วันนี้ (9 ก.ค. 66) เกาะติดการประชุมใหญ่วิสามัญพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อเลือกหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ชุดใหม่ ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ โดยตามกำหนดการเริ่มประชุมตั้งแต่เวลา 8.30 น.
โดยการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคคนใหม่และกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ชุดใหม่ สืบเนื่องจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนเก่า ได้ลาออกจากตำแหน่งหลังเสร็จสิ้นและทราบผลการเลือกตั้งส.ส. เมื่อ 14 พ.ค. 2566
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
ขั้นตอนการเลือกหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์
ตามข้อบังคับของพรรคประชาธิปัตย์กำหนดให้มีการเรียกประชุมใหญ่วิสามัญเพื่อเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคภายใน 60 วัน
และพรรคประชาธิปัตย์ได้เตรียมขั้นตอนกระบวนการโดยมีคณะกรรมการ 2 ชุด ประกอบด้วย
นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์
นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยเมื่อวันที่ 7 ก.ค. ที่ผ่านมาว่า ขณะนี้ยอดขององค์ประชุมใหญ่วิสามัญมีจำนวนลดลงเล็กน้อย เดิมมีการกำหนดองค์ประชุมไว้ 19 กลุ่ม จากเดิมที่ได้แถลงไปก่อนหน้าคือจำนวน 374 คน ปัจจุบันมียอดรวมทั้งหมด 367 คน เนื่องจากมีองค์ประชุมบางท่านไม่สะดวกเข้าร่วมประชุม
จึงทำให้ยอดองค์ประชุมล่าสุดมีจำนวน 367 คน ซึ่งตามกฎหมายพรรคการเมือง มีการกำหนดองค์ประชุมที่จะต้องมาให้ครบจำนวน 250 คน ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ได้เตรียมการไว้ถึง 367 คน
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ระบุอีกว่า ระเบียบวาระที่สำคัญในการประชุมใหญ่วิสามัญมี 2 วาระ คือวาระของการเลือกคณะกรรมการบริหารพรรค ซึ่งจะมีทั้งสิ้น 11 ตำแหน่ง รวม 41 คน และในจำนวนนี้ได้รวมตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ด้วย
คุณสมบัติของกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์
บังคับข้อที่ 31 ของพรรคประชาธิปัตย์ ระบุถึงคุณสมบัติของสมาชิกที่จะได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการบริหาร(กก.บห.) ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
นายราเมศ กล่าวอีกว่า สำหรับการเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ กกต. ปชป. ได้กำหนดให้ผู้สมัครในตำแหน่งหัวหน้าพรรคได้แสดงวิสัยทัศน์ภายในกรอบเวลา 7 นาที เพื่อพูดถึงแนวนโยบายที่จะนำพาทุกองคาพยพของพรรคประชาธิปัตย์ให้ก้าวเดินต่อไปในวันข้างหน้า
แคนดิเดตชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่ (ตามที่ปรากฏในข่าว)
นายอลงกรณ์ พลบุตร
นายอลงกรณ์ พลบุตร
ปัจจุบันอายุ 66 ปี เกิดวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ที่จังหวัดเพชรบุรี มีชื่อเล่นว่า " จ้อน "
อดีตส.ส.เพชรบุรีหลายสมัย ตำแหน่งล่าสุดเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน) และเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (ดร.เอ้)
ปัจจุบัน อายุ 51 ปี เกิดวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2515 ที่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย เป็นศาสตราจารย์ วิศวกร นักวิชาการ และนักการเมือง ในทางวิชาการเคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นายกสภาวิศวกร นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย และประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ก่อนเปิดตัวเข้าร่วมและลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในนามพรรคประชาธิปัตย์ และแพ้การเลือกตั้งให้กับนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เมื่อปี 2565
นายเดชอิศม์ ขาวทอง
นายเดชอิศม์ ขาวทอง
ครั้งหนึ่งเคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส.ในสังกัดพรรคไทยรักไทย เมื่อปี 2548 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นส.ส.ครั้งแรกเมื่อ2562 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และในปี 2564 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์แทนนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ
การเลือกตั้ง 2566 ที่ผ่านมา เดชอิศม์ เป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แม่ทัพภาคใต้ ได้ ส.ส.ภาคใต้ 17 ที่นั่ง
ข่าว การเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ล่าสุด อัพเดทด้านล่าง
9 ก.ค. 66
07.34 น. นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์ ว่า “ประกาศ ! เปิดตัวลงสมัครแข่งเป็น “หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์” นะคะวันนี้ #Mallikaboon เจอกัน !!”
