"นักวิจัยพัฒนาการเลี้ยงกุ้ง" คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2567

15 ส.ค. 2567 | 06:24 น.
อัพเดตล่าสุด :15 ส.ค. 2567 | 14:34 น.

"นักวิจัยด้านชีวเคมีและเทคโนโลยีชีวภาพ" จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สวทช. คว้ารางวัล "นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นปี 2567" ด้วยผลงานที่เปลี่ยนแปลงการเลี้ยงกุ้งทะเล ทั้งการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันและการควบคุมโรค เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจการเลี้ยงกุ้งไทยสู่ความยั่งยืน"

วันที่ 15 ส.ค.67 มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวผู้ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ประจำปี 2567 ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 43

\"นักวิจัยพัฒนาการเลี้ยงกุ้ง\" คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2567

ภายในงานได้รับเกียรติจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธีและมอบโล่รางวัล ร่วมด้วย ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี, ศาสตราจารย์ ดร. จำรัส ลิ้มตระกูล ประธานคณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและผู้ที่ได้รับรางวัล เข้าร่วมงานแถลงข่าว ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ

ศาสตราจารย์ ดร. จำรัส ลิ้มตระกูล ประธานคณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น กล่าวว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องสนับสนุนนักวิจัยและผู้นำกลุ่มนักวิจัยให้พัฒนางานในระดับ 

\"นักวิจัยพัฒนาการเลี้ยงกุ้ง\" คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2567

“วิจัยขั้นแนวหน้า” อันจะนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม สามารถช่วยผลักดันประเทศไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งหากจะเปรียบเทียบประเทศไทยกับเกาหลีใต้ จะพบว่า ในปี 2513 นั้น ทั้งสองประเทศ มี GDP ต่อหัวในระดับเดียวกันคือ 260 และ 269 เหรียญสหรัฐ แต่ในช่วง 30 ปีถัดมา คือปี 2543 ประเทศเกาหลีใต้มี GDP ต่อหัวสูงจากเดิม 44 เท่า

และประมาณการว่าในปี 2567 จะก้าวกระโดดมากกว่า 130 เท่า คือสูงถึง 34,165 เหรียญสหรัฐ ปัจจุบันประเทศเกาหลีใต้ลงทุนในการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากที่สุดในโลก คือมากกว่า 5% ของ GDP การที่ภาครัฐและเอกชนเกาหลีใต้ให้ความสำคัญกับนวัตกรรม

\"นักวิจัยพัฒนาการเลี้ยงกุ้ง\" คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2567

ส่งผลให้นักวิจัยของของประเทศได้รับสิทธิบัตรสูงถึง 10% ในปี 2564 จากจำนวน 1.6 ล้านสิทธิบัตรทั้งหมดของโลก ซึ่งอยู่ในอันดับ 4 รองจากประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และ ญี่ปุ่นเท่านั้น และมีปริมาณเกือบ 10 เท่าของสหราชอาณาจักร 

สำหรับประเทศไทย การวิจัยและพัฒนาในลักษณะ “งานวิจัยขั้นแนวหน้า” (Frontier Research) ที่ครอบคลุมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (Energy and Environment) วัสดุขั้นสูง (Advanced Materials) เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) และเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology)

\"นักวิจัยพัฒนาการเลี้ยงกุ้ง\" คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2567

รวมทั้งการส่งเสริมความเป็นเลิศในสาขาวิจัยที่สร้างศักยภาพให้กับประเทศ จะนำไปสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศและสอดรับกับทิศทางของโลก รวมทั้งการเลือกพัฒนาอุตสาหกรรมให้ถูกต้องในช่วงเวลาที่เหมาะสม 

จึงเป็นส่วนผสมสำคัญที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของไทยในเวทีโลก และช่วยปลดล็อกให้ประเทศไทยหลุดจากสภาวะ “กับดักรายได้ปานกลาง” ได้”

\"นักวิจัยพัฒนาการเลี้ยงกุ้ง\" คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2567

สำหรับในปีนี้ ผู้ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2567 ได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และเงินรางวัล 400,000 บาท ได้แก่

1. ศาสตราจารย์ ดร. อัญชลี ทัศนาขจร ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “ผู้ค้นพบและระบุหน้าที่สำคัญของยีนและโปรตีนในระบบภูมิคุ้มกันของกุ้ง เพื่อการพัฒนาการเลี้ยงกุ้งสุขภาพดีและต้านทานโรค”

มีผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาระบบภูมิคุ้มกันของกุ้งทะเล โดยใช้เทคนิคด้านชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุล เพื่อระบุยีนและหน้าที่ของโปรตีนภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองต่อการติดเชื้อ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาการเลี้ยงกุ้งสุขภาพดีและต้านทานโรค ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดจากโรคระบาด

\"นักวิจัยพัฒนาการเลี้ยงกุ้ง\" คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2567

ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร. อัญชลี เป็นที่รู้จักในวงวิชาการระดับชาติและนานาชาติอย่างกว้างขวางในฐานะนักชีวเคมี ด้านการเกษตร จากฐานข้อมูล Web of Science มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติมากกว่า 183 เรื่อง ได้รับการอ้างอิงจำนวน 8,029 ครั้ง โดยมีค่า h-index เท่ากับ 50 และติดอันดับ World’s Top 2% Scientists ปี 2023 

2. ดร. กัลยาณ์ ศรีธัญญลักษณา-แดงติ๊บ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) “ผู้คิดค้นการควบคุมและแก้ไขปัญหาโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำในกุ้งทะเล” มีความเชี่ยวชาญในงานวิจัยเพื่อศึกษาสาเหตุของโรค คุณสมบัติและการแพร่กระจายของเชื้อก่อโรค และการตอบสนองของกุ้งต่อเชื้อก่อโรค

อาทิ โรคกุ้งตายด่วน (EMS) ที่ทำให้ลูกกุ้งและกุ้งวัยอ่อนมีอาการตับวายเฉียบพลัน, โรคเชื้อรา EHP ที่ทำให้กุ้งโตช้าและเจริญเติบโตไม่เท่ากัน, ไวรัสตัวแดงดวงขาวที่ทำให้กุ้งในบ่อเลี้ยงตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งผลงานวิจัยเหล่านี้ได้ถูกนำไปใช้ในการประเมินแก้ไขปัญหาให้เหมาะสมกับการบริหารจัดการการเลี้ยง

\"นักวิจัยพัฒนาการเลี้ยงกุ้ง\" คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2567

การพัฒนาสายพันธุ์กุ้งปลอดเชื้อและทนโรคติดเชื้อไวรัส ก่อให้เกิดแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการประเมินผลกระทบของผลงานวิจัยของ ดร. กัลยาณ์และคณะตั้งแต่ปี 2562-ปัจจุบัน มีมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านบาท 

ทั้งนี้ ผู้ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี พ.ศ.2567 ได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และเงินรางวัล 100,000 บาท ได้แก่

1. รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรวิทย์ วิไลประสิทธิ์พร สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) “ผู้คิดค้นและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์สำหรับการประมวลผลสัญญาณไฟฟ้าซึ่งวัดได้จากร่างกายมนุษย์ เพื่อการประยุกต์ใช้ทางสุขภาพ และการแพทย์” 

2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิทธิพล จีระพันธ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (เคมี) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ “ผู้คิดค้นและพัฒนาการประยุกต์ใช้งานเคมีไฟฟ้า เซลล์เชื้อเพลิงไฟฟ้าเคมีชีวภาพ และวัสดุขั้นสูง”