วันนี้ (24 มกราคม 2567) ที่ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ความเป็นสมาชิกภาพ สส.ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ไม่มีลักษณะต้องห้ามเป็นเหตุให้สมาชิกภาพ สส.สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) เนื่องจากบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ไม่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ อยู่ในวันที่สมัครรับเลือกตั้ง สส.บัญชีรายชื่อ
ประเด็นพิจารณาสมาชิกภาพ สส.ของนายพิธาสิ้นสุดหรือไม่นั้น ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า นายพิธาถือหุ้นบริษัทไอทีวีจนถึงวันที่นายพิธาสมัครรับเลือกตั้ง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในวันที่ 4 เมษายน 2566
รัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) ไม่ได้ระบุว่าจะต้องถือหุ้นเท่าใด การถือหุ้นเพียงหุ้นเดียวก็ถือว่าถือหุ้นในความหมายตามรัฐธรรมนูญแล้ว และไม่ได้ระบุว่าจะมีอำนาจครอบงำหรือไม่
ข้อพิจารณาต่อไป วันสมัคร สส.บัญชีรายชื่อ นายพิธาเป็นเจ้าของหรือถือหุ้นไอทีวีหรือไม่ ซึ่ง ในลำดับ 7061 จำนวน 42,000 หุ้น ในนามตัวเอง ไม่ได้หมายเหตุว่า ถือในนามผู้จัดการมรดก และถือเรื่อยมาจนถึงวันที่ 26 เมษายน 2566
วันที่ 5 กันยายน 2550 โอนตามคำสั่งศาลแพ่ง ในฐานะผู้จัดการมรดก และในฐานะทายาท ให้นายภาษิณ ลิ้มเจริญรัตน์ น้องชาย มีผลให้นายพิธาเป็นทั้งผู้จัดการมรดกและทายาท
โดยศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยประเด็นบริษัทไอทีวียังมีสถานะเป็นสื่ออยู่หรือไม่ ว่า ข้อเท็จจริงปรากฎว่า เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2538 บริษัทไอทีวี ทำสัญญาเข้าร่วมงานและดำเนินงานสถานีวิทยุโทรทัศน์ กำหนดอายุสัญญา 30 ปี กับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เอกสารหมาย ส 3 จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ระบุวัตถุประสงค์ของบริษัท จำนวน 45 ข้อ โดยข้อ 18 ข้อ 40 ข้อ 41 และข้อ 43 เป็นไปตามผู้ร้องกล่าวอ้าง
สปน.มีหนังสือลงวันที่ 7 มีนาคม 2550 ถึงกรรมการบริษัทไอทีวี แจ้งบอกเลิกสัญญาเข้าร่วมงานและดำเนินงานสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบยูเอสเอฟ ระบุว่า
การแจ้งบอกเลิกสัญญาย้อมมีผลทำให้สัญญาเข้าร่วมงานสิ้นสุดลง เอกสาหมาย ส 47 สอดคล้องกับข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2550 บริษัทไอทีวียื่นแบบเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงต่อนายจ้างประกันสังคม เพื่อแจ้งว่าบริษัทหยุดกิจการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2550 เนื่องจากไม่มีพนักงาน ซึ่งสำนักงานประกันสังคมตรวจสอบแล้วอนุมัติหยุดกิจการชั้วคราวดังกล่าว จนถึงปัจจุบันยังปรากฎข้อมูลฐานข้อมูลสำนักงานประกันสังคมว่า หยุดกิจการชั่วคราวจนถึงปัจจุบัน"
ประกอบกับพิจารณาแบบ สบช. 3 รอบปีบัญชีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2560 ถึง 2562 ระบุประเภทธุรกิจว่า กิจกรรมของบริษัทโฮลดิ้งที่ไม่ได้ลงทุนในธุรกิจการเงินเป็นหลักรอบบัญชีสิ้่นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563 และ 2564 ระบุประเภทธุรกิจว่า สื่อโทรทัศน์ ระบุสินค้าบริการว่า ปัจจบันไม่ได้ดำเนินการ เนื่องจากติดคดีความ รอบบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 "ไม่ได้ดำเนินกิจการ รอผลคดี และมีรายได้จากผลการลงทุนและดอกเบี้ยรับ"
ศาลวินิจฉัยว่า ส่วนรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นวันที่ 26 เมษายน 2566 หน้าสุดท้ายที่มีผู้ถือหุ้นถามว่า ในขณะนี้บริษัทกับกำลังประกอบกิจการเป็นสื่อมวลชนหรือไม่ นายคิมเบิกความว่า การที่ระบุว่า ยังประกอบกิจการอยู่ตามวัตถุประสงค์ของบริษัทนั้น ไม่ใช่เป็นการยืนยันว่าบริษัทดำเนินกิจการสื่อมวลชน
"นอกจากนี้หากศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้บริษัทไอทีวีชนะคดีจะมีการพิจารณาอีกครั้งหนึ่งว่า บริษัทจะดำเนินกิจการต่อไปหรือไม่"
เห็นได้ว่า แม่ แบบ สบช. 3 ปี 2563 - 2565 ระบุประเภทธุรกิจว่า สื่อโทรทัศน์ แม้บริษัทไอทีวีจะประกอบกิจการโทรทัศน์ สื่อโทรทัศน์ การผลิตสื่อโฆษณา และการผลิตรายการ แต่หมายเหตุประกอบงบการเงิน ภ.ง.ด.50 ตั้งแต่ปี 2560-2565 ปรากฎข้อมูลสอดคล้องกันว่า บริษัทไอทีวีหยุดดำเนินกิจการนับตั้งแต่ สปน.บอกเลิกสัญญา เมื่อปี 2550 ทำให้สิทธิในคลื่นความถี่ของสถานีโทรทัศน์ไอทีวีกลับมาเป็นของ สปน. และบริษัทไอทีวีไม่มีคลื่นความถี่ที่จะดำเนินการสถานีโทรทัศน์ไอทีวีได้อีกต่อไป
"ข้อพิพาทคดีดังกล่าว แม้ท้ายที่สุดแล้วบริษัทไอทีวี เป็นฝ่ายชนะคดี ก็ไม่ได้มีผลให้บริษัทไอทีวีได้รับมอบคืนคลื่นความถี่และดำเนินกิจการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบยูเอฟเอสได้อีก"
ข้อเท็จจริงดังกล่าวสรุปได้ว่า บริษัทไอทีวี ไม่มีสิทธิ์ในการประกอบกิจการสื่อโทรทัศน์ตามกฎหมายตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2550 และการที่บริษัทไอทีวีคงสถานะนิติบุคคลไว้ก็เพื่อดำเนินคดีที่ค้างอยู่ในศาลเท่านั้น และปรากฎว่าบริษัทไอทีวีมีรายได้จากกิจการที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน แต่มีรายได้จากผลตอบแทนจากการลงทุนและดอกเบีัยรับ