ธปท.ผ่อนเกณฑ์FXมีผล 13พ.ค.นี้-ยกเว้นธุรกรรมชำระค่าสินทรัพย์ดิจิทัล-THB Offshore

12 พ.ค. 2565 | 23:05 น.
อัปเดตล่าสุด :13 พ.ค. 2565 | 07:44 น.

ธปท.เดินหน้าผ่อนเกณฑ์ธุรกรรมโอนเงินต่างประเทศได้เสรี- ยกเว้นการจ่ายค่าสินทรัพย์ดิจิทัล- THB offshore มีผล 13 พ.ค.นี้ ก่อนทยอยขยายขอบเขตกลุ่ม “นันแบงก์”ในปี66-67

ธปท.เดินหน้าผ่อนเกณฑ์ทำธุรกรรมFX โอนเงินต่างประเทศได้เสรี- ยกเว้นการจ่ายค่าสินทรัพย์ดิจิทัล- THB offshore เผยเหตุอาจส่งผลต่อเสถียรภาพ –เปิดช่องผู้ประกอบการใช้ประมาณการรายรับรายจ่ายสกุลเงินต่างประเทศ รวมกิจการในเครือทำเฮดจ์จิ้งและกลุ่มที่มีวงเงินกับธนาคารแล้วไม่ต้องแสดงเอกสาร  มีผล 13 พ.ค.นี้  ระบุในปี66-67เตรียมขยายขอบเขตใบอนุญาตรองรับบริการรูปแบบใหม่กลุ่ม “นันแบงก์”

ธปท.ผ่อนเกณฑ์FXมีผล 13พ.ค.นี้-ยกเว้นธุรกรรมชำระค่าสินทรัพย์ดิจิทัล-THB Offshore

นางอลิศรา  มหาสันทนะ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ธปทเดินหน้าผลักดันให้เกิดระบบนิเวศของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (Fx Ecosystem)ต่อเนื่อง เพื่อแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างอัตราแลกเปลี่ยนไทยอย่างยั่งยืน

 

ล่าสุดได้ผ่อนคลายหลักเกณฑ์เกี่ยวกับธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 พ.ค.65 นี้  โดยจะผ่อนเกณฑ์ใน 3 ส่วน ประกอบด้วย

 

ธปท.ผ่อนเกณฑ์FXมีผล 13พ.ค.นี้-ยกเว้นธุรกรรมชำระค่าสินทรัพย์ดิจิทัล-THB Offshore

ธปท.ผ่อนเกณฑ์FXมีผล 13พ.ค.นี้-ยกเว้นธุรกรรมชำระค่าสินทรัพย์ดิจิทัล-THB Offshore

 1.การซื้อเงินตราต่างประเทศ (FX) โดยสามารถโอนเงินไปยังต่างประเทศได้เสรีขึ้น และชำระ FX ในประเทศได้ตามความจำเป็น ซึ่งจะลดข้อจำกัดการโอนเงินออกไปต่างประเทศเหลือเพียง 4 วัตถุประสงค์ (จากเดิมห้ามโอนFXออก 10วัตถุประสงค์)  3 เรื่อง เหลือเฉพาะธุรกรรมที่อาจส่งผลต่อเสถียรภาพการเงิน

 

เช่น การชำระค่าสินทรัพย์ดิจิทัล  เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ที่มีการพัฒนาค่อนข้างรวดเร็ว จึงต้องติดตามกระแสเงินทุนเหล่านี้ก่อน  และการส่ง FX ออกไปทำธุรกรรมเกี่ยวกับเงินบาทกับสถาบันการเงินในต่างประเทศ (THB offshore)  หากขนาดใหญ่ขึ้นอาจกระทบกับค่าเงินบาท และรวมถึงการโอนเงินค่าทองคำไม่นำเข้า ซึ่งจะเป็นโฟลว์เพื่อซื้อทองคำในต่างประเทศที่อาจกระทบต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย

 

1.2 วัตถุประสงค์การโอนเงินซื้ออสังหาริมทรัพย์ และให้กู้เงินกิจการในเครือ จากเดิมจะมีการจำกัดวงเงิน ปัจจุบันยกเลิกการมีวงเงินโอน FX ออก โดยให้เหลือเฉพาะวงเงินของการส่งเงินให้เปล่าแก่บุคคลในต่างประเทศได้ไม่เกิน 5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อปี  

 

