นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการดำเนินการภาครัฐที่เร่งแก้ไขแก้ปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ ผ่านการบูรณาการหลายหน่วยงาน มีกลไกความร่วมมือระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส), สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.), สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นต้นจนสามารถดำเนินคดีผู้กระทำผิดจำนวนมาก
โดยในปี 2565 ดำเนินคดีแก๊ง Call Center ในต่างประเทศ 8 ครั้ง จับกุมผู้ต้องหา 166 คน ทำการปิดกั้นการโทรหลอกลวง/ข้อความ SMS หลอกลวง จำนวน 118,530 หมายเลข ทำการอายัดบัญชีม้าจำนวน 58,463 บัญชี ปิดกลุ่มโซเชียลมีเดียซื้อขายบัญชีม้า จำนวน 8 กลุ่ม และปิดกั้นเว็บพนันจำนวน 1,830 เว็บ เป็นต้น
รองโฆษกรัฐบาล กล่าวถึงการแก้ปัญหาบัญชีม้าและบัญชีต้องสงสัยจะนำไปใช้กระทำผิดกฎหมาย สำนักงาน ปปง. ได้จัดทำประกาศ หลักเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดหรือทบทวนรายชื่อบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งควรได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดตามกฎกระทรวงการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า พ.ศ. 2563 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ซึ่งจะทำให้การดำเนินการในเรื่องนี้ประสิทธิภาพมากขึ้น
ขณะเดียวกัน สำนักงาน กสทช. ได้มีมาตรการแก้ปัญหา SIM ผิดกฎหมาย โดยให้ผู้มี 100 SIMขึ้นไป ซึ่งมีอยู่ประมาณ 8,000 ราย ยืนยันตัวตนให้ถูกต้องภายใน ม.ค.2566 ทั้งนี้ เพื่อตัดวงจรการที่มิจฉาชีพใช้ SIM เติมเงินโทรไปหลอกลวงประชาชน (Call Center) และทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ มากไปกว่านั้นได้มีแผนงาน
รณีผู้มี 100 ซิมขึ้นไป ประมาณ 8,000 ราย ยืนยันตัวตนให้ถูกต้องภายใน ม.ค.2566 ทั้งนี้ เพื่อตัดวงจรการที่มิจฉาชีพใช้ SIM เติมเงินโทรไปหลอกลวงประชาชน (Call Center) และทำธุรกรรมการเงินออนไลน์
เพื่อให้การแจ้งความคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสะดวกต่อผู้เสียหาย ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้พัฒนาระบบการรับแจ้งความออนไลน์ www.ThaiPoliceOnline.com ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนได้เข้าถึงกระบวนการสืบสวนสอบสวนอย่างทั่วถึง
ทั้งนี้ นับตั้งแต่วันที่ระบบเริ่มใช้งาน 1 มี.ค.2565 ถึง 31 ธ.ค.2565 รวม 10 เดือน มีผู้เข้ามาแจ้งความจำนวน 163,091 คดี คิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 27,305 ล้านบาท โดยเฉลี่ยมีความเสียหายวันละ 91 ล้านบาท และมีแนวโน้มการเกิดคดีสูงขึ้นทุกเดือน ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่ม ดังนี้
1.คดีที่ผู้กระทำความผิดอยู่ในประเทศไทย ได้แก่ การซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านทางออนไลน์แต่ไม่รับสินค้า การปล่อยกู้ผ่านแอปฯ นอกระบบ การลงทุนแบบแชร์ลูกโซ่ เป็นต้น มีสถิติการรับแจ้งประมาณ 40.5% ของคดีทั้งหมด ความเสียหายรวมประมาณ 1,230 ล้านบาท
2.คดีที่ผู้กระทำความผิดอยู่ต่างประเทศ และมีคนไทยร่วมขบวนการ โดยเดินทางไปทำงานผ่านช่องทางธรรมชาติ เพื่อไปทำหน้าที่เป็นแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์หลอกลวงคนไทยผ่านทางออนไลน์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งเป็นกลุ่มคดีที่มีมูลค่าความเสียหายมากที่สุด ประมาณร้อยละ 51 มูลค่าความเสียหายรวมประมาณ 15,800 ล้านบาท
และ 3.คดีอื่น ๆ ที่เหลือประมาณ 8.5% ได้แก่ แฮ็กระบบคอมพิวเตอร์ การเรียกค่าไถ่ทางคอมพิวเตอร์ การคุกคามทางเพศ หลอกให้ไปทำงานต่างประเทศ เป็นต้น