ธปท.ย้ำการอ่อนค่าของเงินบาท ช่วยลดแรงกระแทกจากปัจจัยภายนอก

18 ต.ค. 2565 | 00:20 น.
อัปเดตล่าสุด :18 ต.ค. 2565 | 07:39 น.

ธปท.เผยทุนสำรองปรับลด เหตุจากการตีมูลค่าสินทรัพย์ลดลงตามการดอลลาร์แข็งค่าและการเข้าแซงแทรกในบางช่วงที่เงินบาทผันผวน ย้ำการอ่อนค่าของค่าเงินช่วยลดแรงกระแทกจากภายนอก

นายสุรัช แทนบุญ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวใน การประชุมนักวิเคราะห์ (Analyst Meeting) ครั้งที่ 3/2565 โดยระบุว่า  การดำเนินนโยบายการเงินให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับเหมาะสมขึ้นอยู่กับแรงกดดัน 2 ปัจจัย

ธปท.ย้ำการอ่อนค่าของเงินบาท ช่วยลดแรงกระแทกจากปัจจัยภายนอก

คือ 1.เงินเฟ้อ  2.อัตราแลกเปลี่ยน  สำหรับอัตราเงินเฟ้อนั้น  หากดูแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ยังมีจำกัดจากวัฏจักรเศรษฐกิจไทยอยู่ระหว่างเริ่มฟื้นตัว และความต้องการบริโภคสินค้าในไทยยังอยู่ในระดับต่ำ  โดยบริบทของเศรษฐกิจไทยแตกต่างจากบริบทของเศรษฐกิจหลายประเทศคู่ค้า

 

ขณะเดียวกัน  เงินเฟ้อคาดการณ์ระยะปานกลางยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบ 1-3% โดยเงินเฟ้อเฉลี่ย 10 ปีอยู่ที่ 2.3% และเงินเฟ้อ 5 ปีข้างหน้ายังอยู่ที่ 2.4% ยังอยู่ค่ากลางของกรอบเป้าหมาย และเงินเฟ้อระยะสั้นของภาคธุรกิจคาดการณ์ทรงตัวอยู่ที่ 4.5-4.7% และเงินเฟ้อระยะสั้นของครัวเรือนปรับลดลงเหลือ 2.6% จากเดิมอยู่ที่ 3% สะท้อนภาคธุรกิจและครัวเรือนมองเงินเฟ้อมีเสถียรภาพและจะกลับลงมาได้

ด้านอัตราแลกเปลี่ยนนั้น ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันเงินบาทอ่อนค่าประมาณ 12% ซึ่งการอ่อนค่าของเงินฝาก มาจากดอลลาร์แข็งค่าเป็นหลัก โดยดอลลาร์แข็งค่าประมาณ 18% ซึ่งเป็นการแข็งค่าในรอบ 20 ปี ขณะที่เงินบาทอ่อนค่าอยู่ในระดับกลางเมื่อเทียบกับสกุลเงินของประเทศภูมิภาค เห็นได้จากสกุลเงินที่อ่อนค่า วอน  ไต้หวันดอลลาร์  ส่วนริงกิต และรูเปียห์อ่อนค่าน้อย

 

อย่างไรก็ดี การอ่อนค่าของสกุลเงินได้เกิดขึ้นทั่วโลก ทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศเกิดใหม่   ส่วนการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่อ่อนค่าต่อเงินเฟ้อ  หากเงินบาทอ่อนค่า 1 บาทจะส่งผลต่อราคาสินค้านำเข้าสูงขึ้นประมาณ 0.6-0.7% และ

 

หากเงินบาทแข็งค่า 1บาทราคาสินค้านำเข้าจะปรับลงประมาณ 0.4-0.5% ดังนั้น หากดูการส่งผ่านไปยังผู้บริโภคและเงินเฟ้อเฉลี่ยเพียง 0.1%เมื่อเทียบกับต่างประเทศเฉลี่ยจะอยู่ที่ 0.3% จึงสะท้อนว่าการอ่อนค่าของเงินบาทไม่ได้สูงจนน่ากังวล 

 

อีกทั้งหากสะท้อนจากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยยังคงอยู่ในระดับสูงเป็นอันดับ 6ของโลก ซึ่งหากเงินบาทเคลื่อนไหวจนมีนัยต่อเศรษฐกิจ ธปท.มีศักยภาพเพียงพอที่จะดูแลได้

 

ธปท.ย้ำการอ่อนค่าของเงินบาท ช่วยลดแรงกระแทกจากปัจจัยภายนอก

ต่อข้อถามกรณีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยปรับลดหรือหายไป 20%นั้นนายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวว่า  เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยที่ปรับลดลงนั้น มาจาก 2ส่วนคือ  1. ส่วนใหญ่มาจากการตีราคามูลค่าสินทรัพย์ลดลงตามการเปลี่ยนแปลงของดอลลาร์  เช่น สกุลเงินยูโร เยน หากเทียบกับดอลลาร์ก็มีมูลค่าลดลง และ 2.จากการเข้าดูแลค่าเงินในบางช่วงที่มีความผันผวน 