และ 1.3 นิติบุคคลสามารถซื้อ FX เพื่อชำระในประเทศได้ตามความจำเป็น โดยไม่ต้องขออนุญาต เช่น การชำระค่าสินค้าบริการในประเทศเป็น FX เพราะต้องอ้างอิงราคาตลาดโลก เช่น น้ำมัน

 

ปัจจุบันธปท.อนุญาตให้สามารถซื้อ FX และสามารถชำระเงินกันเองได้ โดยไม่ต้องเปิดบัญชี FCD เช่น ธุรกรรมที่มีการซื้อขายเป็นสกุลเงินดอลลาร์ เป็นต้น

 

2.ขยายขอบเขตการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน( Hedging) ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องมีความเสี่ยงจากการมีรายรับรายจ่ายสกุล FX กับต่างประเทศโดยตรงเท่านั้น แต่สามารถรวมความเสี่ยง FX อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ทางตรงได้ด้วย

 

เช่น ความเสี่ยงจากการชำระค่าสินค้าที่อ้างอิงราคาตลาดโลกกับคู่ค้า ในประเทศ   ความเสี่ยงจากการกู้ยืมเงินสกุลอื่นที่ไม่ตรงกับรายได้ของบริษัท (currency mismatch)

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการสามารถใช้ประมาณการรายรับรายจ่ายสกุล FX ในอนาคต และความเสี่ยง FX ของกิจการในเครือมาป้องกันความเสี่ยงได้ ซึ่งบางรายไม่มีคู่ค้าต่างประเทศแต่อยู่ในซัพพลายเชนในประเทศสามารถนำภาระในเครือหรือกลุ่มมาทำเฮดจ์จิ้งกับธนาคารได้

 

และ 3.ไม่ต้องแสดงเอกสารการทำธุรกรรมFXหากธนาคารเข้าใจลักษณะธุรกิจและความเสี่ยงFXของลูกค้าอยู่แล้ว เช่น กลุ่มที่มีวงเงินFXหรือมีธุรกรรมต่างๆกับธนาคารอยู่แล้ว ผ่านการทำกระบวนการ Know Your Business (KYB)

“การผ่อนคลายเกณฑ์การทำธุรกรรมFXจะมีผลในทางปฎิบัติ 13 พ.ค.2565 สิ่งที่ธปท.คาดหวังจากการผ่อนเกณฑ์ครั้งนี้เพื่อช่วยผู้ประกอบการมีภูมิคุ้มกันและรองรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยยอมรับว่าตลาดการเงินมีความผันผวนและไทยเลี่ยงความผันผวนไม่ได้ เพราะเงินบาทถูกขับเคลื่อนจากปัจจัยภายนอกซึ่งภายนอกยังมีความผันผวนมาก ซึ่งการเคลื่อนไหวของเงินบาทยังเคลื่อนไหวปกติเป็นไปตามกลไกตลาดกลไกตลาดยังทำงานได้ปกติ”

ธปท.ผ่อนเกณฑ์FXมีผล 13พ.ค.นี้-ยกเว้นธุรกรรมชำระค่าสินทรัพย์ดิจิทัล-THB Offshore

 นางสาวชนานันท์ สุภาดุล ผู้อำนวยการ สำนักนโยบายโครงสร้างตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ธปท.กล่าวว่า ระยะถัดไป ธปท.มีแผนที่จะปรับ FX service provider landscape ผ่านการปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการธุรกรรม FX ที่ไม่ใช่ธนาคาร (non-bank)

ธปท.ผ่อนเกณฑ์FXมีผล 13พ.ค.นี้-ยกเว้นธุรกรรมชำระค่าสินทรัพย์ดิจิทัล-THB Offshore เช่น money changer (MC) และ money transfer (MT) เพื่อให้ลูกค้ารายย่อยและ SMEs เข้าถึงบริการ FX ได้สะดวกขึ้น และช่วยลดต้นทุนการทำธุรกรรม โดยมีแนวทางเบื้องต้น ได้แก่

1.ขยายขอบเขตการให้บริการ FX ของ non-bank ในปัจจุบัน เช่น ให้ทำธุรกรรมได้หลากหลายวัตถุประสงค์ขึ้น

2.ขยายขอบเขตของใบอนุญาตให้รองรับบริการรูปแบบใหม่ เช่น ซื้อขาย FX ผ่าน platform และ 3.ปรับแนวทางการอนุญาต non-bank ในการให้บริการธุรกรรม FX ให้ยืดหยุ่นขึ้น ซึ่งจะเอื้อให้ non-bank สามารถให้บริการได้หลากหลายและปรับเปลี่ยนธุรกิจได้คล่องตัวยิ่งขึ้น

