโนโลยีที่รัดกุม