นางสาว ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวในงานสัมมนา Dinner Talk “THANX Forum 2023 : Health & Wellness Sustainability” ในหัวข้อ “นโยบายไทย : ศูนย์กลางการแพทย์อย่างยั่งยืน” จัดโดยหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ว่า เวลาที่พูดถึง เมดิคัลฮับ ไม่ได้มีเฉพาะเรื่องเมดิคัลทัวร์ริซึ่ม อย่างเดียว ถ้าเปิดดูแผนของรัฐบาล ตั้งแต่ปี 2560-2569 จะพบว่ารัฐบาลตั้งเป้าไว้ว่า องค์ประกอบของเมดิคัลฮับ ต้องมี 4 ส่วน คือ
ศูนย์กลางงานวิชการทางการแพทย์ ศูนย์กลางการบริการด้านสาธารณสุข โปรดักส์ฮับ และเวลเนสฮับ หรือบริการอื่นๆที่ไม่ได้อยู่ในโรงพยาบาล เป็นเรื่องสปา หรือนวดแผนโบราณ
เมื่อศึกษาการเป็นเมดิคัลฮับ จึงสงสัยว่า ประเทศไทย จะเป็นศูนย์กลางในเรื่องอะไร เพราะเรื่องการอยู่ดีกินดีค่อนข้างกว้างมาก ซึ่งเท่าที่ทราบว่า ไทยจะเป็นศูนย์กลางของโลก แต่กลับพบว่า แต่ละเรื่องไทยยังไปไม่ได้ไกลถึงขนาดจะเป็นศูนย์กลางด้านสาธารณสุข ของโลกเลย แม้แต่นิดเดียว
ที่แย่ไปกว่านั้นคือ ภารกิจ เป้าหมายค่อนข้างล่องลอยมาก สรุปแล้วในสาธารณสุข เราอยากเป็นศูนย์กลางในเรื่องอะไร เพราะแต่ละเรื่องแตกต่างกันหมด
นางสาว ศิริกัญญา กล่าวว่า เรากำลังทำศูนย์กลางทางการแพทย์เพื่อสนับสนุนใคร เพื่อประชาชนในประเทศ หรือสนับสนุนเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่เข้ามาใช้บริการ ทุกอย่างดูเลื่อนลอยไปหมด
เราจึงควรกลับมาตั้งโจทย์ใหม่ ถึงกลยุทธการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ว่าทำเพื่ออะไร ซึ่งเป้าหมายเหล่านี้เราสามารถเปลี่ยนได้เรื่อยๆไม่จำเป็นต้องยึดติดว่าจะเป็นเรื่องนี้ตลอดไป
เรื่องเวลเนสฮับ ตอนนี้ไม่มีปัญหาอะไร ดูจะเป็นไปได้ด้วยดี แต่ที่บอบช้ำคือ ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจเวลเนส ที่เพิ่งฟื้นจากโควิด ยังคงสะบักสะบอมอยู่ เนื่องจากช่วงโควิดก็โดนกระทำจากคำสั่งรัฐบาลมากมาย
เรื่องศูนย์กลางด้านวิชาการ เราพอจะเป็นได้เพราะ แพทย์ไทย นักวิชาการด้านสาธารณสุข ไทยถือว่าเป็นมือต้นๆ
เรื่องโปรดักส์ฮับ เมื่อพูดถึง 12 S Curve เครื่องมือทางการแพทย์ เราส่งออกส่วนใหญ่ กว่า 70 % เป็นวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์ ส่วนคุรุภัณฑ์ทางกการแพทย์ ส่งออกแค่ 7% เรื่องเครื่องมือทางการแพทย์ยังไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย ทั้งๆที่ถูกตั้งเป็นอุตสหากรรมเป้าหมายนานเป็น10 ปี ซึ่งเราต้องปรับปรุง ฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน
นางสาว ศิริกัญญา กล่าวว่า เรื่องเครื่องมือทางการแพทย์ ทราบดีว่าโลกยุคโควิด ทำให้เครื่องมือทางการแพทย์ ขาดแคลนอย่างหนัก เพราะทุกคนเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยด้านสุขภาพของตัวเอง ทำให้อุตสาหกรรมเครื่องมือทางการแพทย์เฟื่องฟูมากในช่วงนั้น
แต่แทนที่เราจะฉกฉวยโอกาสเหล่านี้เรากลับปล่อยให้โอกาสนี้ผ่านลอยไป ซึ่งไม่ใช่เพิ่งเริ่มทำ หลายๆผู้ประกอบการในประเทศกลับไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่สนับสนุนเท่าที่ควร ถ้าเราไม่สามารถฟูมฟักให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ในประเทศได้แล้ว ก็อย่าหวังว่าเราจะเป็นศูนย์กลางในการผลิตเครื่องมือทางการแพทย์ได้
