เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ระเบียบสํานักงานตํารวจแห่งชาติ(สตช.) ว่าด้วยการรับแจ้งความร้องทุกข์คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๖
โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ว่าด้วยการรับแจ้งความร้องทุกข์ คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อดําเนินการให้เป็นไปตามพระราชกําหนด มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๖๖ พระราชบัญญัติการปฏิบัติ ราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๕ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๕๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และเป็นการให้บริการหรืออํานวยความสะดวกแก่ประชาชน สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการดําเนินชีวิตตามวิถีใหม่ในสังคมปัจจุบัน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๖๓ (๔) แห่งพระราชบัญญัติตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๕ มาตรา ๑๖ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ จึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ว่าด้วยการรับแจ้งความร้องทุกข์ คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๖”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้ คับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้หากคําใดมิได้มีคําอธิบายไว้ ให้ถือคําอธิบายตามที่กฎหมายบัญญัติ
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
(๑) “อาชญากรรมทางเทคโนโลยี” หมายความว่า การกระทําหรือพยายามกระทําความผิด ตามกฎหมายว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อฉ้อโกง กรรโชก หรือรีดเอาทรัพย์ บุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือโดยประการที่น่าจะทําให้บุคคลอื่นเสียหาย หรือกระทําความผิดฐานฉ้อโกง กรรโชก หรือรีดเอาทรัพย์ โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ
(๒) “ระบบรับแจ้งความออนไลน์ (เว็บไซต์ http://thaipoliceonline.com)” หมายความว่า ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการรับคําแจ้งความร้องทุกข์และการบริหารคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยระบบจะกําหนดเลขคําแจ้งความออนไลน์ (Case ID) ให้ผู้แจ้งความตามลําดับเรื่องที่รับแจ้ง
(๓) “ผู้แจ้งความร้องทุกข์” หมายความว่า ผู้เสียหายตามมาตรา ๒ (๔) แห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อผู้รับแจ้งความร้องทุกข์ทางอิเล็กทรอนิกส์
(๔) “ผู้รับแจ้งความร้องทุกข์” หมายความว่า พนักงานสอบสวนหรือข้าราชการตํารวจซึ่งมีหน้าที่ ในการรับแจ้งความร้องทุกข์ซึ่งได้รับแจ้งความร้องทุกข์ทางอิเล็กทรอนิกส์
(๕) “อิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการ ทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีต่าง ๆ เช่นว่านั้น
(๖) “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล
ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
(7) “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า อักษร อักขระ ตัวเลข เสียง หรือสัญลักษณ์ อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนํามาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดง
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น
ข้อ ๕ กําหนดให้ระบบรับแจ้งความออนไลน์ (เว็บไซต์ http://thaipoliceonline.com) เป็นช่องทางในการแจ้งความร้องทุกข์คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามพระราชกําหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๖๖ โดยผู้แจ้งความร้องทุกข์จะต้องพิสูจน์และยืนยันตัวตนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงาน ของรัฐ และลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใด เพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น ทั้งนี้ ตามขั้นตอนที่ปรากฏในระบบรับแจ้งความออนไลน์
ข้อ ๖ ผู้แจ้งความร้องทุกข์คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีต่อผู้รับแจ้งความร้องทุกข์ จะต้อง ระบุชื่อและที่อยู่ของผู้แจ้งความร้องทุกข์ ลักษณะแห่งความผิดที่กล่าวหา พฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ความผิดนั้น ได้กระทําลงความเสียหายที่ได้รับ และจะต้องมีข้อความปรากฏด้วยว่า มีผู้กระทําความผิดขึ้น จะรู้ตัว ผู้กระทําความผิดหรือไม่ก็ตาม
และการกล่าวหานั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทําความผิดได้รับโทษ ครบถ้วนตามคํานิยามของคําร้องทุกข์ ตามมาตรา ๒ (๒) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยจะถือว่าเป็นคําร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายก็ต่อเมื่อผู้แจ้งความร้องทุกข์ได้ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในระบบรับแจ้งความออนไลน์เพื่อยืนยันข้อความและข้อมูลในระบบรับแจ้งความออนไลน์แล้ว
ข้อ ๗ บรรดาระเบียบ และคําสั่งอื่นในส่วนที่กําหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้ง กับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ 8 วิธีปฏิบัติเรื่องใดที่มิได้กําหนดในระเบียบนี้ไว้โดยเฉพาะ ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ คําสั่ง หรือหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง
ข้อ 9 ให้ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอํานาจวินิจฉัยชี้ขาดปัญหา เพื่อดําเนินการตามระเบียบนี้
คําวินิจฉัยของผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติให้ถือเป็นที่สุด
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
พลตําารวจเอก ดํารงศักดิ์ กิตติประภัสร์
ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