ก้าวแรกของ “ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรี กลับบ้านเกิดจังหวัดเชียงใหม่ครั้งแรกในรอบ 17 ปี – เปิดปากตอบคำถามนักข่าวแบบตัวเป็น ๆ เคาะสนิม "อดีตนายกรัฐมนตรีสองสมัย" ด้วยการแนะนำวิธีการแก้ปัญหาปรากฎการณ์ "เอลนีโญ" ด้วย “ฝายแม้ว”
แน่นอนว่าการออกจากโรงพยาบาลตำรวจ-พักโทษ "ทักษิณ" สามารถที่จะแสดงความคิด-ความเห็น และด้วยบารมี-ผู้ทรงอิทธิพลของพรรคเพื่อไทยจึงไม่แปลกที่จะให้คำชี้แนะ-แนะนำรัฐบาลเศรษฐาได้อย่างตรงไปตรงมา
โดยเฉพาะ “เมกะโปรเจ็กต์” อย่างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่ตั้งไข่มาตั้งแต่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ แต่ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า ถูกเก็บใส่ลิ้นชักกรมขนส่งทางรางจนเปลี่ยนรัฐบาล-รอเสนอรัฐบาลใหม่
สถานะล่าสุดของโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ (ภายใต้โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และกรมขนส่งทางราง
ที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่3/2566 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566 ที่มี “พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ” รองนายกรัฐมนตรี สมัยรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ นั่งเป็นประธาน ที่มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ได้มีมติมอบให้กระทรวงทรัพยพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) ติดตามโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ ที่จะครบอายุโครงการตามพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่2) พ.ศ.2561 มาตรา 51/6 ในวันที่ 27 มิถุนายน 2567
ทั้งนี้ มาตรา 51/6 ระบุว่า รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ได้รับความเห็นจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติหรือได้รับความเห็นชอบหรือถือว่าได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชํานาญการสามารถนําไปใช้เพื่อเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีหรือประกอบการพิจารณาอนุญาตตามกฎหมายได้เป็นระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่สผ.หรือหน่วยงานของรัฐตามที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่แทนได้มีหนังสือแจ้งความเห็นของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติหรือความเห็นชอบของคณะกรรมการผู้ชํานาญการแล้วแต่กรณี
หากไปดู "งบลงทุน" ในงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จังหวัดเชียงใหม่ได้รับการจัดสรรจำนวนทั้งสิ้น 351.464 ล้านบาท ไม่นับงบกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย
ต้องจับตาว่าโครงการไฮสปีดเทรนกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะถูกรื้อฟื้นขึ้นมา ก่อนที่โครงการจะหมดอายุตามพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่2) พ.ศ.2561 มาตรา 51/6 ในวันที่ 27 มิถุนายน 2567 หรือไม่