เครื่องมือแพทย์ปกติไม่มีความซับซ้อนมาก มีบริษัทแห่งหนึ่งพยายามผลิตเตียงเซ็นเซอร์ สำหรับคนป่วยติดเตียง ใช้เวลานานมากที่จะขอใบอนุญาต แต่กระบวนการซับซ้อนยุ่งยาก ในขณะที่เตียงนำเข้าจากประเทศจีน ใม่จำเป็นต้องขออนุญาตใดๆ สามารถนำเข้าได้เลยทันที
แบบนี้ไม่ใช่ไม่ส่งเสริมแต่เป็นการซ้ำเติมผู้ประกอบการในประเทศที่อยากจะตั้งไข่ในอุตสาหกรรม ที่เราเรียกว่าเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศนี้ด้วยซ้ำไป
เรื่องโปรดักส์ ผู้ประกอบการไทยน่าจะมีโอกาส หรือมีศักยภาพที่จะผลิตยาที่ใช้เทคโนโลยี ที่ค่อนข้างทันสมัย มีบริษัทที่ผลิตไบโอพามา เพื่อรักษามะเร็ง เราน่าจะมีศักยภาพทางนี้เช่นกัน เพียงแต่ทางรัฐต้องให้เวลา
เรื่องเมดิคัลทัวร์ริซึ่ม เป็นหัวใจหลัก ที่ผ่านมาเราจะพูดเรื่องนี้ เราจะพูดว่าไทยจุดแข็ง เรื่องการแข่งขันด้านราคา ที่ถูกกว่าที่อื่น แต่ไม่แน่ในว่าจะเป็นขุดเด่นของเราไปนานแค่ไหน เพราะเมื่อเทียบราคาระหว่างประเทศไทยกัยสิงคโปร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในประทศที่อยู่ในตลาดเมดิคัลทัวร์ริซึ่ม เหมือนกัน
จะเห็นว่าหลายตัวไม่ว่า พายบาสหัวใจ ผ้าตัดข้อสะโพก หรือฝังรากฟันเทียม ราคาไม่ต่างกันมาก เราจะพูดว่าประเทศเราขายราคาสมเหตุสมผล แต่สิงคโปร์ขายเทคโนโลยีที่ทัดเทียมกับการแพทย์ของสหรัฐฯ โอกาสที่จะสร้างมูลค่าบริการสาธารณสุขได้ต้ องไม่พูดเรื่องราคา เรามาถูกทางกันแล้วหรือยัง
จุดอ่อนอีกอย่างของเมดิคัลทัวริซึ่มไทย ในแง่การแข่งขันของโรงพยาบาลเอกชนไทย เราไม่ได้แย่ ใกล้เคียงกับมาเลเซีย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งคู่แข่งของเรา แต่พอไปดูด้านการใช้เทคโนโลยีในการรักษาเราไม่พอ
การที่เราส่งเสริมเมดิคัลทัวริซึ่ม อาจเบียดบังทรัพยากรบุคคล ที่เคยทำงานในโรงพยาบาล อาจจะสมองไหลมาที่ โรงพยาบาสลเอกชนได้เช่นกัน เพราะเราผลิตแพทย์ปีละ 3,000 คน ลาออกปีละ 600 คน ครึ่งหนึ่งลาออกไปอยู่โรงพยาบาลเอกชน ถ้าเป็นอย่างนี้เรื่อยๆเราจะเกิดวิกฤตด้านบุคลากรทางการแพทย์อย่างแน่นอน
สิ่งหนึ่งที่จะทำให้แพทย์กลับมาทำงานในโรงพยาบาลรัฐมากขึ้นคือค่าตอบแทนที่เป็นธรรม สวัสดิการ เงื่อนไขการทำงาน จำนวนชั่วโมงการทำงานที่ลดลง และสิ่งที่เราต้องปรับปรุงคือการลดควาแออัดในโรงพยาบาลโดยการใช้เครื่องมือทางไกลแทน
ในตอนท้าย รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล แนะ 3 ช่องทางให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ 3 ประการ คือ
1. ตั้งเป้าภารกิจให้ชัดเจน ว่าวันนี้เราจะเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์เพื่ออะไร
2. จำเป็นต้องจัดสรรบุคลากรด้าน สาธารณสุข ในภาพรวมไม่ให้เบียดเบียนประชากรของประเทศแม้เราจะเป็นเมดิคัลฮับ แต่ต้องลำดับความสำคัญหลักคือการบริการประชาชน
3. ส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ต่างๆให้เกิดขึ้นจริงในประเทศ ผ่านกลไกจัดซื้อจัดจ้างจากภาครัฐ
ตั้งภารกิจให้ชัด จัดสรรบุคลากรบริการประชาชนก่อน หนุนอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ในประเทศให้เกิดขึ้นจริง