"ทักษิณ"สอนมวยรัฐบาลถึงวิธีแก้ราคาพืชผลเกษตรตกต่ำไม่ใช่เอาแต่แจกเงิน

23 ต.ค. 2564 | 04:09 น.
อัปเดตล่าสุด :23 ต.ค. 2564 | 11:20 น.

"ทักษิณ" สอนมวยรัฐบาลถึงวิธีแก้ปัญหาราคาพืชผลผลเกษตรตกต่ำ ไม่ใช่มีปัญหากเอาแต่แจกเงิน แนะระดมเงินกู้ทุ่มฟื้นฟู ช่วยประชาชนพอกินก่อน

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หรือ โทนี วู้ดซัม ร่วมพูดคุย ผ่าน CARE talk "ปั้นข้าวเหนียวเคี่ยวความคิด:พรุ่งนี้เพื่อชีวิตคนอีสาน"  เมื่อช่วงค่ำวันที่ 22ต.ค.ที่ผ่านมา พร้อมตอบข้อซักถามนายอดิศร เพียงเกษ ตอนหนึ่งถึงปัญหาราคาสินค้าการเกษตรตกต่ำว่า ในสมัยที่ตนเป็นรัฐบาลจะใช้ยุทธศาสตร์ที่ว่า เราใช้ที่บ้านเราเท่าไหร่ เราจะต้องส่งออกเท่าไหร่ ตลาดโลกมีความต้องการเท่าไหร่ แล้วตลาดโลกมีใครบ้าง

 

เริ่มแรกเราก็ใช้วิธีขึ้นราคาในประเทศ ซึ่งเป็นการตลาดเหมือนการค้าขายทั่วไป โดยเฉพาะในส่วนของราคาข้าวที่ต้องคำนึงถึงราคาต้นทุนและกำไรเป็นราคาพื้นฐาน ก่อนไปดันราคาตลาดในต่างประเทศ ซึ่งสมัยที่ตนเป็นรัฐบาลได้มีการพูดคุยกับประเทศเวียดนาม ปากีสถาน อินเดีย เพื่อให้ได้ราคาที่ไม่ต่ำกว่าต้นทุนเช่นเดียวกับราคายางพารา 

 

“ผมเรียกว่าเป็นการฮั้วกันของประเทศที่ยากจน ต่างจากน้ำมันซึ่งเป็นการฮั้วกันของประเทศที่ร่ำรวย”

                 \"ทักษิณ\"สอนมวยรัฐบาลถึงวิธีแก้ราคาพืชผลเกษตรตกต่ำไม่ใช่เอาแต่แจกเงิน

ส่วนในเรื่องการส่งออกข้าววันนี้เราต้องยอมรับว่าเราสู้เวียดนามไม่ได้ และดูเหมือนว่าวันนี้ยังมีปัญหาเรื่องพันธุ์ข้าว

 

ฉะนั้นการแก้ปัญหาปัจจุบันทันด่วนของรัฐบาลเวลานี้จึงไม่ใช่แต่แจกเงินแล้วพอ แต่เงินที่กู้มาเป็นจำนวนมากในระยะยาวจะต้องใช้ไปในส่วนของการฟื้นฟูประเทศด้วย วันนี้เราต้องแก้ปัญหาให้เขาพอกินให้ได้ก่อนที่จะพอเพียง  การแจกเงินเพื่อซื้อเสียงเวลานี้จึงติดว่าไม่พอ

 

ดังนั้น จึงต้องมีการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การตลาดและความเข้าใจความต้องการของประชาชนขั้นพื้นฐาน

 สำหรับมันสำปะหลังในสมัยที่ตนเป็นรัฐบาล มีการพูดคุยกับจีนที่เป็นผู้ค้ารายใหญ่ก่อนขยายไปที่ยุโรป ส่วนราคาอ้อยและน้ำตาลสมัยนั้นมีการส่งเสริม แก๊สโซฮอล์จึงทำให้ราคาอ้อนมีราคาสูงขึ้น

 

ด้าน นางสาวชญาภา สินธุไพร ถามว่า การที่รัฐบาลนโยบายประกันราคาข้าวเหตุใดกลับยิ่งทำให้ราคาข้าวโดยเฉพาะข้าวเปลือกมีราคาถูก โทนี่ ตอบว่า เขาไปคิดอย่างเดียวว่าให้ชาวนามีรายได้พอแต่ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องต้นทุนในการปลูก การทำให้ราคาข้าวสูงขึ้นต้องคำนึงถึงระบบดีมานซัพพลาย  หรืออุปสงค์ปุทาน ซึ่งวันนี้ระบบดังกล่าวมีปัญหา

 

แม้วันนี้จะลดการผลิตแต่ปริมาณความต้องการในการส่งออกก็ลดน้อยลง ยิ่งไปกว่านั้นในอนาคตหลายประเทศจะมีการนำเทคโนโลยีในการปลูกข้าวมาใช้ 

 

“ฉะนั้นสิ่งที่เราจะต้องทำควบคู่กันไปคือการแปรรูป แทนที่จะส่งวัตถุดิบออกไปแต่เพียงอย่างเดียว ต้องวางยุทธศาสตร์ร่วมกันไม่ใช้ทำไปวันต่อวัน มีปัญหาก็แต่แจกเงิน” โทนี่ ระบุ