ศาลปกครอง ไม่รับคำขอ พิจารณาคดีโฮปเวลล์ใหม่

06 ส.ค. 2564 | 12:14 น.
อัปเดตล่าสุด :06 ส.ค. 2564 | 19:29 น.

 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่ง วันที่13ก.ค.2564ไม่รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ กรณี กระทรวงคมนาคมที่1 และการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ที่2 ผู้ร้อง ในคดีหมายเลขดำที่ 107/2552 หมายเลขดำที่2038/2551และหมายเลขแดงที่366-368/2557ที่มี

 

ศาลปกครองกลาง มีคำสั่ง วันที่13ก.ค.2564ไม่รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ กรณี กระทรวงคมนาคมที่1 และการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ที่2 ผู้ร้อง ในคดีหมายเลขดำที่ 107/2552 หมายเลขดำที่2038/2551และหมายเลขแดงที่366-368/2557 ที่มีบริษัท โฮปเวลล์(ประเทศไทย)จำกัดเป็นคู่กรณีในคดีมหากาพย์  โฮปเวลล์หรือโครงการระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพมหานคร อีกครั้ง

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมอ้างว่าคดีดังกล่าวได้หมดอายุความไปก่อนหน้านี้ นับตั้งแต่ปี2541  แต่ในทางกลับกันศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยวันที่17 มี.ค.64ให้ กระทรวงคมนาคมและรฟท.ชดเชย ค่าเสียหาย พร้อมดอกเบี้ย 24,000ล้านบาท ให้กับ  บริษัท โฮปเวลล์ฯ แต่โดยสรุป ศาลปกครอง ไม่ให้พิจารณาคดีขึ้นใหม่และมีมติให้รวมคดีดังกล่าวที่พิจารณาแล้วเป็นคดีหลักต่อไป

 

สำหรับผู้ร้อง(กระทรวงคมนาคมและรฟท.) ระบุในข้อความว่า เมื่อวันที่12กันยายน ปี2532กระทรวงคมนาคมเสนอโครงการโฮปเวลล์3ตอนได้แก่ ช่วงกรุงเทพฯ-บางซื่อ ,ยมราช-มักกะสันและมักกะสัน/แม่น้ำ/ท่าเรือระยะทาง13กิโลเมตรและมีการลงนามในสัญญากับบริษํทโฮปเวลล์ฯ ต่อมาปี2539 รฟท.รายงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมว่างานก่อสร้างล้าช้า คืบหน้าเพียง 5.3%ของสัญญาทั้งระบบทั้งที่ควรคืบหน้า 67.76%  ชองสัญญาและปรากฎว่าบริษัทโฮปเวลล์ไม่สามารถก่อสร้างได้จนเป็นเหตุให้รฟท.บอกลิกสัญญา วันที่ 27ม.ค.41 ขณะคู่สัญญาโต้แย้ง จึงตั้ง คณะอนุญาโตตุลาการปี2547 วินิฉัยให้ บริษัทโฮปเวลล์ชดเชยค่าเสียหาย2,850ล้านบาท ดอกเบี้ย7.5%/ปีแต่เอกชนไม่เห็นด้วยจึงฟ้องศาลดังกล่าว

ย้อนรอยคดีมหากาพย์  “โฮปเวลล์"  โครงการก่อสร้างถนน ทางรถไฟ และรถไฟฟ้ายกระดับ บนพื้นที่รฟท. ดำเนินการโดยบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) ในเครือโฮปเวลล์โฮลดิงส์บริษัทสัญชาติฮ่องกงของนายกอร์ดอน วู มหาเศรษฐีชื่อดังในอดีต   เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ โดยมีการเปิดประมูลสัมปทานก่อสร้างทางยกระดับเพื่อแก้ปัญหาการจราจร

โดยผู้รับสัมปทานจะมีรายได้จากค่าโดยสารรถไฟฟ้า ค่าผ่านทาง และรายได้จากอสังหาริมทรัพย์ตลอดเส้นทาง ผลการประมูล บริษัท โฮปเวลล์โฮลดิงส์ ของนายกอร์ดอน วู เป็นผู้ชนะเหนือคู่แข่งคือ บริษัท ลาวาลิน (SNC-Lavalin) จากแคนาดา มีการลงนามในสัญญาโดยนายมนตรี พงษ์พานิช อดีต รัฐมนตรีว่าการคมนาคม จากพรรคกิจสังคม กับบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม2533 อายุสัมปทาน 30 ปี มีกำหนดตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม2534-5ธันวาคม2542

