วันที่ 17 ตุลาคม 2565 น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลได้มีการผลักดันโครงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC อย่างจริงจัง ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและภาคบริการ บนฐานของเทคโนโลยีสมัยใหม่ และนวัตกรรม
ทั้งนี้ได้มีการเตรียมกำลังคนเพื่อทำงานในพื้นที่ EEC โดยสถาบันการศึกษาผลิตคน เน้นที่ศักยภาพตามความต้องการของสถานประกอบการ (Demand Driven) เพื่อให้เยาวชนและประชาชนมีงานทำ มีรายได้สูงด้วยความสามารถ ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2561
รัฐบาลโดย พล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้วางแนวทางเรื่องการพัฒนาบุคลากรให้ตรงความต้องการไว้แล้ว โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ 1. EEC Model Type A ให้สถานศึกษาจัดการศึกษาหลักสูตร ที่ได้รับปริญญา (Degree) หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.) เน้นการดำเนินการร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษาและสถานประกอบการ เพื่อให้ตรงความต้องการและได้อัตราค่าจ้างที่สูงกว่าปกติ
2. EEC Model Type B เป็นการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้น ไม่มีปริญญา (Non-Degree) เพื่อพัฒนาบุคลากรแบบเร่งด่วน โดยสถาบันการศึกษาและสถานประกอบร่วมกันออกแบบหลักสูตร โดยมุ่งเน้น การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมหรือชั้นปีสุดท้ายของการศึกษาในระบบ หรือประชาชนทั่วไปให้มีความรู้และทักษะที่สามารถทำงานในอุตสาหกรรมเป้าหมายได้ทันที
EEC ได้คาดการณ์เรื่องความต้องการบุคลากรไว้ว่า เมื่อโครงการสำเร็จลุ่ล่วง จะมีสถานประกอบการที่ต้องการแรงงาน ในระดับอาชีวศึกษา 377 แห่ง และระดับอุดมศึกษา 277 แห่ง รัฐบาลจึงเดินหน้าผลักดันสำรวจความร่วมมือจากสถานศึกษา-สถาบันการศึกษา ให้เข้าร่วมเพื่อพัฒนาบุคลากรให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมกว่า 941 แห่ง
โดยแบ่งเป็นทั้งในพื้นที่ EECและนอกพื้นที่ EEC โดยในพื้นที่ EEC ตั้งแต่ระดับโรงเรียน 847 แห่ง อาชีวศึกษา 17 แห่ง มหาวิทยาลัย 7 แห่ง ส่วนเครือข่ายสถาบันศึกษานอกพื้นที่ EEC ได้แก่อาชีวศึกษา 61 แห่ง มหาวิทยาลัย 9 แห่ง หน่วยงานภาครัฐ 14 แห่ง ที่จะสามารถรองรับและส่งเสริมหลักสูตรในอนาคตได้
นอกจากเรื่องสถาบันการศึกษายังมีในส่วนของการปกครองส่วนท้องถิ่น ใน 3 จังหวัดคือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรีและระยอง ได้แก่ เทศบาล 111 แห่งและองค์การบริหารส่วนตำบล 161 แห่ง ที่จะสามารถเข้าร่วมในการพัฒนาบุคลากรด้วย
ในเบื้องต้นประมาณการความต้องการบุคลากรในพื้นที่ EEC อยู่ที่ 475,688 อัตรา อาทิ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 16,920 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 37,526 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมดิจิทัล 116,222 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 58,228 ตำแหน่ง,อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร 11,538 ตำแหน่ง
อุตสาหกรรมพาณิชย์นาวี 14,630 ตำแหน่ง,อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต 53,738 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ 166,992 ตำแหน่ง โดยแบ่งเป็น ระดับอาชีวศึกษา 253,114 ตำแหน่ง ระดับปริญญาตรี 214,070 ตำแหน่ง และระดับปริญญาโทร-เอก 8,610 ตำแหน่ง
น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ตัวเลขการพัฒนาบุคลากร 4.7 แสนตำแหน่งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือ รวมถึงการเปลี่ยนระบบและโครงสร้างการศึกษาให้ทันสมัย ทันต่อความต้องการของธุรกิจในอนาคต ซึ่งบางส่วนได้พัฒนาไปบ้างแล้วและเริ่มมีการเรียนตามหลักสูตรทั้ง Type A และ B ในระยะทดลองซึ่งสำเร็จไปด้วยดี รวม 16,007 คน
รัฐบาลจึงได้เร่งบูรณการความร่วมมือให้สำเร็จเพิ่มขึ้น โดยมี กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ผนึกกับภาคเอกชน ในการพัฒนาบุคลากร ตามแผนการผลิตคนเพื่อรองรับความต้องการดังกล่าว เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการว่างงานในภาพรวม ในอนาคตเชื่อว่าเมื่อมีการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ก็จะมีการขยายความต้องการบุมากขึ้นอย่างยั่งยืน และจะทำให้ประเทศไทยพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
“ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี มุ่งมั่นที่จะวางรากฐานในการสร้างคน สร้างงาน และสร้างอนาคตให้คนไทย ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการพัฒนา แต่ทั้งหมดก็เพื่อพี่น้องประชาชนและนักศึกษาจบใหม่ ได้มีงานทำ มีอนาคตที่สดใส มีรายได้สูงและมั่นคง”