นายชัยชนะ เดชเดโช รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
เวลา 14.30 น. การประชุมยังไม่เสร็จสิ้น แต่มีรายงานจากที่ประชุมว่า นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอให้ที่ประชุมงดเว้นข้อบังคับการประชุม ข้อที่ 37 ที่กำหนดให้มีการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ในกรณีที่กรรมการบริหารพรรคชุดเก่า พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน
เพื่อเลื่อนการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคฯ และกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ชุดใหม่ออกไปก่อน โดยให้เหตุผลว่า หากยังดำเนินการประชุมต่อไป ก็จะทำให้เกิดผลกระทบภายในพรรค ทำให้เกิดผู้แพ้-ผู้ชนะ แต่หากเลื่อนการประชุมออกไปก่อน ให้สมาชิกได้มีการพูดคุยกัน ก็จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์ ชนะไปด้วยกัน เพื่อปูทางเป็นชัยชนะคู่แข่งทางการเมืองในอนาคต
พร้อมยืนยันว่า การเสนอให้เลื่อนการประชุมครั้งนี้ ไม่ได้คำนึงถึงท่าทีรัฐบาลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตว่า หากพรรคประชาธิปัตย์ เลือกที่จะเป็นฝ่ายค้านแล้วจะให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กลับมาเป็นผู้นำพรรคอีกครั้ง
เพียงแต่เห็นว่า หากมีการพูดคุยกันภายในพรรคให้ตกผลึกมากกว่านี้ ความขัดแย้งต่าง ๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น และทำให้เกิดความร่วมมือกันภายในพรรคให้มากที่สุด
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้มีการลงมติว่าจะให้งดข้อบังคับพรรคประชาธิปัตย์ข้อดังกล่าว เพื่อเลื่อนการเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ออกไปก่อนหรือไม่ โดยผลการลงมติปรากฏว่า สัดส่วนคะแนนมีไม่เพียงพอที่จะเลื่อนการประชุมครั้งนี้ออกไป จึงทำให้ต้องดำเนินการประชุมต่อ
จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาญัตติที่ นายสาธิต ปิตุเตชะ รองหัวหน้าพรรคฯ เสนอต่อที่ประชุมให้งดใช้ข้อบังคับพรรคฯ ในข้อที่ 87 ที่กำหนดน้ำหนักคะแนนในการลงมติเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ซึ่ง ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ 25 คน ขณะนี้ จะมีน้ำหนักคะแนนร้อยละ 70 แต่อดีต ส.ส. อดีตรัฐมนตรี อดีตผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และอดีตหัวหน้าพรรคฯ จะมีน้ำหนักคะแนนเพียงร้อยละ 30
ซึ่งผลการลงมติปรากฏว่า สัดส่วนคะแนนมีไม่เพียงพอที่จะปรับสัดส่วนน้ำหนักคะแนน จึงทำให้ผลคะแนนในการเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ครั้งนี้ ยังต้องดำเนินการต่อไปบนสัดส่วนคะแนน 70:30
อย่างไรก็ตาม นายสาธิต ได้กล่าวภายหลังที่ประชุมมีมติดังกล่าวว่า จะทำให้น้ำหนักคะแนนไปขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ ส.ส.ปัจจุบันของพรรค 25 คน
ดังนั้น จึงอาจทำให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคฯ ที่จะมีสมาชิกพรรคฯ เสนอชื่อเพื่อกลับมาเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้ได้ แต่ก็จะต้องขึ้นอยู่กับที่ประชุมว่า จะมีการเสนอชื่อผู้ที่จะมาเป็นหัวหน้าพรรคฯ อย่างไร หรือจะมีใครถอนตัวหรือไม่
ทั้งนี้ การประชุมพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในครั้งนี้ เป็นการประชุมลับตามที่ นายธนา ชีรวินิจ อดีต ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์ เสนอให้ที่ประชุมเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ดำเนินไปแบบลับ ไม่ให้สื่อมวลชนร่วมสังเกตการณ์ในการประชุมครั้งนี้ด้วย
เนื่องจาก กังวลว่า จะมีการตีความการแสดงความเห็นของสมาชิกผิดพลาด