เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ กฎ ก.พ. ว่าด้วยการย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งประเภทบริหาร ในหรือต่างกระทรวงหรือกรม พ.ศ. ๒๕๖๗
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๙ (๕) และมาตรา ๖๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.นี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดเก้าสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในกฎ ก.พ. นี้
“การย้าย” หมายความว่า การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารตําแหน่งหนึ่งให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารตําแหน่งอื่นในกรมเดียวกัน หรือการแต่งตั้ง ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดํารงตําแหน่งประเภทอื่นให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารในกรมเดียวกัน
“การโอน” หมายความว่า การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารตําแหน่งหนึ่ง ให้ไปดํารงตําแหน่งประเภทบริหารตําแหน่งอื่นต่างกระทรวง หรือ กรม หรือ การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดํารงตําแหน่งประเภทอื่นให้ไปดํารงตําแหน่งประเภทบริหารต่างกระทรวง หรือ กรม
“การเลื่อน” หมายความว่า การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดํารงตําแหน่งประเภท บริหารระดับต้นให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
หมวด ๑ บททั่วไป
ข้อ ๓ การย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไปแต่งตั้ง ให้ดํารงตําแหน่งใด ให้พิจารณาโดยคํานึงถึงศักยภาพ ผลสัมฤทธิ์ของงาน สมรรถนะ ประวัติการรับราชการ ความรู้ ความสามารถและความเชี่ยวชาญ รวมทั้งพฤติกรรมทางจริยธรรมและความประพฤติ ตลอดจนประโยชน์ของทางราชการ
ข้อ ๔. การย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญตามกฎ ก.พ. นี้ จะกระทําได้ต่อเมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติ เฉพาะสําหรับตําแหน่งตามที่กําหนดไว้ ในมาตรฐานกําหนดตําแหน่งสําหรับตําแหน่งที่จะแต่งตั้งนั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่ ก.พ.อนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งเนื่องจากมีเหตุผลและความจําเป็นตามมาตรา ๖๒ วรรคสอง
นอกจากการพิจารณาตามคุณสมบัติที่กําหนดตามวรรคหนึ่งแล้ว ในกรณีที่มีเหตุผลความจําเป็น และเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ก.พ. อาจกําหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมสําหรับข้าราชการพลเรือนสามัญ ที่จะเข้ารับการพิจารณาย้าย โอน หรือเลื่อนเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารก็ได้
ในการดําาเนินการตามวรรคหนึ่ง กรณีที่มีเหตุผลความจําเป็นและเพื่อประโยชน์ของทางราชการ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม ปฏิบัติหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง แล้วแต่กรณี โดยความเห็นชอบ จาก ก.พ. อาจเลือกตําแหน่งบางประเภท หรือบางระดับตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง ประเภทบริหาร หรือกําหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาเพิ่มเติมสําหรับใช้ในการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารเฉพาะกรณีนั้น
ข้อ ๕ การย้าย หรือ การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญนอกจากต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ที่กําหนดในกฎ ก.พ. นี้แล้ว ในกรณีดังต่อไปนี้ จะต้องได้รับความยินยอมจากข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นด้วย
(๑) การย้ายหรือการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่ต่ํากว่าเดิม ได้แก่ การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูงให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับต้น
(๒) การย้ายหรือการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร ตามข้อ ๑๑ (๑) และข้อ ๑๖ (๒)
(๓) การย้ายหรือการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ซึ่งไม่เคยดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ในสายงานบริหารมาก่อน ไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ในสายงานบริหาร
(๔) การย้ายหรือการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญในกรณีอื่น ตามที่ ก.พ. กําหนด
ข้อ ๖ การย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกย้ายหรือโอน ตามข้อ ๕ ไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในประเภท สายงาน และระดับเดียวกับที่ผู้นั้นเคยดํารงอยู่เดิม ก่อนมีการย้ายหรือการโอนดังกล่าว ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอํานาจสั่งบรรจุ
ข้อ ๗ เพื่อประโยชน์ในการย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้ง ให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ให้จัดแบ่งตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เป็น ๔ กลุ่ม ดังต่อไปนี้
(๑) กลุ่มที่ ๑ ได้แก่ ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อ นายกรัฐมนตรี หรือต่อรัฐมนตรี และตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนดเป็นตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ทั้งนี้ เฉพาะตําแหน่งที่ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตราเดียวกันกับตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะ เป็นกระทรวงตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจําตําแหน่ง
(๒) กลุ่มที่ ๒ ได้แก่ ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือ รับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี และตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนด เป็นตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ทั้งนี้ เฉพาะตําแหน่งที่ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตราเดียวกัน กับตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจําตําแหน่ง
(๓) กลุ่มที่ ๓ ได้แก่ ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมซึ่งมิใช่หัวหน้า ส่วนราชการตาม (๑) หรือ (๒) ที่ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตราเดียวกันกับตําแหน่งหัวหน้า ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจําตําแหน่ง