ในห้วงเวลาที่ทุกฝ่ายจับตามองการจัดตั้งรัฐบาล ว่าจะมีความเรียบร้อยและตั้งคณะรัฐมนตรี(ครม.) ชุดใหม่ได้เมื่อไหร่ หน้าตาของ ครม.เป็นอย่างไร แน่นอนว่า ครม.มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน เป็นฝ่ายกำหนดนโยบาย และทิศทางของประเทศ
แต่ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ระบุให้ครม. ต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาก่อนเข้าบริหารราชการแผ่นดิน ตามมาตรา 162 และนโยบายเหล่านั้นต้องสอดคล้องกับหน้าที่ของรัฐ แนวนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติ โดยในมาตรา 65 ได้ระบุให้รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศ จึงมีการตรากฎหมาย "พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560" หรือ พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติ ขึ้นมา
รู้จัก "พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติ"
"พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติ" หรือ "ยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี" ตราขึ้นเพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทําแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติซึ่งจะต้องไม่น้อยกว่า 20 ปี
โดยในมาตรา 11 ระบุให้คณะกรรมการทบทวนยุทธศาสตร์ชาติทุก 5 ปี หรือในกรณีที่สถานการณ์ของโลก หรือสถานการณ์ของประเทศเปลี่ยนแปลงไปจนไม่สามารถ หรือไม่เหมาะสมที่จะดําเนินการตามเป้าหมายหรือยุทธศาสตร์ด้านหนึ่งด้านใดได้ คณะกรรมการสามารถแก้ไขเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ โดยให้คณะกรรมการขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนดําเนินการ
"แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี" ครอบคลุมเรื่องใดบ้าง
"แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี" ฉบับแรก
ประเทศไทยได้มีการออกประกาศ "แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี" ฉบับแรกเรียบร้อยแล้ว ชื่อว่า "ประกาศเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580" ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2561 แบ่งแผนยุทธศาสตร์ออกเป็น 6 ด้าน คือ
1. ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
2. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน
4. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม
5. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
6. ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
คณะกรรมการยุทธศาสตร์พ้นไปเมื่อใด
ที่มา รัฐธรรมนูญ 2560 , พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 ,ประกาศเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580