ตะลึง!ศักดิ์สยาม ซุกหุ้น“ก้าวไกล” แฉยับ ใช้นอมินีดันบริษัทรับงาน"คมนาคม"

19 ก.ค. 2565 | 11:06 น.
อัปเดตล่าสุด :20 ก.ค. 2565 | 19:22 น.

ศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ 2565 วันแรกเดือด พรรคก้าวไกล ‘ปกรณ์วุฒิ’ แฉยับ  ‘ศักดิ์สยาม’  ซุกหุ้นบริษัทของตัวเองก่อนขึ้นเป็นรัฐมนตรี อ้างแจ้งทรัพย์สินเป็นเท็จ ยืมมือลูกจ้าง  นาย เอ เป็นนอมินี กรุยทางนำบริษัทรับงานกระทรวงคมนาคมอู้ฟู้ 1000ล้าน

 

 

ศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล2565   วันแรก  ( 19 กรกฎาคม 2565 )เป็นไปอย่างดุเดือดเลือดพล่านเมื่อ นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล  สมาชิกสภาผู้แทนราฎร์ (ส.ส.)  แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล จังหวัดเชียงใหม่

 

 

ลุกขึ้นอภิปรายไม่ไว้วางใจ  นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยกล่าวว่า ศักดิ์สยาม ปกปิดทรัพย์สินของตัวเองในส่วนที่เป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น โดยใช้ลูกจ้างเป็นนอมินี และจงใจปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายเพื่อให้ตนเองมีส่วนได้รับผลประโยชน์จากโครงการต่างๆ ของรัฐ

ตะลึง!ศักดิ์สยาม ซุกหุ้น“ก้าวไกล” แฉยับ ใช้นอมินีดันบริษัทรับงาน\"คมนาคม\"

ในการอภิปราย มีการไล่เรียงลำดับเหตุการณ์ว่า  หจก.บุรีเจริญ ก่อตั้งในปี 2539 โดยมี ตระกูลชิดชอบ ถือหุ้น 80% และที่ตั้งสำนักงานก็คือบ้านของ ศักดิ์สยาม ในขณะนั้น เมื่อมีตำแหน่งทางการเมือง ก็ได้ออกจากการเป็นผู้ถือหุ้น หจก. นี้ทั้งหมด และย้ายสำนักงานไปที่อื่น พอยุค คสช. ศักดิ์สยาม ก็กลับมาเป็นผู้ถือหุ้นเกือบทั้งหมด

 

 

ของ บุรีเจริญ ในปี 2558 โดยเพิ่มทุนเป็น 120 ล้านบาทและย้ายที่ตั้งสำนักงานมาที่บ้านหลังใหม่ของตัวเองจนเมื่อปี 2561 ที่มีข่าวการเลือกตั้ง ศักดิ์สยามก็โอนหุ้นทั้งหมดไปให้ นอมินีในวันรุ่งขึ้นทันที และย้ายที่ตั้งสำนักงานบุรีเจริญออกจากบ้านของตัวเอง ก่อนรับตำแหน่งรัฐมนตรีเพียง 23 วัน

นายปกรณ์วุฒิ  ตั้งคำถามต่อว่า นี่เป็นเพียงการเปลี่ยนชื่อคนถือหุ้นให้ลูกจ้างมาเป็นนอมินี หรือมีการซื้อขายหุ้นจริง เพราะไม่พบหลักฐานว่ามีการชำระเงินค่าหุ้นเลย หากมีการซื้อขายกันจริง ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายต่ำกว่า สูงกว่าราคาทุนที่ 120 ล้านบาท ศักดิ์สยาม หรือ ผู้ถือหุ้นคนใหม่ ก็จำเป็นต้องยื่นมูลค่าหุ้นส่วนเกินเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีหรือหากซื้อขายเท่าราคาทุน ศักดิ์สยาม ก็ต้องระบุเงินที่ได้จากการขายหุ้นเป็นทรัพย์สินต่อ ปปช. แต่ก็ไม่ปรากฏเงินก้อนนี้ในบัญชีทรัพย์สินที่ยื่น ปปช. ในปี 2562

 

 

“ในปี 62 ท่านยื่นทรัพย์สินในการเข้ารับตำแหน่ง ส.ส. ว่ามีทรัพย์สินอยู่ที่ 115 ล้านบาท ไม่มีหนี้สิน มีเงินสดบวกเงินฝากอยู่ประมาณ 76 ล้านบาท ทรัพย์สินอื่นๆ เกือบทั้งหมดระบุว่าได้มาก่อนปี 61 แทบทั้งสิ้น คำถามคือ เงิน 120 ล้านบาทก้อนนี้หายไปไหนครับ” ซึ่งเป็นประโยคที่ปกรณ์วุฒิ ถามในสภาฯ

