ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลกันอย่างกว้างขว้างในทุกพื้นที่ ทั้งในรูปแบบของโทรศัพท์เคลื่อนที่, คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาต่าง ๆ โดยผ่านเครือข่าย อินเตอร์เน็ต และมีแนวโน้มการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างมาก เป็นช่องโอกาสให้มีผู้คนใช้เทคโนโลยีดังกล่าวกระทำ ความผิดในลักษณะต่าง ๆ ทั้งการนำเข้าหรือเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดตามกฎหมาย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดข้อหาต่างๆ
โดยเฉพาะการ ลักลอบจำหน่ายสินค้าออนไลน์ที่ไม่ได้จดทะเบียนหรือสินค้าออนไลน์ที่ผลิตผิดมาตรฐานที่มีการลงทุนต่ำ แต่สามารถทำรายได้สูง ซึ่งการขายสินค้าประเภทนี้กำลังได้รับความนิยมในสังคมไทยเป็นอย่างมาก และมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทำให้มีหลายช่องทางหรือหลาย Platform ในการดำเนินกิจการดังกล่าว เช่น การค้าขายบน เว็บไซต์, อินสตราแกรม, เฟสบุ๊ค, รวมทั้งไลน์ หรือผ่านช่องทางอื่นๆ
ทั้งนี้ เนื่องจากโครงสร้างองค์กรภายในของ กรมปศุสัตว์ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถรองรับปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด อันเนื่องมาจาก มีคดีลักษณะนี้เพิ่มขึ้นจำนวนมากและกระจายอยู่ทุกพื้นที่ ดังนั้น เพื่อให้กรมปศุสัตว์มีหน่วยงานที่มีศักยภาพ และขีดความสามารถรองรับคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น แก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ของเกษตรกรและประชาชนให้ทันต่อสถานการณ์ และเกิดการประสานความร่วมมือกับภาคประชาชน องค์กรภาครัฐและเอกชน จึงจำเป็นต้องจัดตั้งหน่วยสารวัตรปศุสัตว์ไซเบอร์ (DLD Cyber Unit : DCU) เพื่อทำหน้าที่ปกป้องเกษตรกรและประชาชนให้ได้รับสินค้าและบริการทางปศุสัตว์ที่มีมาตรฐานและปราบปราม การจำหน่ายสินค้าที่ผิดกฎหมาย เช่น อาหารสัตว์ที่ไม่มีคุณภาพ โฆษณาเกินความเป็นจริง ผสมหรือปนเปื้อนสารต้องห้าม
เช่น สารเร่งเนื้อแดง สารพิษ โลหะหนัก, เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ไม่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ, น้ำเชื้อปลอมไม่ตรงสายพันธุ์หรือมีโรคแฝง รวมถึงการให้บริการรักษาสัตว์จากผู้ที่ไม่มีใบอนุญาต(หมอเถื่อน) หน่วยสารวัตรปศุสัตว์ไซเบอร์ (DLD Cyber Unit : DCU) เป็นหน่วยที่มาจากการบูรณการของหน่วยงาน ภายในกรมปศุสัตว์ที่มีอำนาจหน้าที่ในการป้องกัน ปราบปราม สืบสวนสอบสวน และบังคับใช้กฎหมายกับ ผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายของกรมปศุสัตว์บนสื่อออนไลน์ต่าง ๆ และปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย และยังเป็นหน่วยงานที่ติดตาม เฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหาของผู้การกระทำทางสื่อออนไลน์ เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที มิให้เกิดผลกระทบต่อกรมปศุสัตว์และความเดือดร้อนของเกษตรกรและประชาชนอย่างเป็นวงกว้าง
เปิดแนวทางการดำเนินงาน