ต่อมาภายหลังรัฐประหารในประเทศไทยในปี 2534 รัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ได้เข้ามาตรวจสอบสัญญาสัมปทานทั้งหมดที่มีเงื่อนไขการผูกขาด โครงการโฮปเวลล์ เป็นโครงการหนึ่งที่ถูกตรวจสอบโดยนายนุกูล ประจวบเหมาะ รัฐมนตรีว่ากากระทรวงคมนาคมในขณะนั้น และได้ประกาศล้มโครงการโฮปเวลล์ แต่โครงการโฮปเวลล์กลับได้รับการผลักดันต่อ

ในรัฐบาลชวน หลีกภัย สมัยที่ 1 โดยพันเอกวินัย สมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แต่ยังประสบปัญหาสำคัญ 2 ประการ คือ ปัญหาเรื่องเงินทุน แหล่งเงินกู้ หลักทรัพย์ค้ำประกันสัญญา และปัญหาเรื่องแบบก่อสร้าง ระยะห่างระหว่างรางรถไฟ กับไหล่ทางมีน้อยเกินไปเพราะข้อจำกัดของพื้นที่ และไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัยสากล

ต่อมาในรัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม2540 ให้ความเห็นชอบบอกเลิกสัญญากับโฮปเวลล์ หลังจากบริษัทโฮปเวลล์หยุดการก่อสร้างอย่างสิ้นเชิง ตั้งแต่เดือน สิงหาคม2540

และโครงการการก่อสร้างโครงการโฮปเวลล์ ได้สิ้นสุดลงในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย สมัยที่ 2 หลังดำเนินการก่อสร้างเป็นเวลา 7 ปี มีความคืบหน้าเพียง 13.77 % ขณะที่แผนงานกำหนดว่าควรจะมีความคืบหน้า 89.75% กระทรวงคมนาคมได้บอกเลิกสัญญาสัมปทานอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 ม.ค.2541 โดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมในสมัยนั้น

ภายหลังจากบอกเลิกสัญญา รฟท.ถือว่าโครงสร้างทุกอย่างตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ รฟท.และได้มีความพยายามนำโครงสร้างที่สร้างเสร็จแล้วมาพัฒนาต่อ จากผลการศึกษาสรุปว่าจะนำโครงสร้างบางส่วนมาใช้ประโยชน์ในรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต

ขณะที่ บริษัท โฮปเวลล์โฮลดิ้ง ได้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในการยกเลิกสัญญาจากกระทรวงคมนาคม และ รฟท.เป็นค่าใช้จากการเข้ามาลงทุนเป็นเงิน 56,000 ล้านบาท ในขณะที่ รฟท.ก็เรียกร้องค่าเสียโอกาสในการใช้ประโยชน์จากโครงการเป็นเงินกว่า 200,000 ล้านบาท

โดยคณะอนุญาโตตุลาการ ได้วินิจฉัยชี้ขาดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ปี2551 ให้กระทรวงคมนาคมและ รฟท.คืนเงินชดเชยให้โฮปเวลล์โฮลดิงส์ เนื่องจากการบอกเลิกสัญญาไม่เป็นธรรม เป็นเงิน 11,888.75 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินค่าก่อสร้าง 9,000 ล้านบาท เงินค่าตอบแทนจากการใช้ประโยชน์ที่ดินที่บริษัทชำระไปแล้ว 2,850 ล้านบาท และเงินค่าออกหนังสือค้ำประกัน 38,749,800 บาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี และคืนหนังสือค้ำประกันมูลค่า 500 ล้านบาทให้กับบริษัท

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2563ที่ผ่านมา ศาลปกครองแถลงว่า ศาลปกครองสูงสุดได้นัดอ่านคำพิพากษาคดี บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ยื่นฟ้องกระทรวงคมนาคมกับพวกรวม 2 ราย เพื่อขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ

ศาลปกครองฯ ระบุว่า ก่อนหน้านี้ ศาลปกครองชั้นต้น หรือศาลปกครองกลางมีพิพากษาเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 119/2547 ข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 64/2551 ลงวันที่ 30 กันยายน.2551 ทั้งหมด และเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 44/2550 ข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 70/2551

ลงวันที่ 15 ตุลาคม2551 ทั้งหมด และมีคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 119/2547 ข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 64/2551 ลงวันที่ 30 กันยายน2551 และให้คืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดแก่ผู้ร้องทั้งสอง

เนื่องจากศาลได้พิเคราะห์แล้วเห็นว่า เมื่อคำนวนนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม2541 ซึ่งเป็นวันที่ผู้คัดค้านรู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการเสนอข้อพิพาทแล้ว ระยะเวลาของการเสนอข้อพิพาทจะครบกำหนด 5ปี คือ ในวันที่ 30 มกราคม 2546

ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านยื่นข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2547 การเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการจึงเกินกว่ากำหนดระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดตามนัยมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 เป็นต้น