ย้อนความสำเร็จ โครงการ กลุ่ม ปตท. 2565 “เคียงข้างสังคมไทย ด้วยลมหายใจเดียวกัน”

06 ก.พ. 2566 | 02:30 น.

ตลอดปี 2565 ที่ผ่านมา ทั้งสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 และ เด็กเยาวชนที่เสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษา บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัทในกลุ่ม จึงเล็งเห็นช่วงเวลาที่สำคัญ ในการร่วมช่วยเหลือสังคม ผ่านโครงการ “ลมหายใจเดียวกัน” และ “ลมหายใจเพื่อน้อง”

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัทในกลุ่ม ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคม เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ รายได้และเศรษฐกิจโดยรวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ภายใต้แนวคิดความเป็นอยู่อย่างพอเพียง (Self-sufficiency) และยั่งยืน (Self-sustainability) เพื่อมอบคุณค่าในระยะยาวให้กับสังคม

ตลอดปี 2565 ที่ผ่านมา ช่วงสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 โดยมีผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัทในกลุ่ม จึงเล็งเห็นช่วงเวลาที่สำคัญ ที่ต้องร่วมช่วยเพิ่มศักยภาพให้ระบบสาธารณสุข เพื่อให้มีขีดความสามารถในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างเพียงพอและทั่วถึงมากขึ้น และ ยังเล็งเห็นความสำคัญด้านการศึกษา ที่มีเด็กและเยาวชนเสี่ยงออกจากระบบการศึกษาในปีการศึกษา 2565 จากผลกระทบทางเศรษฐกิจในช่วงสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 จึงทำให้เกิดเป็นโครงการสำคัญ 2 โครงการหลักๆ ด้วยกัน นั่นก็คือ โครงการลมหายใจเดียวกัน และ โครงการลมหายใจเพื่อน้อง

ย้อนความสำเร็จ โครงการ กลุ่ม ปตท. 2565 “เคียงข้างสังคมไทย ด้วยลมหายใจเดียวกัน”

โครงการลมหายใจเดียวกัน

“หน่วยคัดกรอง รพ.สนามครบวงจร (End-to-End)” 

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัทในกลุ่ม มีเจตนารมณ์ในการช่วยเหลือประชาชน และพร้อมแบ่งเบาภาระของภาครัฐ  มีการดำเนินการที่มุ่งเน้น “ตรวจเร็ว แยกเร็ว รักษาเร็ว” สร้างความอุ่นใจให้แก่ประชาชน 

จึงได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และพันธมิตรทางการแพทย์ ได้แก่ มูลนิธิโรงพยาบาลในเครือบางปะกอกฯ และโรงพยาบาล ปิยะเวท จัดตั้ง “หน่วยคัดกรอง และโรงพยาบาลสนามครบวงจร (End-to-End)” ภายใต้ “โครงการลมหายใจเดียวกัน” ขึ้น ถือเป็นครั้งแรกที่ภาคเอกชนร่วมมือกับภาครัฐในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 แบบครบวงจร ช่วยลดการเสียชีวิต บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยเร็วที่สุด 

นอกจากนี้ บริษัทในกลุ่ม ปตท. ยังได้คิดค้นนวัตกรรม ผลิตอุปกรณ์ และครุภัณฑ์ทางการแพทย์ มาสนับสนุนอย่างเต็มกำลัง อาทิ 

  • บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) สนับสนุนหุ่นยนต์ “CARA” ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในการส่งอาหาร อุปกรณ์แก่ผู้ป่วย และ “Xterlizer UV Robot” หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโรคอัตโนมัติด้วยแสง UV 

 

  • บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) สนับสนุนผลิตภัณฑ์นวัตกรรม อาทิ หมวกอัดอากาศความดันบวก PAPR ชุดป้องกันการติดเชื้อ PE Gown ชุดตรวจคัดกรอง Rapid Test  

 

  • บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) คิดค้นนวัตกรรมช่วยเหลือผู้ป่วย อาทิ เตียงสนามพลาสติกที่สามารถรับน้ำหนักได้สูง ชุดป้องกันการติดเชื้อ อุปกรณ์พลาสติก อาทิ ช้อนส้อม ถังขยะอันตราย กล่องอเนกประสงค์  

 

  • บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) สนับสนุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับการขนส่งเดินทางดูแลผู้ป่วยและบุคลากร  

 

  • บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) สนับสนุนชุดตรวจ Antigen Rapid Test ซึ่งเป็นนวัตกรรมภายใต้ความร่วมมือของบริษัทกับ สวทช. 

