เมื่อวันที่ 15 ม.ค.66 นายนิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประชุม ชู 8 นโยบาย ด้านการเกษตร สู้ศึกเลือกตั้ง 2566 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อนำสันติภาพสู่สันติสุข
โดยมีผู้สมัคร ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดสตูล และ สงขลาบางส่วน ร่วมประชุมรับทราบนโยบายดังกล่าว ณ ห้องประชุมย่อย บ้านพักเขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา
นายนิพนธ์ กล่าวว่า วันนี้พรรคประชาธิปัตย์ ได้ออก 3 ยุทธศาสตร์หลัก เพื่อสู้ศึกเลือกตั้งในครั้งนี้คือ การสร้างเงิน สร้างคน สร้างชาติ โดยเฉพาะนโยบายในการนำมาใช้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นั่นคือ การสร้างเงิน ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ทางด้านเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นหลายนโยบาย โดยเฉพาะเน้นในเรื่องของนโยบายประกันรายได้คน และประกันรายได้ให้กับประเทศ
ในส่วนของการประกันรายได้ มุ่งเน้นในเรื่องของการเกษตร การประกันรายได้เงินส่วนต่าง ในเรื่องของ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ยางพารา และปาล์ม ยังคงนำมาใช้อย่างต่อเนื่อง ในเรื่องของการให้เงินส่วนต่าง และนโยบายช่วยเหลือชาวนา 30,000 บาทต่อครัวเรือน แม้แต่ปลูกข้าวกินก็ยังได้ส่วนต่าง
สำหรับผู้ที่มาลงทะเบียน นโยบายการจัดตั้งธนาคารหมู่บ้าน-ชุมชน แห่งละ 2 ล้านบาท การออกโฉนดที่ดิน 1 ล้านแปลงภายใน 4 ปี ฟรีนมโรงเรียน 365 วัน การให้เงินทุนสำรองประมงท้องถิ่น 100,000 บาททุกปี ทุกกลุ่มที่ขึ้นทะเบียน การออกเอกสารสิทธิทำกินในที่ดิน ให้ผู้ที่ทำกินในที่ดินของรัฐ และการปลดล็อกประมงพาณิชย์ ภายใต้ luu
“นี่คือสิ่งที่ พรรคประชาธิปัตย์ทำนโยบายในเรื่องของการสร้างเงิน 8 นโยบาย และอีก 5 ฟรี คือเรียนฟรี อาหารกลางวันฟรี นมโรงเรียนฟรี และหญิงตั้งครรภ์รับทันที 600 บาท ต่อเดือน จนคลอด ฟรี”
นายนิพนธ์ กล่าวว่า ในวันนี้เราได้เน้นในเรื่องของจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้จังหวัดชายแดนใต้เป็นพื้นที่ความมั่นคงทางด้านอาหาร ซึ่งเราต้องเดินหน้าต่อ พร้อมกับการขยายการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อ ซึ่งจังหวัดชายแดนใต้ต้องยุติความขัดแย้ง การสูญเสียชีวิตมันต้องยุติได้แล้ว และเราอยากเห็นจังหวัดชายแดนใต้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อนำไปสู่การสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับพี่น้องประชาชน
สำหรับนโยบายสร้างเงิน 8 นโยบายที่พรรคได้ประกาศ นี่เฉพาะกลุ่มแรกหลังจากที่พรรคประกาศยุทธศาสตร์ สร้างเงิน สร้างคน สร้างชาติ ซึ่งงวดแรกที่ได้กล่าวไปแล้วนั่นคือเรื่องของการสร้างเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอยู่ในภาคเกษตรเป็นหลัก และจะมีภาคธุรกิจอื่นตามมาอีก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเศรษฐกิจทันสมัย เรื่องของนวัตกรรม เรื่องของ SME และเรื่องอื่นๆ ที่จะทยอยประกาศตามมา เพื่อสร้างรายได้ในส่วนนั้น
ส่วนในเรื่องของการสร้างคนซึ่งจะเป็นตัวตนของประชาธิปัตย์ รวมถึงเรื่องของสาธารณสุข รวมถึงในเรื่องของsold power
และสุดท้ายในเรื่องของการสร้างชาติ นั่นคือ เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อที่จะให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น รวมถึงในเรื่องของการกระจายอำนาจ ซึ่งสุดท้ายนโยบายชายแดนภาคใต้ซึ่งได้ขอความเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ซึ่งเราเคยมีนโยบาย ใต้สันติสุข แต่วันนี้เราจะไม่เอาเพียงใต้สันติสุข แต่จะเป็นนโยบายใต้ชายแดน " สันติภาพสู่สันติสุข"
เพราะการยุติความขัดแย้งนี้ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องมีการพูดคุยกัน ซึ่งเราจะไม่มีวันจบในเรื่องของการใช้อาวุธเพื่อแก้ปัญหาเรื่องความขัดแย้ง แต่จะจบด้วยการพูดคุยกัน เราใช้งบประมาณ กว่า 4.9 แสนล้าน ในเวลา 19 ปี ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ดังนั้นจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงต้องพูดคุยกัน ทุกฝ่ายเพื่อยุติความขัดแย้ง
ดังนั้นในพื้นที่ชายแดนใต้เราจะชูนโยบายสันติภาพสู่ สันติสุข และยังคงยืนยันเหมือนเดิมว่า เราจะทำให้พื้นที่ชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่ความมั่นคงทางด้านอาหาร ทั้งเรื่องของประมง การเพาะเลี้ยงชายฝั่ง รวมถึงการปศุสัตว์การเลี้ยงโคเนื้อลังกาสุกะ
นอกจากนี้ ยังมีนโยบายเรื่องการเกษตรทำในเรื่องแปลงทุเรียนภาคใต้ ซึ่งจังหวัดยะลาได้มีการนำเสนอในเรื่องการทำแปลงทุเรียนและมีความเป็นไปได้ ส่วนเรื่องอื่นก็ยังมีในเรื่องของการออกโฉนดที่ดิน เทือกเขาบูโดซึ่งมีการต่อสู้ในเรื่องที่ดินนี้มานานแล้ว และขณะนี้เริ่มเป็นรูปธรรมแล้วและได้ทยอยแจกโฉนดที่ดินให้ประชาชนในพื้นที่มาเป็นระยะๆแล้ว
โดยในช่วงเที่ยง นายนริศ ขำนุรักษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยได้เดินทางมาร่วมประชุมเสวนาด้วย