วันนี้(13 ส.ค.63) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) พล.ต.อ.ศตวรรษ หิรัญบูรณะ ที่ปรึกษาพิเศษผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ร่วมด้วย พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผู้ช่วยผบ.ตร. และคณะทำงานตรวจสอบคดีนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ “บอส อยู่วิทยา” แถลงผลการตรวจสอบข้อเท็จ พร้อมกับเปิดเผยไทม์ไลน์ขั้นตอนการทำงานของพนักงานสอบสวน จนถึงส่งสำนวนให้อัยการสูงสุด จนถึงการไม่สั่งแย้งคดี
พล.ต.ท.จารุวัฒน์ กล่าวว่า ผลการตรวจสอบของ พล.ต.ท.เพิ่มพูน ชิดชอบ ผู้ช่วยผบ.ตร. ไม่พบความบกพร่องจากการสั่งไม่แย้ง เนื่องจากการพิจารณาจะต้องพิจารณาตามข้อมูลและหลักฐานภายในสำนวนตามที่อัยการส่งมาเท่านั้น ไม่สามารถนำหลักฐานใหม่มาพิจารณาได้
ส่วนพนักงานสอบสวน ที่ทำคดีในสมัยนั้น จะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนวินัย ตำรวจ 11 นาย ที่เคยถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด ประพฤติมิชอบ ทุจริตและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ และมีการสั่งลงโทษทางวินัยไปแล้ว รวมถึงตำรวจชุดใหม่ อีก 3-4 นาย ที่ต้องมาตรวจสอบความผิดทางวินัยใหม่อีกครั้ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ที่แท้“พล.ต.ท.เพิ่มพูน ชิดชอบ”สั่งยุติคดี“บอส อยู่วิทยา”
“ผบ.ตร.”ตื่น ตั้งก.ก.สอบคดี“บอส อยู่วิทยา”แล้ว
"หมอแท้จริง"ตีแผ่ ผลตรวจ "บอส อยู่วิทยา" พบโคเคนในร่างกาย
ส่อง10บริษัท ที่ "บอส อยู่วิทยา" ถือหุ้น มีรายได้เท่าไร เช็กได้ที่นี่
เผย 7 รายชื่อคณะทำงานสอบคำสั่งไม่ฟ้อง "บอส อยู่วิทยา"
โดยข้อบกพร่องของผู้เกี่ยวข้องกับการสอบสวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติม คือ
1.ไม่ดำเนินการตรวจสอบปัสสาวะ เพื่อตรวจสารเสพติดเมื่อได้ตัวผู้ต้องหา
2.ไม่เก็บหลักฐานคำให้การสอบสวนพยานเพิ่มเติมไว้ตามระเบียบ
3.ผู้ออกรายงานให้การไม่ตรงกับรายงาน
4.พนักงานสอบสวนไม่ออกหมายจับตามคำสั่งพนักงานอัยการ ส่วนข้อบกพร่องของผู้เกี่ยวข้องที่ถูกแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดี วันที่ 25 เมษายน 2559 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังสำนักงานป.ป.ช.ดำเนินการตามกฎหมาย วันที่ 17 ธันวาคม 2562 ป.ป.ช.มีมติให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณาโทษทางวินัย วันที่ 31 มีนาคม 2563 สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีคำสั่งลงโทษทางวินัย
สำหรับข้อบกพร่องของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนคดีจราจรที่ 632/2555 ของสน.ทองหล่อ ตามคำสั่งตร.ที่ 228/2559 ลง 22 เมษายน 2559 คือ
1.ไม่ได้ทำการสอบสวนเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้ทำการตรวจค้นบ้านผู้ต้องหาในวันเกิดเหตุประกอบสำนวนการสอบสวน
2.ไม่ได้ทำการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์และไม่ได้รวบรวมพยานหลักฐานในทันทีเป็นเหตุให้ขาดพยานหลักฐานในการฟ้อง
3.ไม่ได้สอบสวนปากคำ นำตัวผู้ต้องหามามอบตัวประกอบสำนวน เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงว่าผู้ต้องหาไปที่ไหนอย่างไร เพื่อสอบสวนขยายผลและอาจจะใช้เป็นพยานหลักฐานยืนยันในเรื่องความเมา และข้อเท็จแห่งคดี
4.การทำสัญญาประกันปล่อยตัวชั่วคราวบกพร่อง ผู้ต้องหาได้เข้ามอบตัวเอง จึงไม่ใช่ผู้ถูกจับกุมและไม่มีหมายจับ ตามป.วิ.อาญา มาตรา 134 วรรคท้าย พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจให้ประกันตัว ซึ่งจะต้องส่งตัวผู้ต้องหาไปที่ศาล เพื่อขอหมายขังทันที
5.การใช้ดุลพินิจของคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน ที่มีความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาในความผิดฐานขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
6.ผลการตรวจวิเคราะห์สารเสพติดที่เป็นสารเกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงในร่างกายจากการเสพโคเคน (ยาเสพติดประเภท 2) และคำให้การของแพทย์ผู้ตรวจพิสูจน์ยืนยันว่าพบสารที่เกิดจากการเสพโคเคนในร่างกายผู้ต้องหาไม่นำเข้าพิจารณาในการทำความเห็นในข้อหาขับรถโดยประมาทฯ และไม่มีการพิจารณาในเรื่องข้อหาเสพยาเสพติด
7.พนักงานสืบสวนสอบสวนตามคำสั่ง บก.น. 5 ที่ 183/55 ลง 4 ก.ย. 55 ไม่กำกับดูแลให้มีการปล่อยตัวชั่วคราว ไม่เป็นไปตามป.วิ.อาญามาตรา 134 วรรคท้าย
8.คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนตามคำสั่ง บก.น. 5 ที่ 183/55 ลง 4 ก.ย. 55 ไม่ขอขยายเวลาการสอบสวนตามคำสั่งตร. ที่ 960/37 ลง 10 ส.ค. 37 เมื่อได้ทำการสอบสวนครบกำหนดระยะเวลา
9.คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนตามคำสั่ง บก.น. 5 ที่ 183/55 ลง 4 ก.ย. 55 มีหลักฐานการรับสำนวนของพนักงานอัยการ แต่ไม่รายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น และไม่ส่งตัวผู้ต้องหาไปขอให้ศาลออกหมายขังเมื่อการสอบสวนครบกำหนดเวลา 6 เดือนตามป.วิ.อาญามาตรา 113 วรรคสอง
10.ผกก.สน.ทองหล่อ ในฐานะหัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวน ไม่ได้กำกับดูแลการสอบสวนโดยใกล้ชิดทั้งที่เป็นคดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชน
พล.ต.ท.จารุวัฒน์ กล่าวว่า การทำงานครั้งนี้จะไม่เป็นการฟอกขาว แต่จะตรวจสอบไปตามข้อเท็จจริงตามความบกพร่องที่พบโดยไม่สนในตำแหน่งใด
ทั้งนี้ทาง พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร.ได้สั่งให้ดำเนินคดีกับ นายบอส ในกรณีสารเสพติด และ คดีขับรถเร็ว ซึ่งจะมีการทำคดีตามขั้นตอน