แถลงการณ์ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เรื่อง การระบาดของโรคปะการังแถบสีเหลือง (Yellow Band Disease)

28 ต.ค. 2565 | 06:37 น.
อัปเดตล่าสุด :08 พ.ย. 2565 | 09:46 น.

แถลงการณ์ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เรื่อง การระบาดของโรคปะการังแถบสีเหลือง (Yellow Band Disease) บริเวณจังหวัดชลบุรี โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้สำรวจแนวปะการังและพบโรคปะการังแถบสีเหลือง ครั้งแรกในปี 2564 บริเวณหมู่ เกาะสัตหีบ เจ้าหน้าที่จึงทำการสำรวจการแพร่กระจายทั่วอ่าวไทย พร้อมได้ทำการศึกษาอัตราการลุกลามและผลกระทบต่อปะการังมาอย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจระบบนิเวศแนวปะการัง ในปี 2564 - 2565 จำนวนทั้งสิ้น 90 สถานี ครอบคลุม 5 จังหวัด ได้แก่ ตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ในบริเวณอ่าวไทยตอนบนและตอนกลาง พบว่าโรคแถบสีเหลืองนั้นกระจายตัวอยู่ เฉพาะบริเวณเกาะสัตหีบ - แสมสาร จังหวัดชลบุรี จำนวน 11 สถานี นับเป็นรายงานการพบโรคนี้ครั้งแรกในประเทศไทย ปะการังส่วนใหญ่ที่สำรวจพบว่าเป็นโรค ได้แก่ ปะการังโขด (Porites spp.) และปะการังเขากวาง (Acropora spp.) โดยปริมาณการพบคิดเป็นร้อยละ 1 - 10 ของปะการังทั้งสองชนิด ทั้งนี้ สามารถพบโรคได้ในปะการังชนิดอื่นๆ ด้วย แต่พบในปริมาณที่น้อย ได้แก่ ปะการังลายดอกไม้ (Pavona spp.) ปะการังดอกไม้ (Goniopora sp.) ปะการังดอกกะหล่ำ (Pocillopora sp) ปะการังวงแหวน (Favia spp.) ปะการังช่องเล็ก (Montipora spp.) และปะการังช่องเหลี่ยม (Favites sp.)

แถลงการณ์ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เรื่อง การระบาดของโรคปะการังแถบสีเหลือง (Yellow Band Disease)

แถลงการณ์ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เรื่อง การระบาดของโรคปะการังแถบสีเหลือง (Yellow Band Disease)

แถลงการณ์ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เรื่อง การระบาดของโรคปะการังแถบสีเหลือง (Yellow Band Disease)

แถลงการณ์ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เรื่อง การระบาดของโรคปะการังแถบสีเหลือง (Yellow Band Disease)

แถลงการณ์ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เรื่อง การระบาดของโรคปะการังแถบสีเหลือง (Yellow Band Disease)

ลักษณะอาการของโรคพบว่าเนื้อเยื่อของปะการังเปลี่ยนเป็นสีเหลืองชัดเจน หลังจากนั้นเนื้อเยื่อจะตาย และเริ่มมีสาหร่าย มาปกคลุมส่วนที่ตาย การลุกลามประมาณ 1 เซนติเมตร/เดือน ในปะการังโขด Porites และประมาณ 1 - 6 เซนติเมตร/สัปดาห์ ในปะการังเขากวาง Acropora และหากส่วนไหนของ ปะการังเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วนั้น ปะการังส่วนนั้นจะตาย ส่วนสาเหตุการเกิดโรค ณ ปัจจุบันยังไม่ สามารถระบุเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคดังกล่าวได้ แต่จากรายงานในต่างประเทศพบว่า เกิดจากแบคทีเรีย Vibrio alginolyticus

 

สถานการณ์ปัจจุบัน เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 65 เจ้าหน้าที่กรม ทช. ร่วมกับทัพเรือภาค 1 มูลนิธิกิจกรรม วิทยาศาสตร์ทางทะเลและการอนุรักษ์ บมจ. เอจีซี วีนิไทย คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี และอาสาสมัครนักดำน้ำ ร่วมปฏิบัติการแยกปะการัง ส่วนที่เป็นโรคแถบสีเหลือง ออกมาจากปะการังที่ไม่เป็นโรค เพื่อป้องกันการติดต่อลุกลามและหยุดยั้งการตายของปะการัง บริเวณเกาะขาม จังหวัดชลบุรี อย่างไรก็ตามจากการปฏิบัติการ ดังกล่าวสามารถนำปะการังที่เป็นโรคออกมาได้ แค่บางส่วน แต่ยังคงเหลืออีกจำนวนมากทั้งบริเวณเกาะขามและในหลายพื้นที่บริเวณสัตหีบ - แสมสาร สำหรับการดำเนินงานของกรม ทช. ได้ทำการประสานกับหลายภาคส่วน ได้แก่ คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อร่วมกันศึกษาระบาดวิทยา ของโรคที่พบในปะการัง ในขณะเดียวกัน ทช. กำลังเร่งดำเนินการแยก ปะการังที่เกิดโรคออกจากบริเวณดังกล่าว โดยอาศัยความร่วมมือจากนักดำน้ำอาสาสมัครและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

แถลงการณ์ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เรื่อง การระบาดของโรคปะการังแถบสีเหลือง (Yellow Band Disease)

แถลงการณ์ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เรื่อง การระบาดของโรคปะการังแถบสีเหลือง (Yellow Band Disease)

แถลงการณ์ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เรื่อง การระบาดของโรคปะการังแถบสีเหลือง (Yellow Band Disease)

แถลงการณ์ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เรื่อง การระบาดของโรคปะการังแถบสีเหลือง (Yellow Band Disease)