1. หน่วยสารวัตรปศุสัตว์ไซเบอร์ ทั้งหน่วยสารวัตรปศุสัตว์ไซเบอร์ ฝ่ายสารวัตร กองสารวัตรและกักกัน และหน่วย สารวัตรปศุสัตว์ไซเบอร์ของชุดเฉพาะกิจกลุ่มด่าน จะคอยติดตาม เฝ้าระวัง จากการกระทำความผิดทางสื่อออนไลน์ Social Monitoring จาก ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือจากคณะทำงานสารวัตรปศุสัตว์ไซเบอร์จากหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องภายในกรมปศุสัตว์ (กองสวัสดิภาพสัตว์และสัตวแพทย์บริการ (กสบ.), สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัด โรคสัตว์ (สคบ.), กองควบคุมอาหารและยาสัตว์ (อยส.), สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ (สพส.), สำนักกฎหมาย (สกม.), สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ (สทป.), กองผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ (กผส.) )
2. เมื่อพบผู้การกระทำความผิดทางสื่อออนไลน์ ไม่ว่าจะได้รับข้อมูลมาจากช่องทางใดก็ตาม หน่วย สารวัตรปศุสัตว์ไซเบอร์จะสืบสวนสอบสวน ตรวจสอบ และวิเคราะห์การกระทำความผิดทางสื่อออนไลน์เพื่อเป็นการขยาย ผลไปสู่การดำเนินการบังคับใช้กฎหมาย จากนั้นจะนำข้อมูลการพบผู้กระทำความผิดแจ้งต่ออธิบดี/รองอธิบดี กรม ปศุสัตว์ เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
3. ภายหลังจากการวิเคราะห์การกระทำความผิดทางสื่อออนไลน์แล้ว ส่วนสืบสวน ตรวจสอบ และ วิเคราะห์การกระทำความผิดทางสื่อออนไลน์ ของหน่วยสารวัตรไซเบอร์ จะดำเนินการต่อไปนี้
4. เมื่อส่วนบังคับใช้กฎหมายได้รับข้อมูลจากส่วนสืบสวน ตรวจสอบ และวิเคราะห์การกระทำความผิด ทางสื่อออนไลน์ จะดำเนินการบังคับใช้กฎหมายหรือตรวจสอบข้อเท็จจริง และเมื่อดำเนินการเสร็จแล้วจะส่ง รายงานการบังคับใช้กฎหมาย หรือรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงชี้แจงกองสารวัตรและกักกัน และสำนักงาน ปศุสัตว์จังหวัดในท้องที่เกิดเหตุให้ทราบ ภายใน 24 ชั่วโมง
5. หลังสิ้นสุดการดำเนินการ หน่วยสารวัตรไซเบอร์ กองสารวัตรและกักกันจะส่งสรุปผลการดำเนินการ ต่ออธิบดี/รองอธิบดี กรมปศุสัตว์ และหน่วยงานต้นเรื่องให้ทราบในรูปแบบ Online ภายใน 24 ชั่วโมง จากนั้นจะ ส่งหนังสือสรุปผลการดำเนินการฉบับเต็มรายงานต่อไป
ผลงานเด่น “สารวัตรปศุสัตว์ไซเบอร์” ที่เปิดตัวหน่วยพิเศษของกรมปศุสัตว์ เมื่อ วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2566 จากนั้นอีก 3 วันถัดมาโชว์ผลงานสืบพบโรงงานผลิตอาหารวัวขุนที่ โฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ ต้องสงสัยผสมสารเร่งเนื้อแดง จึงส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบโรงงานในจังหวัดสุโขทัย พบผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์โดยไม่มีใบอนุญาต พร้อมยึดอาหารวัวทั้งหมดไว้ตรวจสอบสารเร่งเนื้อแดง หากตรวจสอบจริง จะมีความผิดเพิ่มเติมตามมาตรา 6(4) ใช้วัตถุที่ห้ามใช้ผสมในอาหารสัตว์ มีโทษตามมาตรา 71 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และจากนั้นก็วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ใช้วิธีสืบจากโพสต์ขาย และก็มีการล่อซื้อสู่การขยายผล และจับกุม
ทั้งนี้สารวัตรปศุสัตว์ไซเบอร์จะมีทีมงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบกฎหมายต่าง ๆ คอยมอนิเตอร์หาข่าว ควบคู่กับ การใช้ Social Media Monitoring Tool ช่วยมอนิเตอร์ Social Network หลายๆ ช่องทาง และ เชื่อมโยงข้อมูลกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) และ กระทรวง DES
กฎหมายเกี่ยวข้องกับการดำเนินการกับผู้กระทำความทางสื่อออนไลน์
ก้าวใหม่ “กรมปศุสัตว์” ตอบโจทย์ก้าวทันโลก โดดเด่น รวดเร็ว ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้มข้น ตอบโจทย์เพื่อรักษาสินค้าปศุสัตว์ตามมาตรฐานการห้ามใช้สารตกค้างของประเทศไทยและนานาชาติ เพื่อให้ผู้บริโภคได้บริโภค สินค้าปศุสัตว์ปลอดภัย