ทวงสัญญา "เศรษฐา" คุมบุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย หวั่นพรรคเพื่อไทยไม่รักษาคำพูด

20 ก.ค. 2567 | 04:49 น.
อัปเดตล่าสุด :20 ก.ค. 2567 | 04:50 น.

ทวงสัญญา "เศรษฐา" คุมบุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย หวั่นพรรคเพื่อไทยไม่รักษาคำพูด หลังนายกฯโพสต์ข้อความอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า ทำให้ชาวเน็ตขุดประเด็นที่เคยใช้หาเสียงว่าจะสนับสนุนให้ถูกกฎหมายออกมาตอบโต้

ขณะนี้โลกโซเชียลได้มีการถกเถียงกันอย่างมากภายหลังจากที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้โพสต์เกี่ยวกับโทษและอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าลงในแพลตฟอร์ม X (@Thavisin) และเฟซบุ๊กเพจ เศรษฐา ทวีสิน - Srettha Thavisin เกี่ยวกับประเด็นบุหรี่ไฟฟ้า โดยระบุว่า 

เช้านี้เจอหลายคอลัมน์ที่เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า หลายคนมองว่าการเลือกสูบบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิทธิในร่างกาย แต่เราก็ควรเข้าใจถึงโทษต่อตัวเอง และโทษต่อคนรอบข้างด้วย น้ำมันและสารพิษในบุหรี่ไฟฟ้ามีมากกว่า 7,000 ชนิด เป็นต้น

เหตุของโรคปอดอักเสบชนิดใหม่ ชื่อ โรคอีวาลี่ หรือ โรคปอด "บาดเจ็บ" จากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า เดือนธันวาคม ปี 2562 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) พบว่าทั่วโลก มีผู้ป่วยปอดอักเสบจากบุหรี่ไฟฟ้า 2,291 ราย เสียชีวิตแล้ว 48 ราย มีอายุเฉลี่ยที่เสียชีวิต 24-35 ปี ไม่นับโทษต่อคนรอบตัว 

ปอดคนเราพัฒนาเต็มที่อายุ 20-25 ปี ซึ่งเป็นวัยทำงานของประเทศ ส่วนคนไม่สูบก็ได้รับผลกระทบจากไอบุหรี่ไฟฟ้าไปถึง 5 ต่อทีเดียว

ทวงสัญญา "เศรษฐา" คุมบุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย หวั่นพรรคเพื่อไทยไม่รักษาคำพูด

จากโพสดังกล่าวทำให้ชาวเน็ตจำนวนมากออกมาให้ความเห็น เช่น ควรทำให้ถูกกฎหมายมากกว่าจะได้ควบคุมสารต่าง ๆ ที่อยู่ในน้ำยาได้ ถ้าควบคุมในน้ำยาจริงๆ มีสารแค่ไม่กี่ชนิด สามารถควบคุมนิโคตินก็ได้

,ผู้นำประเทศห่วงใยปอดประชาชน แต่โรงงานยาสูบยังเปิดอยู่จนถึงปัจจุบัน ,และบุหรี่ยาสูบก็อันตรายและเหม็น นายกควรควบคุมสถานที่สูบ อายุผู้สูบ แทนการแบน ฯลฯ 

นอกจากนี้ ยังมีข้อความอีกมากที่ทวงสัญญาสนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้า ที่นายเศรษฐาเคยให้สัมภาษณ์ไว้ในช่วงหาเสียงของพรรคเพื่อไทย พร้อมชี้นายกฯควรเร่งออกกฎหมายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ใช่เพียงแจ้งข้อมูลให้ประชาชนทราบ

ซึ่งข้อความดังกล่าวในเฟซบ๊กมียอดแชร์กว่า 111 ครั้ง ยอดการกดแสดงรีแอคชั่นกว่า 1,800 ครั้ง และมีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นกว่า 400 ครั้ง ขณะที่ข้อความที่ถูกโพสต์ในช่องทาง X มียอดเข้าชมกว่า 77,000 ครั้ง และมียอดแชร์ถึง 375 ครั้ง 

โดยมีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นมากกว่า 130 ครั้ง ซึ่งความเห็นส่วนใหญ่บน X ตั้งคำถามถึงหน้าที่ของรัฐบาลในการจัดการและบังคับใช้มาตรการเพื่อควบคุมปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรม เช่น ทำให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกฎหมาย เพื่อป้องกันการเข้าถึงของเด็กและเยาวชน เก็บภาษีสรรพสามิต และจำกัดพื้นที่การใช้งาน 

ทั้งนี้ ในปัจจุบัน คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณากฎหมายการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าในไทยกำลังดำเนินการเข้าสู่ช่วงสุดท้าย คือการโหวตเลือกแนวทางการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า อ้างอิงจาก 3 แนวทางที่เสนอแนะโดยอนุกรรมาธิการ จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมนายกรัฐมนตรีออกมาเคลื่อนไหว มีใครอยู่เบื้องหลังต้องการชี้นำผลการออกเสียงของคณะกรรมาธิการหรือไม่