กรมอุตุนิยมวิทยาอัปเดตสถานการณ์พายุเวลา 04.00 น. (26/10/67) พายุโซนร้อนกำลังแรง "จ่ามี(TRAMI)" บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตกเข้าใกล้ทางตอนใต้ของเกาะไหลหลำ ประเทศจีน และพายุนี้จะเข้าเคลื่อนเข้าสู่ชายฝั่งทางด้านตอนกลาง(ใกล้บริเวณเมืองดานัง)ของประเทศเวียดนาม พายุนี้จะไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย
เนื่องจากยังมีมวลอากาศเย็นแผ่ลงมาปกคลุมทางด้านหน้าของพายุ ในช่วง 26 - 28 ต.ค.67 อาจจะส่งผลกระทบทำให้ประเทศไทยมีเมฆเพิ่มขึ้น ฝนตกหนักบางแห่ง กับมีลมแรง โดยเฉพาะทางด้านตะวันออกของภาคอีสาน (จ.สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ ยโสธร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ) ตามแนวขอบของพายุ
ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก กทม.และปริมณฑล จะมีฝนเพิ่มขึ้นในวันที่ 27 ต.ค.67 เป็นฝนฟ้าคะนองเล็กน้อยถึงปานกลาง จากอิทธิพลของลมที่ตะวันตก ตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมที่มีกำลังแรงขึ้น สำหรับภาคใต้ยังต้องเฝ้าระวังฝนตกหนักโดยเฉพาะด้านฝั่งอันดามันด้านรับลม
ในช่วงที่พายุเคลื่อนเข้ามาใกล้ชายฝั่งเวียดนาม ก่อนที่อากาศทั่วไทยจะเริ่มเย็นลง ช่วงวันที่ 30 ต.ค.67 เป็นต้นไป แต่ยังมีฝนปนอากาศเย็น หลังจากนั้นพายุจะเคลื่อนตัววกกลับไปในทะเลจีนใต้ จากแรงดึงดูดของพายุโซนร้อน "กองเร็ย" ที่เคลื่อนตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกและมวลอากาศเย็นที่แผ่ลงมา ก่อนที่จะอ่อนกำลังลง ซึ่งยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
อนึ่งกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง พายุ “จ่ามี” ฉบับที่ 7 เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (26 ต.ค. 2567) พายุโซนร้อนกำลังแรง “จ่ามี” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 400 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะไหหลำประเทศจีน มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 17.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 113.9 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 92 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 26–28 ต.ค. 67 โดยพายุนี้จะไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย แต่จะทำให้มีลมฝ่ายตะวันตก ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดเข้าหาศูนย์กลางของพายุมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีแนวพัดสอบของลมตะวันตกเฉียงเหนือจากทะเลอันดามันและลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก กับมีลมแรงในช่วงวันดังกล่าว หลังจากนั้นพายุจะเปลี่ยนทิศทางเคลื่อนตัวออกห่างจากชายฝั่งประเทศเวียดนามกลับไปทางทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง
ลมตะวันตกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ในช่วงวันที่ 26–29 ต.ค. 67 ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย
ในวันที่ 26 ตุลาคม 2567
ในวันที่ 27 ตุลาคม 2567
ในวันที่ 28–29 ตุลาคม 2567
สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง