วันที่ 12 พ.ย.2565 ที่กรุงพนมเปญ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 10 ซึ่งเป็นการประชุมแบบเต็มคณะ (Plenary)
โดยมีสมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเป็นประธานการประชุม และมีผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ (เมียนมาไม่เข้าร่วม) โดยมีนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และเลขาธิการอาเซียน เข้าร่วม
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้พบปะจับมือทักทายกับ นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ระหว่างการประชุมดังกล่าวอีกด้วย.
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวในการประชุมว่า ถือว่าเป็นการประชุมที่สำคัญ เพื่อจะได้ทบทวน กำหนดทิศทางความสัมพันธ์ว่า จะก้าวไปข้างหน้าร่วมกันอย่างไร ท่ามกลางวิกฤต และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกและในภูมิภาค ความท้าทายในโลก ยังทวีความรุนแรงและซับซ้อนยิ่งขึ้น เกิดความเหลื่อมล้ำด้านการพัฒนา
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้พบปะจับมือทักทายกับ นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ระหว่างการประชุมดังกล่าวอีกด้วย.
รวมถึงวิกฤตด้านอาหารและพลังงาน ภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความขัดแย้งระหว่างประเทศ และมีความเห็นว่า การจะก้าวข้ามผ่านอุปสรรคเหล่านี้ได้ ต้องสร้างความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้าน ระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เสนอ ให้กระชับความเป็น “หุ้นส่วน” ใน 3 ประเด็น ดังนี้
1. หุ้นส่วนเพื่อสร้างบรรยากาศของความร่วมมือในภูมิภาค” ยินดีที่สหรัฐฯ สนับสนุนความเป็นแกนกลางของอาเซียนอย่างต่อเนื่อง และหวังว่ายุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก
และข้อริเริ่มอื่น ๆ ของสหรัฐฯ อาทิ “ออคัส” กลุ่มภาคี “คว้อด” และกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก จะเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ และหวังที่จะเห็นมหาอำนาจ และผู้เล่นสำคัญในภูมิภาคทำงานร่วมกัน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ ภายใต้หลักการของมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก โดยควรคว้าโอกาสทอง จากการประชุมใหญ่สามการประชุมในภูมิภาค ในห้วงสัปดาห์นี้ เพื่อหารือทางออกที่เป็นไปได้ สำหรับวิกฤตที่เร่งด่วน
2. หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาขีดความสามารถ ด้านเศรษฐกิจ” สหรัฐฯ ควรส่งเสริมการพัฒนาด้านดิจิทัลและเศรษฐกิจดิจิทัล ทั้งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในภูมิภาค ซึ่งรวมถึงในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
และการพัฒนาขีดความสามารถให้แก่แรงงานและผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ MSMEs สตาร์ทอัพ และผู้ประกอบการสตรี นายกรัฐมนตรีหวังว่า กิจกรรม “เทรดวินส์บิสซิเนสฟอรั่ม” ที่ไทยในปีหน้า จะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจในสาขาเหล่านี้ด้วย
3. หุ้นส่วนเพื่อการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยินดีที่สหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับวาระนี้ เพื่อให้การดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบรรลุผลต้องสนับสนุนกลไกทางการเงินสีเขียว การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว และการลงทุนและการสร้างงานในอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ในโอกาสนี้ ไทยในฐานะเจ้าภาพการประชุมเอเปคจะมุ่งเน้นการสร้างภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่เปิดกว้าง เชื่อมโยง และสมดุลแบบองค์รวม โดยมีโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นแนวคิดพื้นฐาน ซึ่งไทยพร้อมที่จะทำงานร่วมกับสหรัฐฯ ในฐานะเจ้าภาพการประชุมเอเปคในปีหน้า เพื่อขับเคลื่อนวาระนี้อย่างต่อเนื่องและให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
นายกรัฐมนตรีเชื่อว่าความเป็นหุ้นส่วนในประเด็นเหล่านี้จะเป็นแกนหลักสำคัญช่วยให้ความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐฯ มีความเข้มแข็ง และเป็น “พลัง” พาภูมิภาคและโลกเดินหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนกว่าเดิม
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้พบปะจับมือทักทายกับ นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ระหว่างการประชุมดังกล่าวอีกด้วย.