บอลโลกยุ่ง! โดนฟ้องศาล แล้วยังถูกร้อง ป.ป.ช. สอบ กกท. - กสทช.

30 พ.ย. 2565 | 06:08 น.
อัปเดตล่าสุด :30 พ.ย. 2565 | 13:19 น.

บอลโลกยุ่ง! โดนฟ้องศาล แล้วยังถูกร้อง ป.ป.ช. สอบ กกท. และ กสทช. เอาผิดฐาน เจ้าหน้าที่รัฐนำงบของรัฐเอื้อประโยชน์เอกชน

วันนี้ (29 ธ.ค.2565) ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช) นายธนน ศรีธนาโสฬส เข้ายื่นหนังสือร้องเรียน นายก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในประเด็นการใช้เงินของรัฐในการซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 (รอบสุดท้าย) แต่กลับมอบสิทธิ์ในการถ่ายทอดให้เอกชน ซึ่งขัดต่ออำนาจหน้าที่ และนายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ รักษาการฯเลขา กสทช. ในประเด็นที่มีส่วนสนับสนุนให้มีการกระทำความผิด จนก่อความเสียหายให้แก่รัฐและประชาชน
 

กกท.ผู้รับมอบฯ เอื้อเอกชน ไม่สน ละเมิดกฎเกณฑ์ กสทช. 

นายธนน ศรีธนาโสฬส กล่าวว่า เงินที่ กกท.นำมาซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 2022 ที่ได้รับจาก กสทช.นั้น “ส่วนหนึ่งเป็นเงินของรัฐ”ด้วย ซึ่งควรจะมีการจัดสรรอย่างเท่าเทียม เป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ ตามข้อตกลงที่มีกับ กสทช. แต่ กกท.กลับยกสิทธิ์ขาดทั้งหมดให้กับเอกชนเพียงรายเดียว (กลุ่มทรู) โดยทำให้ผู้รับใบอนุญาตใต้กำกับของ กสทช.รายอื่นไม่สามารถทำการแพร่ภาพการแข่งขันดังกล่าวได้ กระทบถึงประชาชนเป็นวงกว้าง ซึ่งขัดต่อกฎหมาย และแย้งกับเจตนารมณ์ของ กสทช.ที่สนับสนุนเงินงบประมาณไป 

 

กสทช.ปิดหู ปิดตา เมิน MOU ปล่อยเบลอ กกท.ฮั๊วเอกชน 


ส่วน กสทช.นั้นนายไตรรัตน์ ซึ่งเป็นผู้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เรื่องการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลกครั้งนี้ ซึ่งย่อมทราบถึงวัตุประสงค์และเงื่อนไข เป็นอย่างดี แต่ยินยอมให้เกิดข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรม และกลับเมินเฉย ไม่สนใจกับการกระทำของ กกท.ที่ “ขายสิทธิ์”เอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชนเพียงรายเดียว จนนำมาสู่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับประชาชนนับล้าน ที่ไม่สามารถรับชมฟุตบอลโลกครั้งนี้ได้ ตามเจตนารมณ์ของการให้งบประมาณสนับสนุน “คนไทยต้องได้ดูฟรี” ไม่เพียงเท่านั้น การกระทำของนายไตรรัตน์ คือการไม่รักษาผลประโยชน์ของประชาชน ซ้ำยังเป็นการหนุนให้มีการทำความผิดเอื้อประโยชน์เอกชนอีกด้วย


 

ทั้งนี้ จากการกระทำของผู้ถูกร้องเรียนทั้งสองตามที่ปรากฏข้างต้น ตนจึงขอให้ ป.ป.ช. ได้ โปรดไต่สวนข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ ว่าเป็นความผิดตามบทบัญญัติ กฎหมายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ 2502 หน้าที่ 6 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับเสนอราคาตอ่หน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 หรือประมวลฎหมายอาญา