ธปท.ย้ำการอ่อนค่าของเงินบาท ช่วยลดแรงกระแทกจากปัจจัยภายนอก

ทั้งนี้  อัตราแลกเปลี่ยนที่ปรับไปตามปัจจัยพื้นฐาน จะเป็นกลไกที่ดีในการรับแรงกระแทกจากปัจจัยทั้งภายใน และภายนอกประเทศ  ส่วนเครื่องมือในการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนธปท.ทั้งการแทรกแซงค่าเงิน และการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยยืนยันว่าสถานการณ์ของไทยแตกต่างกับญี่ปุ่น 

 

ขณะเดียวกันเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยอยู่ในระดับเพียงพอ ซึ่งไอเอ็มเอฟได้นำสัดส่วนทุนสำรองฯต่อหนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้นที่มีกว่า 3เท่ารวมอยู่ด้วย โดยพบว่าไทยมีความเพียงพอของเงินทุนสำรองฯกว่า 200%

 

นอกจากนี้ภายใต้สถานการณ์ตลาดเงินผันผวนผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย(ฟันด์โฟลว์) หรือหากเจ้าหนี้ต่างประเทศเรียกคืนเงินหนี้ระยะสั้นและหนี้ระยะยาวที่มีสัดส่วนกว่า 46% นั้น นายปิติ มองว่า  หากดูข้อมูลตั้งแต่ต้นถึงปัจจุบันเงินทุนยังไหลเข้าค่อนข้างเยอะ  โดยตลาดหุ้นไหลเข้าและมีความยืดหยุ่น และปรับลดลงน้อยเมื่อเทียบกับต่างประเทศที่ตลาดหุ้นปรับลดลง 20% แม้ว่าตลาดพันธบัตรจะมีเงินไหลออกบ้างเล็กน้อย โดยรวมการไหลออกยังจำกัด

 

“ นักลงทุนมอง วัฎจักรเศรษฐกิจที่ไทยอยู่ระหว่างขาขึ้น สวนทางกับเศรษฐกิจโลก และความน่าเชื่อถือของนักลงทุนต่อตลาดหุ้นไม่ได้ปรับลดลง และทุนสำรองที่มีค่อนข้างเยอะจึงไม่น่ามีผล ส่วนการอ่อนค่าของค่าเงินช่วยลดแรงกระแทกจากภายนอก เพราะแรงกระแทกสำคัญมาจากภายนอกคือ ราคานำเข้าน้ำมัน”

 

อย่างไรก็ตาม  การดำเนินนโยบายการเงินของเฟดเป็นประเด็นกดดันในที่ประชุมไอเอ็มเอฟ การเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟดโดยดำเนินนโยบายการเงินเร็ว  แต่การขึ้นดอกเบี้ยของเฟดประมาณกลางปี2566จะอยู่ที่ 4.5%นั้นตลาดได้รับรู้แล้ว  ส่วนแนวโน้มที่ดอลลาร์จะแข็งค่าเฟดจะจะต้องมี Surprise หากทำมากเกินไปจะส่งสัญญาณบางประเทศต้องเข้าโปรแกรมไอเอ็มเอฟ ฉะนั้น การขึ้นดอกเบี้ยของเฟอสร้างความท้าทายให้กับโลก แม้กระทั่งเฟดเอง

ธปท.ย้ำการอ่อนค่าของเงินบาท ช่วยลดแรงกระแทกจากปัจจัยภายนอก

นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท. กล่าวว่า  ปีนี้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยคาดว่าจะขยายตัวที่ระดับ 3.3% และปี 2566 ขยายตัวที่ 3.8%  ปัจจัยขับเคลื่อนหลักมาจากภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวชัดเจนตั้งแต่ไตรมาสที่ 3  โดยหลังจากมีการเปิดประเทศ ธปท.ได้ปรับประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็น 9.5 ล้านคนในสิ้นปีนี้ และจะเพิ่มเป็น 21ล้านคนในปี 2566  

 

อย่างไรก็ดี จากการฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวคาดว่าไทยจะขาดดุลน้อยลง แนวโน้มดุลบัญชีเดินสะพัดจะกลับมาเป็นบวกอ่อนๆ ในปี 2566 อยู่ที่ 3.8 พันล้านดอลลาร์ จากในปีนี้คาดว่าจะขาดดุลเพิ่มขึ้น 14.1 หมื่นล้านดอลลาร์ จากปัจจุบันขาดดุลฯ อยู่ที่ 8 พันล้านดอลลาร์แต่ยังต้องติดตามผลจากราคาน้ำมันและค่าระวางเรือ 

 

สำหรับตลาดแรงงาน พบว่า ผู้เสมือนว่างงานและว่างงานตัวเลขลดลงต่อเนื่องและกลับมาเทียบเท่าช่วงก่อนโควิด-19 ส่งผลต่อรายได้ฟื้นตัวและกระจายตัวมากขึ้น ซึ่งสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชนเติบโต 5.6%