ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 11 ไทยมีฝนตกหนัก เรือเล็กงดออกจากฝั่ง

24 พ.ค. 2567 | 09:41 น.
อัพเดตล่าสุด :24 พ.ค. 2567 | 11:36 น.

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนฉบับที่ 11 ไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมาก เช็คพื้นที่เสี่ยงที่นี่ ส่วนภาคใต้คลื่นลมแรง เรือเล็กทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง วันที่ 24–26 พ.ค. 67

วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 17.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฯฉบับที่ 11  เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน โดยมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคกลาง และอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง 

 

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

 

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 มีดังนี้

  • ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และตาก
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น และนครราชสีมา
  • ภาคกลาง:จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี  ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
  • ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
  • ภาคใต้:จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง  
     

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1–2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร สำหรับอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1–2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

 

ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงวันที่ 24–26 พ.ค. 67

 

อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันแล้ว โดยเมื่อเวลา 13.00 น. มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 15.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 88.5 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศเหนือค่อนตะวันออกด้วยความเร็วประมาณ 11 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้มีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนในระยะต่อไป และคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียและประเทศ บังคลาเทศ ในช่วงวันที่ 26–27 พ.ค. 67

 

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 05.00 น.
 

กรมอุตุฯเตือนฝนตกหนักถึงหนักมาก และคลื่นลมแรง

อนึ่งกรมอุตุนิยมวิทยา ได้พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย ตั้งแต่เวลา 18:00 น. วันนี้ ถึง 18:00 น. วันพรุ่งนี้ โดยสามารถตรวจสอบสภาพอากาศทั่วไทยได้ดังต่อไปนี้ 

ภาคเหนือ

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
  • บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ 
  • สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และตาก
  • อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส 
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง 
  • บริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร 
  • นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น และนครราชสีมา 
  • อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส 
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
  • บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม 
  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส 
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
  • บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด 
  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส 
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15–35 กม./ชม. 
  • ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
  • บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร 
  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 
  • ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร, ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร 
  • และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดระนอง
  • อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส
  • ตั้งแต่จังหวัดระนองขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.
  • ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
  • ตั้งแต่จังหวัดพังงาลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. 
  • ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง 
  • อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส 
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. 
     

พื้นที่เสี่ยงภัย ฝนตกหนักถึงหนักมาก