ในหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน ประจำปี 2565

18 ต.ค. 2565 | 07:00 น.
อัปเดตล่าสุด :18 ต.ค. 2565 | 14:16 น.

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2565 ทอดถวาย ณ วัดสังเวชวิศยาราม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 3 พฤศจิกายน 2565

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน ประจำปี 2565

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน ตามที่ กระทรวงกลาโหม ขอพระราชทานไปทอดถวายยังที่ชุมนุมสงฆ์ ณ วัดสังเวชวิศยาราม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ในวันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2565 เวลา 14.00 น.

 

กระทรวงกลาโหม ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนร่วมทำบุญผ่านบัญชี ชื่อบัญชี การถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน กห. ประจำปี 2565 ธนาคารทหารไทยธนชาต เลขที่บัญชี : 039-2-83484-2

ในหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน ประจำปี 2565

ประวัติวัดสังเวชวิศยารามวรวิหาร

เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สังกัดมหานิกาย เป็นวัดโบราณ เดิมเรียกว่า วัดสามจีน ตามตำนานเล่าว่า ชาวจีน 3 คน ร่วมกันสร้างวัด ต่อมาได้เรียกชื่อตามตำบลที่ตั้งว่า วัดบางลำพู มีปริศนาลายแทงขุมทรัพย์ว่า ตำบลวัดสามจีน มีหินสามก้อน ที่นอนสามอัน มีต้นโศกเอนที่เจ้าเณรนั่งฉัน

 

ในสมัยรัชกาลที่ 1 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดบางลำพูพระราชทานแก่นักชี ยายพระองค์เจ้าขัตติยา ต่อมารัชกาลที่ 3 โปรดให้บูรณะวัดใหม่ ได้ย้ายพระอุโบสถไปสร้างในสถานที่ตั้งปัจจุบัน สมัยรัชกาลที่ 4 โปรดให้นายสุดปลัดกรมช่างหล่อ บูรณะพระประธานในพระอุโบสถแล้วพระราชทานนามวัดว่า วัดสังเวชวิศยาราม

 

ปีพุทธศักราช 2412 วัดสังเวชวิศยารามประสบอัคคีภัย อาคารเสนาสนะถูกเพลิงไหม้เสียหายเหลือเพียงพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอระฆังล่าง หอไตรคณะล่าง ศาลาหน้าพระวิหารที่เป็นโรงเรียนปัจจุบัน ตัวพระวิหารถูกเพลิงไหม้เพียงหลังคา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาทรงบัญชาการดับเพลิงที่สะพานข้ามคลองบางลำพู (สะพานฮงอุทิศ) และโปรดให้รื้อพระเมรุที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปสร้างเป็นกุฏิเสนาสนะในวัดสังเวชวิศยารามแทนของเดิมที่ถูกเพลิงไหม้ แล้วโปรดให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนภูวนัยนฤเบนทราภิบาล ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ อาคารเสนาสนะในพระอารามให้บริบูรณ์ดังเดิม

 

ที่มา ธรรมะไทย