 

“ กลุ่มNon-Bank มี 3แนวทาง คือ ใบอนุญาตรองรับธุรกิจใหม่ 2.ขยายขอบเขตเพิ่มวัตถุประสงค์และเพิ่มวงเงิน 3.ปรับโครงสร้างใบอนุญาตNon-Bank ซึ่งอยู่ระหว่างหารือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคาดว่าจะบังคับใช้ปลายปี65และทะยอยเพิ่มเติมในปี2566-2567

สิ่งที่จะออกมาก่อนคือ ใบอนุญาต  คือ เดิมกำหนด 1 ต่อ 1 สาขา แม้จะมีสาขา ส่วนเรื่องขยายธุรกิจแบบใหม่บนแพลตฟอร์ม ยังไม่ใช้ระบบออนไลน์มาก และการขยายขอบเขตการทำธุรกรรมใหม่คงต้องรอดูรายละเอียดก่อนดำเนินการ ซึ่งผลต่อการลดต้นทุนนั้น อาจต้องใช้ระยะเวลาตามการปรับแก้กฎหมาย กฎกระทรวงการคลัง หรือกฎระเบียบของธปท.แต่บางเรื่องอาจจะใช้ได้เร็ว”

 

ส่วนความคืบหน้าแผน FX ecosystemจากที่มีการผ่อนคลายมาแล้ว  คือ  1.การผ่อนคลายเกณฑ์การลงทุนในต่างประเทศ  2.การติดตามข้อมูล 2 เรื่องคือ ให้นักลงทุนต่างประเทศลงทะเบียนแสดงตัวก่อนซื้อตราสาร  และนักลงทุนไทย และ 3.การให้บริษัทต่างชาติมาจดทะเบียนเพื่อให้สามารถทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินในไทยได้สะดวกขึ้น 

โดยพบว่า ผลการผ่อนคลายการลงทุนต่างประเทศนั้น   การใช้บัญชีFCDเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนบัญชี  มูลค่าและจำนวนธุรกรรม  2.62แสนราย มูลค่าธุรกรรมฝากถอนเฉลี่ย  FCD เพิ่ม 43%

 

และจำนวนธุรกรมเพิ่มทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา ,การออกไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่มสูงสุดในรอบ 10ปีในปี 2564 จำนวน 16.1 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากตลาดตลาดและการผ่อนคลายเกณฑ์    แต่ปีนี้มีการถอนเงินลงทุนกลับ  จากตลาดที่มีความผันผวน 

 

ส่วนนักลงทุนรายย่อยที่ออกไปลงทุนผ่านกองทุนรวม ไพรเวทฟันด์ หรือโบรกเกอร์ในประเทศ และต่างประเทศซึ่งพบว่าจำนวนรายเพิ่ม 3 เท่า  

 

ด้านการลงทะเบียนแสดงตัวตนเพื่อซื้อขายตราสารหนี้ไทยของนักลงทุนต่างชาตินั้น ช่วยให้ธปท.เห็นข้อมูลและติดตามข้อมูลได้ดีขึ้น ซึ่งพบว่ามีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทะเบียนแล้วจำนวน 8,002 บัญชี ณ วันที่  4 มี.ค.ปีนี้ โดยประมาณ 70-80% เป็นธุรกิจจัดการกองทุน

สำหรับนักลงทุนไทยกำลังดำเนินการโดยใช้วิธีประสานข้อมูลกับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (TSD)  และ 3.การให้บริษัทต่างชาติมาลงทะเบียนภายใต้โครงการ NRQC พบว่า  มีบริษัทเข้ามาลงทะเบียนทั้งสิ้น 47 ราย

 

และมีปริมาณธุรกรรมกับสถาบันการเงินไทยแล้วราว 10.9 พันล้านดอลลาร์  ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มประเทศอียูและเอเซีย รวมถึงการเปิดบัญชี FCD มีปริมาณเพิ่มขึ้นทั้งในแง่จำนวนผู้ใช้บริการ มูลค่า และปริมาณธุรกรรม อย่างไรก็ตาม ทั้ง 4โครงการที่ดำเนินการไปแล้วก่อนหน้าเป็นไปตามที่ธปท.อยากเห็น

ธปท.ผ่อนเกณฑ์FXมีผล 13พ.ค.นี้-ยกเว้นธุรกรรมชำระค่าสินทรัพย์ดิจิทัล-THB Offshore