ได้มีการผลักดันโครงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC อย่างจริงจัง ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและภาคบริการ บนฐานของเทคโนโลยีสมัยใหม่ และนวัตกรรม ทั้งนี้ได้มีการเตรียมกำลังคนเพื่อทำงานในพื้นที่ EEC โดยสถาบันการศึกษาผลิตคน เน้นที่ศักยภาพตามความต้องการของสถานประกอบการ (Demand Driven) เพื่อให้เยาวชนและประชาชนมีงานทำ มีรายได้สูงด้วยความสามารถ ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2561
น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า รัฐบาลได้วางแนวทางเรื่องการพัฒนาบุคลากรให้ตรงความต้องการไว้แล้ว โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ 1. EEC Model Type A ให้สถานศึกษาจัดการศึกษาหลักสูตร ที่ได้รับปริญญา (Degree) หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.) เน้นการดำเนินการร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษาและสถานประกอบการ เพื่อให้ตรงความต้องการและได้อัตราค่าจ้างที่สูงกว่าปกติ
2. EEC Model Type B เป็นการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้น ไม่มีปริญญา (Non-Degree) เพื่อพัฒนาบุคลากรแบบเร่งด่วน โดยสถาบันการศึกษาและสถานประกอบร่วมกันออกแบบหลักสูตร โดยมุ่งเน้น การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมหรือชั้นปีสุดท้ายของการศึกษาในระบบ หรือประชาชนทั่วไปให้มีความรู้และทักษะที่สามารถทำงานในอุตสาหกรรมเป้าหมายได้ทันที
ทั้งนี้ EEC ได้คาดการณ์เรื่องความต้องการบุคลากรไว้ว่า เมื่อโครงการสำเร็จลุ่ล่วง จะมีสถานประกอบการที่ต้องการแรงงาน ในระดับอาชีวศึกษา 377 แห่ง และระดับอุดมศึกษา 277 แห่ง รัฐบาลจึงเดินหน้าผลักดันสำรวจความร่วมมือจากสถานศึกษา-สถาบันการศึกษา ให้เข้าร่วมเพื่อพัฒนาบุคลากรให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมกว่า 941 แห่ง
โดยแบ่งเป็นทั้งในพื้นที่ EECและนอกพื้นที่ EEC โดยในพื้นที่ EEC ตั้งแต่ระดับโรงเรียน 847 แห่ง อาชีวศึกษา 17 แห่ง มหาวิทยาลัย 7 แห่ง ส่วนเครือข่ายสถาบันศึกษานอกพื้นที่ EEC ได้แก่อาชีวศึกษา 61 แห่ง มหาวิทยาลัย 9 แห่ง หน่วยงานภาครัฐ 14 แห่ง ที่จะสามารถรองรับและส่งเสริมหลักสูตรในอนาคตได้
นอกจากเรื่องสถาบันการศึกษายังมีในส่วนของการปกครองส่วนท้องถิ่น ใน 3 จังหวัดคือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรีและระยอง ได้แก่ เทศบาล 111 แห่งและองค์การบริหารส่วนตำบล 161 แห่ง ที่จะสามารถเข้าร่วมในการพัฒนาบุคลากรด้วย
ในเบื้องต้นประมาณการความต้องการบุคลากรในพื้นที่ EEC อยู่ที่ 475,688 อัตรา อาทิ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 16,920 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 37,526 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมดิจิทัล 116,222 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 58,228 ตำแหน่ง,อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร 11,538 ตำแหน่ง
อุตสาหกรรมพาณิชย์นาวี 14,630 ตำแหน่ง,อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต 53,738 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ 166,992 ตำแหน่ง โดยแบ่งเป็น ระดับอาชีวศึกษา 253,114 ตำแหน่ง ระดับปริญญาตรี 214,070 ตำแหน่ง และระดับปริญญาโทร-เอก 8,610 ตำแหน่ง
น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ตัวเลขการพัฒนาบุคลากร 4.7 แสนตำแหน่งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือ รวมถึงการเปลี่ยนระบบและโครงสร้างการศึกษาให้ทันสมัย ทันต่อความต้องการของธุรกิจในอนาคต ซึ่งบางส่วนได้พัฒนาไปบ้างแล้วและเริ่มมีการเรียนตามหลักสูตรทั้ง Type A และ B ในระยะทดลองซึ่งสำเร็จไปด้วยดี รวม 16,007 คน
รัฐบาลจึงได้เร่งบูรณการความร่วมมือให้สำเร็จเพิ่มขึ้น โดยมี กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ผนึกกับภาคเอกชน ในการพัฒนาบุคลากร ตามแผนการผลิตคนเพื่อรองรับความต้องการดังกล่าว เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการว่างงานในภาพรวม ในอนาคตเชื่อว่าเมื่อมีการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ก็จะมีการขยายความต้องการบุมากขึ้นอย่างยั่งยืน และจะทำให้ประเทศไทยพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
“ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี มุ่งมั่นที่จะวางรากฐานในการสร้างคน สร้างงาน และสร้างอนาคตให้คนไทย ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการพัฒนา แต่ทั้งหมดก็เพื่อพี่น้องประชาชนและนักศึกษาจบใหม่ ได้มีงานทำ มีอนาคตที่สดใส มีรายได้สูงและมั่นคง” น.ส.ทิพานัน กล่าว