 

  • บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) สนับสนุนการดูแลบุคลากรทางการแพทย์ ด้วยเครื่องดื่มจากร้านกาแฟคาเฟ่ อเมซอน  น้ำดื่มจิฟฟี่ และหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ 

 

  • บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด จัดพื้นที่อาคาร Enter เป็นจุดคัดกรองโควิด-19 

 

  • บริษัท พีทีที ดิจิตอล โซลูชั่น จำกัด จัดการระบบดิจิทัลสำหรับการลงทะเบียน 

 

  • บริษัท บิซิเนส เซอร์วิสเซส อัลไลแอนซ์ จำกัด บริหารระบบการตรวจคัดกรองโควิด-19 อีกด้วย

 

นอกจากนั้นยัง 

 

  • มอบเครื่องช่วยหายใจ เครื่องให้ออกซิเจนอัตราไหลสูง 

 

  • สนับสนุนออกซิเจนเหลว อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นแก่หน่วยงานรัฐ โรงพยาบาลในพื้นที่วิกฤตและมีความจำเป็นเร่งด่วน

 

  • สนับสนุนงบประมาณและอุปกรณ์ทางการแพทย์ในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม 7 แห่ง 

 

  • จัดหน่วยวัคซีนเคลื่อนที่เชิงรุกใน 4 พื้นที่เปราะบางและมีความเสี่ยงสูง ร่วมกับ กทม.

กลุ่ม ปตท. ได้สนับสนุนความช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ ร่วมบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน รวมเป็นงบประมาณกว่า 1,700 ล้านบาท

และได้ต่อยอดสู่โครงการ “ลมหายใจเพื่อน้อง”

PTT VIRTUAL RUN ภายใต้โครงการ “ลมหายใจเพื่อน้อง”

โครงการจากความตั้งใจของ ปตท. ที่ต้องการช่วยเหลือนักเรียนและเยาวชนจากครัวเรือนที่มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโควิด-19 ทำให้มีความเสี่ยงออกจากระบบการศึกษาในปีการศึกษา 2565

จากการเดิน-วิ่งสะสมระยะทาง เพื่อแปลงเป็นทุนการศึกษา

ด้วยระยะทาง 600,000 กิโลเมตร ในเวลาเพียง 6 วัน แปลงเป็นจำนวนเงิน 151 ล้านบาท

ซึ่งสามารถช่วยเด็กและเยาวชนให้มีโอกาสได้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาได้กว่า 60,000 คน

โดยโครงการ มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น รวม 93,061 คน เป็นระยะทางเดิน-วิ่งสะสม 7,425,061 กิโลเมตร

ตลอดระยะเวลา 45 วัน

ถือว่า ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง โดยได้รับความสนใจจากประชาชนทุกภาคส่วนทั่วประเทศ

นอกจากนี้ยังได้ร่วมกันจัดตั้ง “กองทุนแรกเริ่มช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในวิกฤตการศึกษา” ผ่านกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา อีก 20 ล้านบาทด้วย 

รวมงบประมาณสนับสนุนทั้งสิ้น 171 ล้านบาท 

ปตท. ได้ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนด้านการศึกษามาอย่างต่อเนื่องด้วยเชื่อว่า การศึกษาคือหนึ่งในรากฐานสำคัญที่จะนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงได้จัดตั้งสถาบันวิทยสิริเมธี และ โรงเรียนกำเนิดวิทย์ เพื่อส่งเสริมเยาวชนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงมีโรงเรียนภายใต้ PTT Group School Model ที่สนับสนุนโดยกลุ่ม ปตท. อีกกว่า 200 แห่ง