 

 

นอกจากจะซุกหุ้นแล้ว ศักดิ์สยาม ยังนำ หจก. บุรีเจริญ มาเป็นคู่สัญญากับรัฐ รับงานในกระทรวงคมนาคมที่ตัวเองเป็นรัฐมนตรี เป็นมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท โดยหลายงานก็มีความผิดปกติ คือ ราคาที่ชนะประมูลต่ำกว่าราคากลางเฉลี่ยไม่ถึง 0.3% และมีคู่เทียบเพียงรายเดียว ซึ่งเป็นบริษัทที่บริจาคเงินให้พรรคภูมิใจไทย 5 ล้านบาทในปี 2562

 

 

 

“แบบนี้เอาไปให้ใครดูเขาก็ว่าฮั้วครับ ชัดขนาดนี้ครับ เอาธุรกิจตัวเองเข้ามารับงานกระทรวงที่ตัวเองเป็นรัฐมนตรีก็ว่าผิดแล้ว ยังมีพฤติกรรมที่เป็นการฮั้วประมูลอย่างชัดเจน” ปกรณ์วุฒิ กล่าว

 

 

 

 

นายปกรณ์วุฒิ ตั้งข้อสังเกตว่า  การกระทำดังกล่าว อยู่ในข่าย นอมินี  (ถือหุ้นแทน) ผู้ถือหุ้นบริษัทร้อยล้าน แต่มีรายได้เดือนละ 9,000 บาทนอมินีคนนี้แจ้งข้อมูลรายได้น้อยมากจนน่าสงสัย ทั้งที่เขาสามารถซื้อต่อที่ดินในพื้นที่พิพาทเขากระโดง ต่อจาก บิดาของ ศักดิ์สยาม และซื้อหุ้น หจก. บุรีเจริญ ทั้งหมดมาจาก ศักดิ์สยาม ได้

 

 

จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า คนนี้เป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการในธุรกิจ 4 แห่ง แต่มีสถานะทิ้งร้างไป 3 แห่ง ส่วนอีกแห่งที่เหลือไม่มีรายได้เลยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และข้อมูลจากประกันสังคมและกรมสรรพากรในช่วงปี 2558-2563 ยังพบว่า

 

 

เขาแสดงรายได้เพียงปีละประมาณ 100,000 บาท หรือเดือนละ 9,000 บาทเท่านั้น ซึ่งเป็นเงินเดือนที่ได้รับจาก บริษัท ศิลาชัย บุรีรัมย์ (1991) ธุรกิจครอบครัวของตระกูลชิดชอบ มาตั้งแต่ปี 2558 ไล่เลี่ยกับช่วงที่ ศักดิ์สยาม เป็นกรรมการบริษัท ศิลาชัย

 

นอกจากนี้ งบดุลของบริษัทศิลาชัยในปี 2561-2562 ยังระบุว่า ลูกจ้างคนนี้กลายมาเป็นเจ้าหนี้เงินกู้ระยะยาว 221.5 ล้านบาทของบริษัท จนปี 2564 สรุปสุดท้าย บริษัทนี้เป็นหนี้ลูกจ้างอยู่ 250.2 ล้านบาท และในขณะที่บริษัทศิลาชัยจะขาดทุนและติดหนี้ก้อนโตกับคนนี้ ในปี 2562

 

บริษัทศิลาชัยยังบริจาคให้พรรคภูมิใจไทยไป 4.7 ล้าน ก็บริจาคให้พรรคไปอีก 2.77 ล้านบาท พร้อมกับให้ หจก.บุรีเจริญ ที่ตัวเองเป็นเจ้าของ บริจาคให้พรรคไป 4.8 ล้านบาท และในปี 2563-2564 ยังให้บริษัทศิลาชัย กู้เพิ่มอีก 100 กว่าล้านบาท โดยทั้งหมดเป็นการกู้เงินไม่มีสัญญา ไม่คิดดอกเบี้ยใดๆ

 

 

“ถ้าเราลองเปลี่ยนชื่อ พฤติการณ์นี้ทั้งหมดจาก นายเอ เป็น นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ และบริษัทศิลาชัยเป็นเหมือนกงสี ทุกอย่างก็ดูเรียบง่าย ตัวเลขกำไรขาดทุนก็อาจไม่สำคัญมากนัก ถึงบริษัทจะขาดทุนและเป็นหนี้อยู่เป็นร้อยล้าน แต่ก็เป็นหนี้คนในครอบครัว เอาเงินไปบริจาคให้พรรคการเมืองตัวเองก็เป็นเรื่องที่ไม่แปลกอะไร” ปกรณ์วุฒิ กล่าว