วุ่นอีก สภาฯเจอแรงงานเข้าพื้นที่ก่อสร้าง ฝ่าฝืนคำสั่งฉบับ 25

30 มิ.ย. 2564 | 03:16 น.
อัปเดตล่าสุด :30 มิ.ย. 2564 | 03:35 น.

สภาฯฝืนก่อสร้าง ขณะรัฐสั่งชะลอ 1 เดือน ด้าน “สิระ”ชี้ลุยจุด ตั้งข้อสังเกต ฝ่าฝืนกฎหมายในพื้นที่ฝ่ายนิติบัญญัติหรือไม่

วันที่ 30 มิ.ย. 64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎร บริเวณด้านนอกอาคารรัฐสภา ณ ศาลาริมน้ำ ใกล้จุดรับหนังสือด้านหน้า ผู้สื่อข่าวพบการเคลื่อนย้ายแรงงานมายังอาคารรัฐสภา ตรงบริเวณก่อสร้างจำนวนหลายสิบคน โดยยังคงดำเนินงานถึงขั้นตั้งนั่งร้านทาสี เจียไม้ทำพื้นอาคาร ภายใต้ข้อกำหนดฉบับที่ 25 ในการสกัดกั้นการระบาดโควิด-19 โดยเฉพาะข้อ 2 ที่กำหนดควบคุมการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้าง เขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 

ทั้งนี้ เนื่องจากรายงานก่อสร้างเป็นกลุ่มเสี่ยงที่พบการระบาดเป็นกลุ่มก้อน จึงให้ผู้ว่าฯ กทม. ใช้อำนาจตามกฎหมายโรคติดต่อ พิจารณาคำสั่งปิดสถานที่ก่อสร้าง หรือพื้นที่ดำเนินการก่อสร้าง หรือพื้นที่ก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ อาคารสาธารณะ ดัดแปลงหรือรื้อถอนอาคาร รวมทั้งมีคำสั่งให้หยุดงานก่อสร้าง และห้ามเดินทางเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นการชั่วคราวอย่างน้อย 30 วัน

ขณะที่ นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กรุงเทพ พรรคพลังประชารัฐ ได้นำสื่อมวลชน มาชี้จุดก่อสร้างดังกล่าว และได้พูดคุยกับแรงงานว่าเหตุใดจึงมาก่อสร้าง ฝ่าฝืนคำสั่งของรัฐ ที่ห้าม 1 เดือน และรัฐก็ออกมาตรการเยียวยาแล้วด้วย ซึ่งตนจะไปถามประธานสภา ว่าเหตุใดยังมีการก่อสร้างอยู่ เช่นนี้ถือว่าผิดกฎหมายหรือไม่ ในสภาที่ถือเป็นสถานที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ และได้ให้ยกเลิกทันที จนเป็นเหตุให้แรงงานกลุ่มดังกล่าว หยุดทำงานและออกจากพื้นที่

อย่างไรก็ตาม คนงานบางส่วน ยอมรับว่าไม่ได้เงินเยียวยา และไม่รู้เรื่อง ที่มาทำงานเพราะผู้ว่าจ้างโทรมาสั่งให้ดำเนินการต่อ

ทั้งนี้ เนื่องจากรายงานก่อสร้างเป็นกลุ่มเสี่ยงที่พบการระบาดเป็นกลุ่มก้อน จึงให้ผู้ว่าฯ กทม. ใช้อำนาจตามกฎหมายโรคติดต่อ พิจารณาคำสั่งปิดสถานที่ก่อสร้าง หรือพื้นที่ดำเนินการก่อสร้าง หรือพื้นที่ก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ อาคารสาธารณะ ดัดแปลงหรือรื้อถอนอาคาร รวมทั้งมีคำสั่งให้หยุดงานก่อสร้าง และห้ามเดินทางเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นการชั่วคราวอย่างน้อย 30 วัน

ขณะที่ นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กรุงเทพ พรรคพลังประชารัฐ ได้นำสื่อมวลชน มาชี้จุดก่อสร้างดังกล่าว และได้พูดคุยกับแรงงานว่าเหตุใดจึงมาก่อสร้าง ฝ่าฝืนคำสั่งของรัฐ ที่ห้าม 1 เดือน และรัฐก็ออกมาตรการเยียวยาแล้วด้วย ซึ่งตนจะไปถามประธานสภา ว่าเหตุใดยังมีการก่อสร้างอยู่ เช่นนี้ถือว่าผิดกฎหมายหรือไม่ ในสภาที่ถือเป็นสถานที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ และได้ให้ยกเลิกทันที จนเป็นเหตุให้แรงงานกลุ่มดังกล่าว หยุดทำงานและออกจากพื้นที่

อย่างไรก็ตาม คนงานบางส่วน ยอมรับว่าไม่ได้เงินเยียวยา และไม่รู้เรื่อง ที่มาทำงานเพราะผู้ว่าจ้างโทรมาสั่งให้ดำเนินการต่อ

จากนั้น นายสิระ ยังทักท้วงถึงมาตรการคัดกรองเข้าอาคารรัฐสภา ว่าหละหลวม และอ้างอิงร้านอาหารในสภาติดโควิด แต่ไม่แจ้งให้ ส.ส. รับทราบ และต้องหาข่าวกันเอง รวมถึงวาระการประชุม ที่ไม่ได้สำคัญอะไร ที่ต้องจัดประชุมท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19